ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

เลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการ

 

คุณประโยชน์ของชาใบหม่อนมีดังนี้

  1. ลดระดับคอเลสเตอรอล เนื่องจากมีสารฟายเตอสโตโรล (PhytoSterol) ซึ่งเป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการลดคอเลสเตอรอลในเลือด โดยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้
  2. ลดน้ำตาลในเลือด มีสารที่เรียกว่า ดีอ๊อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) อยู่ 0.1% ซึ่งสารนี้จนกระทั่งปัจจุบันจะพบในใบหม่อนเท่านั้น ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำตาลและชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ ซึ่งมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
  3. ลดความดันโลหิต มีสารกาบา (Gamma-amino butyric acid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต
  4. บำรุงร่างกาย นอกจากมีสารที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์แล้ว ยังพบว่าในการวิเคราะห์ชาเขียวจากใบหม่อน พบแร่ธาตุต่างๆ และโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ใบหม่อนที่ดีจะต้องไม่อ่อนเกินไปและไม่แก่เกินไป หรือประมาณห่างจากยอดใบที่ 4-5 เท่านั้น จึงจะได้ใบชาที่มีคุณภาพและกลิ่นหอม

วิธีชงชามีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ใช้น้ำร้อนลวกภาชนะชงชา เพื่อให้กาน้ำชาและถ้วยน้ำชาชุ่มชื้น ช่วยฆ่าเชื้อโรคและดับกลิ่นต่างๆ
  2. ใส่ใบชาในปริมาณที่พอเหมาะ ถ้าเป็นใบชาม้วนประมาณ 1 ใน 3 ของกาน้ำชา ถ้าใบชาไม่ม้วนประมาณ 1 ใน 2 ของกา
  3. เทน้ำร้อนลงในกาให้เต็ม เพื่อกระตุ้นใบชาให้คลี่ออก และช่วยล้างใบชาให้สะอาด และรีบเทน้ำทิ้ง อย่าแช่ทิ้งไว้นาน (ชาน้ำแรกเททิ้ง)
  4. เทน้ำร้อนลงในกาน้ำชาอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที
  5. รินน้ำชาในถ้วยแต่ละถ้วยให้หมดกา แล้วยกเสิร์ฟ เมื่อต้องการดื่มชาเพิ่ม ให้เติมน้ำร้อนลงในกาอีกครั้งทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วยกเสิร์ฟใหม่

ใบหม่อนมีปริมาณกาเฟอีนน้อยกว่าใบชาทั่วไปถึง 200 เท่า คือพบเพียง 0.01% หรืออาจจะไม่พบเลยเหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

       มอดยาสูบ เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็ง ปรับตัวอยู่ได้ทุกสภาพแวดล้อม กินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยมากมักแพร่กระจายโดยการส่งสินค้า เป็นศัตรูสำคัญหมายเลข 1 ของชาใบหม่อนและของสินค้าที่ผลิตจากพืชและสัตว์ รวมทั้งเครื่องเทศและสมุนไพรอบแห้งด้วย จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มอดผลิตภัณฑ์อบแห้ง (Herbarium beetle) โดยตัวเต็มวัยเข้าทำลายโดยการกัดเจาะเข้าไปหรือมุดเข้าไปกัดกินอาหารที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ ทำให้อาหารที่บรรจุอยู่ภายในถูกกัดกินเป็นรูพรุนไปทั่ว โดยเราจะพบซากของปลอกดักแด้และซากของตัวเต็มวัยที่ตายแล้วอยู่ภายในถุงหรือบรรจุภัณฑ์ ถ้าเราเผลอกินมอดยาสูบเข้าไป อาจไม่ถึงตายแต่อาจเกิดอาการแพ้ได้
       เมื่อประเทศคู่ค้าตรวจพบมอดยาสูบปนเปื้อนอยู่ในสินค้าจะทำลายทันที โดยการเผาทำลาย ทำให้ผู้ส่งต้องสูญเสียสินค้าและค่าใช้จ่ายในการทำลายอีกด้วย ส่งผลให้ประเทศสูญเสียรายได้ทางเศรษฐกิจและความน่าเชื่อถือของประเทศ

