ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       กล้วย (Banana) เป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดอยู่  ในวงศ์ Musaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa sapientum L. สำหรับประเทศไทยพบว่ามีการปลูกกล้วยกันมาช้านาน สันนิษฐานว่ามีคนไทยปลูกกล้วยมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย หรือประมาณ 1,300 ปี มาแล้ว และในปัจจุบันกล้วยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศ มีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งกล้วยป่า กล้วยท้องถิ่น และกล้วยที่นำมาจากต่างประเทศ โดยนิยมปลูกกันแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาค เนื่องจากปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว และสามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ได้

              

                                            (ที่มา : https://www.krungthai-axa.co.th/en/banana)                 (ที่มา : https://sukkaphap-d.com/15-สรรพคุณประโยชน์ของกล/)

 

       จากรายงานพบว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม แมกนีเซียม ไอโอดีน วิตามินซี บี อี และแคโรทีน ที่มีสรรพคุณในการช่วยป้องกัน และรักษาโรคได้หลายชนิด ซึ่งผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานแล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอาหารคาวหวานและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีการแปรรูปทั้งด้านอาหาร และไม่ใช่อาหาร เช่น การอบ/ตาก การทอด การปิ้ง การต้ม/นึ่ง การแปรรูปเชือกกล้วย ทั้งนี้ การแปรรูปกล้วยต้องคำนึงถึงคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ได้แก่

       1. น้ำกล้วย (Banana drink) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำกล้วย (มผช.1483/2558) เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการนำกล้วยสด หรืออาจนำไปนึ่งก่อนปอกเปลือก แล้วนำเนื้อกล้วยมาตีป่นกับน้ำ กรอง อาจมีการปรุงแต่งกลิ่นรสและเติมส่วนผสมอื่น เช่น น้ำตาล กรดซิทริก น้ำนมถั่วเหลือง ชาเขียว อาจเติมสเตบิไลเซอร์ นำไปฆ่าเชื้อโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์ก่อนหรือหลังบรรจุ และเก็บรักษาโดยการแช่เย็น 
       2. กล้วยอบ (Dried banana) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กล้วยอบ (มผช.112/2558) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกล้วยมาทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานอื่น อาจปรุงแต่งรสก่อนหรือหลัง การทำให้แห้งด้วยส่วนประกอบอื่น เช่น น้ำผึ้ง หรือวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสอื่นก็ได้ อาจตกแต่ง เคลือบ หรือสอดไส้ด้วยส่วนประกอบอื่น เช่น ช็อกโกแลต งา ผลไม้กวน 
       3. แป้งกล้วย (Banana flour) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แป้งกล้วย (มผช.1375/2550) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกล้วยดิบมาแปรรูปเป็นแป้งก่อนนำไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนำผลกล้วยมาปอกเปลือก อาจนึ่งหรือลวกก่อนปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบาง ทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานอื่น บดให้ละเอียด ร่อนผ่านตะแกรง ซึ่งแป้งกล้วยมักนิยมนำมาใช้ทำอาหารประเภทขนมอบ ขนมไทย และเครื่องดื่ม
       4. กล้วยผงชงดื่ม (Instant banana) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กล้วยผงชงดื่ม (มผช.1525/2562) เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการนำกล้วย อาจนำไปนึ่งหรือลวกก่อนปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้น ทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานอื่น บดให้ละเอียด อาจเติมส่วนประกอบอื่น เช่น น้ำตาล เกลือ นมผง ผงโกโก้ หรือได้จากการนำน้ำกล้วยมาทำให้แห้งด้วยวิธีที่เหมาะสม
       5. ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย (Banana rope products) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย (มผช.56/2560) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกาบและก้านของต้นกล้วยที่กรีดเป็นเส้น ทำให้แห้ง อาจถักเปียหรือฟั่นเป็นเกลียวตามขนาดที่ต้องการ มาออกแบบหรือประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ อาจแต่งสีหรือย้อมสี เคลือบด้วยสารเคลือบผิว ประกอบหรือตกแต่งด้วยวัสดุอื่นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงหรือความสวยงาม เช่น โลหะ ไม้ พลาสติก กระดาษแข็ง ผ้า ลูกปัด ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ กระเป๋า ตะกร้า ถาดผลไม้
 

