ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

       วิตามินอี หรือ โทโรพีรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน จัดเป็นแอลกอฮอล์ชนิดไม่อิ่มตัว มีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน ทนต่อความร้อนและกรด แต่ไม่ทนต่อด่าง รังสีอัลตราไวโอเลต และออกซิเจน จะถูกทำลายเมื่อสัมผัสกับน้ำมันที่เหม็นหืน ตะกั่ว และเหล็ก วิตามินอีมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดออกซิเดชัน (oxidation) ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีการดูดซึมโดยอาศัยเกลือน้ำดีและไขมัน ถูกเก็บสะสมในร่างกายบริเวณตับ หัวใจ อัณฑะ มดลูก กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อไขมัน ต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง 

ที่มา : https://biopharm.co.th/วิตามิน-อี-vitamin-e/

       วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยป้องกันเซลล์และเนื้อเยื่อร่างกายจากอนุมูลอิสระ จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายให้นานขึ้น ช่วยผลิตฮอร์โมนต่างๆ ทำให้เกิดความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ป้องกันเซลล์สมอง และป้องกันเซลล์ปอด ทำให้ระบบการหายใจและระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ป้องกัน LDL ของคอเลสเตอรอลไม่ให้เกาะและพอกผนังหลอดเลือด (ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ) ช่วยให้เลือดไม่เกาะเหนียวเป็นเกล็ดเม็ดเลือด นอกจากนี้ยังทำให้ระบบประสาทกล้ามเนื้อรวมถึงสายตาดีขึ้น และช่วยขจัดสาร Prostaglandin E2 ไม่ให้เป็นอันตรายต่อระบบคุ้มกัน 
 
       วิตามินอีพบมากในพืชประเภทที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วลิสง เมล็ดพืช น้ำมันพืช  น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี (wheat germ) น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดฝ้าย อัลมอนด์ และผักใบเขียว นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ ได้แก่ ปลาแซวมอน เนย นม และไข่
 
   
        ที่มา : https://bit.ly/34UBwyv                 ที่มา : https://bit.ly/2s3JZ3C         ที่มา : https://medthai.com/อัลมอนด์/
 
       ร่างกายมนุษย์ควรได้รับวิตามินอีในปริมาณที่เพียงพอ โดยปริมาณวิตามินอีที่ควรได้รับในเด็กคือ 6-7 มิลลิกรัม วัยรุ่นและผู้ใหญ่คือ 11-15 มิลลิกรัม สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรเพิ่มปริมาณจากเดิมขึ้นอีก 2-4 มิลลิกรัม เพราะหากร่างกายขาดวิตามินอีจะทำให้เม็ดเลือดเปราะ เกิดภาวะโลหิตจาง เนื้อเยื่อเสื่อมสภาพเร็ว นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ระบบประสาททำงานผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สำหรับหญิงมีครรภ์อาจแท้งบุตรได้ง่าย แต่หากร่างกายได้รับวิตามินอีมากเกินไปจะมีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามั่ว อ่อนเพลีย อึดอัดในช่องท้อง และท้องเสีย ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง วิตามินอี โดยเอกสารอ้างอิงทั้งหมด สามารถขอรับบริการได้ที่สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ หรือสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติในเว็บไซต์ http://siweb.dss.go.th/ จากคำสืบค้น วิตามินอี (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=วิตามินอี)
 
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
พวงผกา แก้วมณี. มหัศจรรย์วิตามินยอดนิยม A-Z. วิตามินอี ผู้สร้างคุณค่าแห่งความงามและอายุวัฒนะ.  
       กรุงเทพฯ : เบสบุ๊ค, 2554, หน้า 203-205.
ลักษณา อินทร์กลับ. โภชนาศาสตร์เชิงชีวเคมี วิตามิน เกลือแร่ น้ำ และใยอาหาร. วิตามินอี.
       กรุงเทพฯ : มีเดียการพิมพ์, 2543, หน้า 48-51.
วิชัย คงสุวรรณ. แร่ธาตุจำเป็นต่อสุขภาพ เล่ม2. วิตามินอี. กรุงเทพฯ : เอ็ม.ที.พริ้นท์, 2547, หน้า 94-99.
สุพัตรา แซ่ลิ่ม. วิตามินกินถูกสุขภาพดี. วิตามินอี. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553, หน้า 152-153.