ให้เพิ่มปริมาณเกลือให้ได้ตามสัดส่วนของมาตรฐาน มผช. หรือเพิ่มระยะเวลาตากจะช่วยได้ทั้งค่าปริมาณโซเดียมคลอไรด์ และค่าวอเตอร์แอคติวิตี้

เพอร์ออกไซด์เกิดจากใช้น้ำมันสำหรับทอด ทอดผลิตภัณฑ์ซ้ำมากครั้งควรใช้น้ำมันทอดไม่เกิน 2 ครั้ง และเมื่อทิ้งให้เย็นแล้วควรบรรจุถุงทันที

แนะนำผู้ประกอบการเกี่ยวกับการเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสม‎ และจะสุ่มตัวอย่างมาทดสอบใหม่เมื่อผู้ประกอบการได้ปรับปรุงตามคำแนะนำแล้ว เพื่อให้ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

ให้ปรับปรุงขั้นตอนการผลิต โดยล้างวัตถุดิบและผึ่งแห้งก่อนเข้าตู้รมควัน ควรเพิ่มเวลาการผึ่งตัวอย่าง เพิ่มระยะเวลาการรมควันในตัวอย่างปลาที่มีขนาดใหญ่ การบรรจุต้องทิ้งให้ผลิตภัณฑ์เย็นตัวลงก่อนบรรจุ ‎ภาชนะบรรจุควรปิดสนิทไม่มีอากาศหรือความชื้นเข้าไปได้ 

  1. รักษาความสะอาดสถานที่ ภาชนะเก็บวัตถุดิบต้องปิดสนิท สุขลักษณะของผู้ผลิต และขั้นตอนการผลิตต้องสะอาดถูกสุขอนามัย ควรใส่ถุงมือขณะบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้วเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากการสัมผัสของผู้บรรจุ
  2. บรรจุผลิตภัณฑ์ในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์จากอากาศและสภาวะแวดล้อม
  3. วัตถุเจือปนอาหารในขนมข้าวตูที่มาจากน้ำตาลมะพร้าว แนะนำให้เปลี่ยนแหล่ง  ซื้อน้ำตาลมะพร้าวที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย

ให้เพิ่มปริมาณน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ และชั่งแป้งด้วยเครื่องชั่งเพื่อให้มีปริมาณน้ำหนักเท่ากันทุกลูก

1. แก้ไขโดยตากวัตถุดิบ เช่น หอม กระเทียม พริก ภายหลังจากการล้างทำความสะอาดให้แห้งสนิท

2. ควรปล่อยน้ำพริกให้เย็นก่อนบรรจุถุง เพื่อป้องกันการเกิดไอน้ำในถุงซึ่งทำให้ค่าวอเตอร์แอคติวิตี้‎สูงขึ้น

1. ควรปรับปรุงการใช้ภาชนะบรรจุ และการใช้วัตถุกันเสียในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

2. ให้เพิ่มปริมาณน้ำตาลตามเกณฑ์มาตรฐานเพราะถ้าปริมาณน้ำตาลน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

ควรบรรจุผลิตภัณฑ์ให้มีน้ำหนักสุทธิมากกว่าที่จดแจ้ง และใช้เครื่องชั่งน้ำหนักในกระบวนการบรรจุเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำหนักที่แน่นอนและเท่ากันทุกถุง

ปรับปรุงขั้นตอนการผลิต โดยล้างวัตถุดิบและผึ่งแห้งก่อนเข้าตู้รมควัน ควรเพิ่มเวลาการผึ่งตัวอย่าง เพิ่มระยะเวลาการรมควันในตัวอย่างปลาที่มีขนาดใหญ่ การบรรจุต้องทิ้งให้ผลิตภัณฑ์เย็นตัวลงก่อนบรรจุ ภาชนะบรรจุควรปิดสนิทไม่มีอากาศหรือความชื้นเข้าไปได้ 

การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อให้อาหารยังคงความกรอบและไม่เหม็นหืน