                                           กล้วยอบ                                                              แป้งกล้วย                                                     ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย

                              

                      (ที่มา : https://cooking.kapook.com/                  (ที่มา : http://www.chutamas.info/?p=1212)      (ที่มา : https://www.77kaoded.com/content/186938)

                                  view197053.html)
 

       นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปกล้วย ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กล้วยในน้ำผึ้ง (มผช.757/2548) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กล้วยหมี่ (มผช.1242/2559) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ปลีกล้วยแห้งชงดื่ม (มผช.1524/2562) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ้าใยกล้วย (มผช.925/2548) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ใยกล้วย (มผช.928/2548) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์กาบกล้วย (มผช.943/2548) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เครื่องเรือนเชือกกล้วย (มผช.1248/2558) ผู้สนใจสามารถเข้าดูเอกสาร มผช. แบบออนไลน์ได้ที่ http://otop.dss.go.th/index.php/en/2014-09-18-13-01-47/standard   

                                                            ผ้าใยกล้วย                                                                                      ผลิตภัณฑ์กาบกล้วย

                                                                             

                                  (ที่มา : http://www.thinsiam.com/archives/80446)                              (ที่มา : https://mgronline.com/smes/detail/9520000049847)
 
       อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยในเชิงการค้ามากขึ้น เนื่องจากการแปรรูปกล้วยเป็นกรรมวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเกษตรกรป้องกันกล้วยสดล้นตลาด ยกระดับราคาผลผลิตไม่ให้ตกต่ำ ยืดอายุการเก็บรักษา และส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง การแปรรูปกล้วย ได้จากเอกสารภายในสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติในเว็บไซต์ http://library.dss.go.th/ จากคำสืบค้น คือ
                                   -  กล้วย (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=กล้วย) 
                                   -  กล้วยหอม (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=กล้วยหอม)
                                   -  แป้งกล้วย (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=แป้งกล้วย)
 
เอกสารอ้างอิง
กองบรรณาธิการขุมทรัพย์เทวดา. กล้วย พืชปลูกง่ายได้เงินล้าน. เคล็ดลับวิธีปลูกและผลิตกล้วยหอม และสารพัดกล้วย พืชปลูกง่ายได้เงินล้าน.
       กรุงเทพฯ : ขุมทรัพย์เทวดา, 2560, หน้า 23-24.
จุฑา  พีรพัชระ. บทที่ 3 แป้งกล้วย. ผลิตภัณฑ์ขนมอบจากแป้งกล้วย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2547, หน้า 8-17.
ปัญญา  ไพศาลอนันต์. คุณค่าทางโภชนาการ. กินกล้วยช่วยชีวิต. กรุงเทพฯ : แบงค์คอกบุ๊คส์, 2553, หน้า 29-32.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กล้วยผงชงดื่ม มผช.1525/2562. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps1525_62(กล้วยผงชงดื่ม).pdf 
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กล้วยอบ มผช.112/2558. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0112_58(กล้วยอบ).pdf 
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำกล้วย มผช.1483/2558. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps1483_58(น้ำกล้วย).pdf 
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แป้งกล้วย มผช.1375/2550. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps1375_50.pdf 
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย มผช.56/2560. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0056_60(ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย).pdf 
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ. กรรมวิธีการแปรรูปกล้วย. ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้ เรื่อง การแปรรูปกล้วย (IR 42).
       กรุงเทพฯ : สำนัก, 2560, หน้า 31.
สุทธิชัย  ปทุมล่องทอง. กล้วยชนิดต่างๆ ที่เรารู้จัก. สุขภาพดีไม่มีป่วย มหัศจรรย์กล้วยช่วยคุณได้. กรุงเทพฯ : อีเทอร์นิตี้ไอเดีย 168, [ม.ป.ป.], หน้า 32-36.