โดยทั่วไปอายุการเก็บรักษาของอาหารประเภทนี้ขึ้นกับ 2 ปัจจัยหลัก คือ ความชื้นและปริมาณน้ำมันในผลิตภัณฑ์อาหารนั้นซึ่งทำให้ความกรอบลดลงและเกิดการเหม็นหืนได้  บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารประเภททอดหรืออบกรอบต้องมีสมบัติป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดีเพื่อป้องกันความชื้นซึ่งทำให้สินค้าไม่กรอบ และเลือกใช้ฟิล์มที่มีสมบัติป้องกันการซึมผ่านของแก๊สออกซิเจนได้ดีเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันระหว่างแก๊สออกซิเจนกับน้ำมันในอาหารซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน นอกจากนี้ วิธีบรรจุอาหารก็มีความสำคัญต่ออายุการเก็บของสินค้า  โดยการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ด้วยการพ่นแก๊สไนโตรเจนเข้าไปแทนที่อากาศเพื่อกำจัดหรือลดปริมาณแก๊สออกซิเจน หรือการใส่วัสดุดูดซับแก๊สออกซิเจนเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันเพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นหืน

ทำการศึกษา วิจัย เพื่อแก้ปัญหาอายุการเก็บสินค้าอาหาร OTOPของผลิตภัณฑ์หมูแผ่นสาหร่ายอบกรอบ

บรรจุในถุงพลาสติกลามิเนตด้วยอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์บริษัท ซี แอนด์ ที ฟู้ดส์ จำกัด และหาแนวทางยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าให้คงคุณภาพตามที่ผู้บริโภคต้องการ

  - เก็บตัวอย่างทดสอบอัตราการซึมผ่านแก๊ส

    ออกซิเจนของฟิล์มพลาสติก7 ตัวอย่าง

  - เก็บตัวอย่างทดสอบอัตราการซึมผ่านไอน้ำของฟิล์มพลาสติก 7 ตัวอย่าง

  - เก็บตัวอย่างหาปริมาณแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องว่างเหนืออาหารของผลิตภัณฑ์ หมูแท่ง น้ำพริก ข้าวเกรียบ ข้าวตัง กุ้งเสียบ ปลาข้าวสารกรอบ เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบกรอบ ปลาหมึกอบกรอบ 26 ตัวอย่าง

ดำเนินโครงการศึกษาอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปโดยวิธีปรับแต่งบรรยากาศ

-  จำลองสภาวะการเก็บที่อุณหภูมิสูงเพื่อประเมินอายุการเก็บเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่เก็บในสภาวะอุณหภูมิปกติ  เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปประเมินอายุการเก็บจริงของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปในผลิตภัณฑ์นั้นๆ 

-  ได้แนวทางในการประเมินอายุการเก็บของสินค้าประเภทอบกรอบโดยไม่ต้องทดสอบสินค้าตามอายุการเก็บจริงเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ OTOP ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้นทำให้สามารถส่งไปจำหน่ายในที่ห่างไกล หรือวางขายในตลาดได้นานขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนด ค่า pH อยู่ระหว่าง 5 – 7.5

สาเหตุเกิดจาก 
1. ในกระบวนการย้อมผ้า มีการใส่น้ำปูนขาว น้ำสกัดจากขี้เถ้า ซึ่งสารเหล่านี้มีค่าความเป็นด่างสูงมาก
2. ในกระบวนการล้างผ้า โดยการใช้น้ำสบู่ หรือผงซักฟอก  เนื่องจากโดยทั่วไป สบู่ผงซักฟอก จะมีค่าความเป็นด่างอย่างอ่อน หากการล้างผ้าด้วยน้ำสะอาดหลังจากล้างด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผ้ามีค่าความเป็นด่าง
3. เกิดจากน้ำที่นำมาใช้ล้างผ้า มีค่าความเป็นด่างอยู่ก่อนแล้ว

การแก้ไข
แนะนำการแก้ไข/ปรับปรุงคุณภาพ โดยผ้าทอที่ไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่ เนื่องมาจากค่าความเป็นด่างสูง (pH มากกว่า 7.5) ได้แนะนำให้ล้างผ้าหรือเส้นด้ายที่ย้อมแล้วด้วยน้ำที่มีความเป็นกรดอ่อนๆ เช่น น้ำที่ผสมด้วยกรดน้ำส้มสายชู  หรือ น้ำที่ละลายด้วยสารส้ม  โดยการแช่ผ้าลงในน้ำที่มีความเป็นกรดอ่อนๆ ทิ้งไว้ 10 นาที  ตากผ้าให้แห้ง

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนดผ้าทอที่ย้อมด้วยสีสังเคราะห์เมื่อทดสอบสีเอโซที่ให้อะโรมาติกเอมีน 24 ตัว ต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)สาเหตุเกิดจาก ใช้สีย้อมสังเคราะห์ที่ไม่ได้ มาตรฐานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 

วิธีการแก้ไข
1. ทำฐานข้อมูลสีย้อมสังเคราะห์ที่ผ่านมาตรฐาน มอก. เพื่อใช้แนะนำให้ผู้ประกอบการเลือกใช้สีย้อมสังเคราะห์ ที่ปลอดภัยได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
2. จัดทำหลักสูตร “การย้อมผ้าทอโดยการใช้สีธรรมชาติ” ทดแทนการใช้สีสังเคราะห์  เพื่อเป็นทางเลือกในการพัฒนาสินค้าของชุมชนที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นการใช้วัตถุดิบที่มีในพื้นที

ข้อดีของการใช้สีย้อมที่ได้มาตรฐาน หรือสีย้อมธรรมชาติ คือ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภค และ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 

  1. เลือกใช้แชมพูให้ถูกต้องกับสภาพเส้นผม โดยดูจากฉลาก ที่ฉลากจะเขียนบอกไว้ว่าเหมาะสมกับเส้นผมชนิดใด
  2. อ่านวิธีใช้ให้ละเอียดว่าจะต้องทำอย่างไร และใช้ให้ถูกต้อง
  3. ถ้าไม่แน่ใจว่าตนแพ้แชมพูชนิดนี้หรือไม่ ให้ทดสอบโดยการใช้แชมพูเพียงเล็กน้อยที่ท้องแขน ทิ้งไว้สักครู่ถ้าแพ้จะเกิดอาการผื่นแดงและคัน
  4. ควรสังเกตดูว่าภายหลังจากการใช้แชมพูแล้วเกิดอาการอะไรบ้าง เช่น ผมร่วง มีรังแคมากขึ้น ผมมันง่าย คันศีรษะ ฯลฯ  ถ้าเกิดอาการที่ไม่ดี ควนเลิกใช้แชมพูนั้น การสังเกตจะช่วยให้ผู้บริโภคทราบว่าแชมพูชนิดใดตรายี่ห้อใดเหมาะสมกับเส้นผมของตน
  5. ควรเลือกใช้แชมพูชนิดอ่อนๆ สำหรับเด็ก
  6. สระผมแต่ละครั้งควรล้างแชมพูออกให้หมด
  7. อย่าให้แชมพูเข้าตา โดยเฉพาะแชมพูชนิดขจัดรังแค แต่ถ้าแชมพูเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที (อ้างอิง A12)
  1. ซิลิเนียม ซัลไฟล์ เช่น ในแชมพูเซลซัน ความเข้มข้นของแชมพู = 2.5% ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง ตัวยานี้ได้ผลดีมากในการกำจัดรังแค มักใช้ในกรณีเป็นรังแคมากๆ แชมพูชนิดนี้จัดเป็นยา จึงมีวางขายในเฉพาะร้านขายยาเท่านั้น
  2. ซิงค์ พัยริไธออน หรือ ซิงค์ โอมาดีน ผสมในคคามเข้มขัน 2% อาจจะออกฤทธิ์ช้ากว่าซิลิเนียม ซัลไฟล์ เล็กน้อย แต่แชมพูที่ผสม ซิงค์ พัยริไธออนนี้จะสีสันและกลิ่นหอมน่าใช้กว่า ออกฤทธิ์ยับยั้งการการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเช่นกัน แชมพูชนิดนี้จัดเป็นเครื่องสำอางจึงมีในท้องตลาดมากมาย เช่น แครอลขจัดรังแค คิว-ลีน เคโอ-เมริค ฯลฯ (อ้างอิง A16)

ที่ผิวมะกรูดนั้นมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งในน้ำมันจะมีสารช่วยลอกคราบรังแคให้หลุดออกไปได้ และน้ำมะกรูดที่มีสภาพเป็นกรดยังช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างของเส้นผมและบริเวณหนังศีรษะช่วยให้เส้นผมมีความนุ่มสลวยเงางาม (อ้างอิง A33)

     โดยทั่วๆ ไปการทำความสะอาดเส้นผมก็เพื่อต้องการชำระสิ่งสกปรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกไขมันส่วนเกินและรังแคให้หมดไปจากเส้นผมและหนังศีรษะ ไขมันที่เกิดจากเส้นผมจะอยู่ในรูปของ sebum ซึ่งเป็นจำพวกสารเคมีและมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ glycerides 50% waxes 20% squalene 10% และ fatty acids 5% สารที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้จะถูกขับออกจากต่อมไขมัน (sebaceous glands) เคลื่อนไปยังขุมเซลเส้นผมแล้วส่งผ่านไปตามท่อเล็กๆ ในเส้นผม เพื่อหล่อเลี้ยงเส้นผมและช่วยให้เส้นผมเป็นมันเงานิ่มสลวยถ้าสารพวกนี้ถูกขับออกมามากเกินไปก็จะสะสมกันมีลักษณะเป็นไขมันจับอยู่ภายนอกเส้นผม ไขมันนี้เองเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยให้ฝุ่นละอองทั้งหลายเกาะติดเส้นผมได้ง่ายขึ้น ดังนั้นประสิทธิภาพของแชมพู ในการขจัดไขมันหรือทำให้เส้นผมสะอาดนั้น จึงขึ้นกับ detergent  ที่ใช้ผสมในแชมพู

     Detergent  เป็นสารอินทรีย์ ที่มีโครงสร้างซับซ้อน โมเลกุลของ detergent มี 2 functional group คือ polar หรือ hydrophilic และnonpolar หรือ hydrophobic สำหรับ polar group จะทำหน้าที่เข้าไปเกาะกับเส้นผมโดยการไล่ที่ไขมันออกไปและช่วยให้ detergent ละลายได้ดีในน้ำ หน้าที่จอง nonpolar group คือไปขจัดไขมัน และช่วยให้ไขมันละลายเป็น emulsion และพบว่าสมรรถภาพของแชมพู ในการทำความสะอาดไม่ได้ขึ้นกับ pH ในแชมพูสระผมทั่ว ๆ ไปจะปรับ pH ให้เท่าๆ กัน pH ของ detergent ที่ผสมในแชมพูนั้นๆ

     อนึ่งแชมพูที่ดีไม่ควรจะล้างน้ำมันออกจากเส้นผม และหนังศีรษะจนหมดเพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมกรอบแห้งและเกิดรังแคได้ ปกติตามผิวหนังของคนเราจะมีฤทธิ์กรด (pH 3.0-5.0) ซึ่งเกิดจากสารละลายมันเฟอร์  (lactid-acid และ lactate) ที่ต่อมเหงื่อผลิต กรดไขมันที่ต่อมไขมันผลิต ขึ้นนี้จะเป็นตัวยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย โดยเฉพาะ Streptococci  นอกจากนี้  กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวจะมีอะตอมคาร์บอนเป็นจำนวนเลขคี่ จะช่วยป้องกันเชื้อราเช่น พวกขี้กราก ตัวอย่างกรดไขมันที่ใช้เป็นตัวยาในแชมพู (Medicated shampoo) ได้แก่ Undecylinic acid (อ้างอิง A48)

ฟืม เป็นเครื่องมือที่ใช้กระทบกับเส้นกกให้แน่น มีความยาวเท่าขนาดเสื่อกก ซึ่งมีหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ 12 นิ้วสำหรับทอเสื่อกระเป๋า จนถึงฟืม 5 คืบถึง 10 คืบ และแบ่งเป็นฟืมสองชั้นกับฟืมชั้นเดียว เมื่อใช่ทอแล้วจะมีลายเสื่อแตกต่างกัน ฟืมที่ชาวจันทบุรีใช้ทอเสื่อนั้นฟันฟืมทำจากไม้ไผ่แก่ ครอบฟืมทำด้วยไม้จริง ส่วนฟืมทอเสื่อถิ่นอื่นทำด้วยไม้ประดู่ขนาด 1 ½´4 นิ้ว ยาวเท่ากับขนาดความกว้างของเสื่อ (อ้างอิง A20)

เป็นการเตรียมกกสำหรับย้อม โดยแบ่งกกเป็นกำขนาดเหมาะมือ ประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางเมื่อมัดแล้ว 1 นิ้ว กระทุ้งด้านโคนกกให้เสมอกัน แล้วมัดปลายกกห่างจากปลายเข้ามาประมาณ 2 นิ้วให้แน่น สะบัดกกให้กกสั้นหลุดออกมา กกที่ร่วงออกมาก็เก็บกระทุ้งโคนมัดปลาย แล้วสะบัดอีกต่อไปจนหมด (อ้างอิง A20)

ผลิตภัณฑ์เสื่อกก หมายถึง ผลิตภัณที่ได้จากการนำเสื่อกกมาออกแบบ ตัดเย็บ หรือวิธีอื่น เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่างๆ อาจประกอบด้วยวัสดุอื่น เช่น ผ้า เอ็น ดิ้น ลูกปัด ทำเป็นของใช้ทั่วไป ของประดับตกแต่ง เช่น แผ่นรองแก้ว แฟ้มใส่เอกสาร กล่องเอนกประสงค์ กรอบรูป (อ้างอิง A19)

นำสารโซเดียมเบนโซเอตที่มีค่าสารละลายความเข้มข้น 3% ซึ่งเป็นสารกันบูดที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร มีวิธีทำไม่ยาก เพียงนำกกไปแช่ในสารละลายโซเดียมเบนโซเอต 2 ชั่วโมง แล้วนำมาผึ่งให้แห้งก็ใช้งานได้ (อ้างอิง A11)

สีแอซิดเป็นสีที่นิยมใช้ย้อมเส้นใยจากสัตว์ เช่น ไหม ขนสัตว์ และเส้นใยพอลิเอไมด์ (polyamide) เช่น ไนลอน มากที่สุด สีชนิดนี้ใช้ย้อมในสภาวะที่เป็นกรด เวลาละลายน้ำจะแสดงประจุลบบนโมเลกุลสีในขณะที่เส้นใยแสดงประจุบวก ณ ภาวะกรด สีจึงเกาะติดบนเส้นใยได้ดีด้วยพันธะไอออน สามารถแบ่งชนิดของสีแอซิดออกเป็น 2 ชนิด คือ สีแอซิดที่ไม่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ และสีแอซิดที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ (อ้างอิง A39)

หลังจากทำความสะอาดแล้วจะยังคงมีสีและวัสดุเจือปนอื่นๆ เหลืออยู่ในผ้า การฟอกขาวจะทำให้สิ่งเหล่านั้นสลายตัวหรือลดน้อยลง กระทำได้หลายแบบ เช่น การฟอกขาวสมบูรณ์ การฟอกขาวเพื่อนำไปย้อมและกึ่งฟอกขาว ฯลฯ

สารฟอกสีที่ใช้กันมาเป็นปกติ ได้แก่ สารฟอกสีคลอรีน (แคลเซียมไฮโปรคลอไรท์) ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ เฉพาะการฟอกสีแบบต่อเนื่องนิยมใช้โซเดียมคลอไรท์และไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์มากกว่า (อ้างอิง A38)

เส้นไหมจัดเป็นเส้นใยโปรตีนจากสัตว์ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่เป็นเส้นใยแท้จริง (fibroin protein) ประมาณ 62-67เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เป็นกาว (sericin protein) ประมาณ 22-25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เป็นน้ำ 10-11 เปอร์เซ็นต์ และสารจำพวกเกลือแร่อื่นๆ 1-1.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เป็นกาวและสารประกอบอื่นๆ จะเกาะอยู่รอบๆ เส้นไหม ก่อนการย้อมสีต้องทำการกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกเสียก่อน มิฉะนั้นจะทำให้การติดสีไม่ดี ใยไหมมีความแข็งแรงที่สุดในบรรดาเส้นใยธรรมชาติ ย้อมติดสีได้ดีแต่มีปัญหาเรื่องความคงทนของสีต่อแสงแดด(อ้างอิง A37)

สีย้อมทุกชนิดเมื่อโอนแสงจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เนื่องจากแสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ซึ่งเมื่อตกกระทบบนสีย้อมสามารถกระตุ้นให้เกิดการสลายตัวของสีย้อม หรือทำให้สีย้อมทำปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่นที่อยู่ใกล้ จนสีย้อมเปลี่ยนรูปไปได้ การเปลี่ยนแปลงของสีย้อมเมื่อโดนแสงนี้อาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ที่พบมากที่สุดก็คือ การซีดจางของสี นอกจากนี้แล้ว แสงยังอาจทำให้สีย้อมมีการเปลี่ยนสีหรือทำให้ความสดใสของสีลดน้อยลงไปด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดหรือรูปแบบใดนั้น ขึ้นกับองค์ประกอบรวมๆ กันหลายอย่างที่สำคัญดังนี้คือ

  • สูตรโครงสร้างทางเคมีของสีย้อม
  • องค์ประกอบของสภาวะแวดล้อม
  • สูตรโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของเส้นใย
  • ส่วนประกอบของแสงที่มาตกกระทบ
  • ปริมาณสารแปลกปลอมอื่น ๆ ในเส้นใย
  • ปริมาณของสีย้อมที่อยู่ในเส้นใย (อ้างอิง A24)
มี 3 วิธี คือ 
วิธีที่ 1 : การย้อมโดยใช้สีไดเร็ก คือ ใช้อุปกรณ์การต้มที่หาได้ทั่วไป แล้วซื้อสีมาต้มกับน้ำเกลือ แช่ผ้าลงไปต้มประมาณ 45 นาที - 1 ชั่วโมง แล้วนำมาซักทำความสะอาด ซึ่งเป็นวิธีที่หน่วยงานต่างๆรวมถึงจิตอาสาดำเนินการให้บริการกับประชาชนอยู่ในขณะนี้ จุดเด่นของการย้อมแบบนี้คือ สะดวก ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ทั่วไป แต่จุดอ่อนคือ มีความคงทนต่อการซักต่ำ เสื้อผ้าที่ย้อมไปแล้วสีจะตก และสีซีดไว
วิธีที่ 2 : การย้อมโดยใช้สีรีแอ็คทีฟ เป็นสีที่ใช้ในระดับอุตสาหกรรม จุดเด่นคือ มีความคงทนต่อการซักสูง สีติดคงทน แต่กระบวนการย้อมค่อนข้างยุ่งยาก มีด่างซึ่งเป็นสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องต้องใช้เครื่องมืออุตสาหกรรมจึงจะให้ผลการย้อมที่ดี
วิธีที่ 3 : การย้อมโดยใช้สีซัลเฟอร์ หรือกำมะถัน จุดเด่นคือ เป็นสีที่มีราคาต่ำ เหมาะกับการย้อมสีดำ คงทนต่อการซักสูง สีติดทนนาน น้ำย้อมที่เหลือสามารถนำกลับมาใช้ย้อมในครั้งใหม่ได้ จุดอ่อนคือ ขั้นตอนในการย้อมมีการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัย จำเป็นต้องมีความรู้ในการดำเนินการ และผ้าที่ผ่านการย้อมทนต่อการซัก แต่ไม่ทนต่อการขัดถู
นอกจากผู้ย้อมต้องทำความเข้าใจและรู้จักสีที่จะนำมาย้อมผ้าแล้ว ต้องรู้จักธรรมชาติของเส้นใยและเนื้อผ้าที่นำมาย้อมด้วย เพราะผ้าบางชนิดจะไม่สามารถย้อมได้ เช่น ผ้าประเภทใยสังเคราะห์      (ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วิธีย้อมผ้าถูกวิธี)

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลาที่ผ่านกรรมวิธีการหมักด้วยเกลือ ข้าวสวย หรือข้าวเหนียวนึ่ง และกระเทียมจนมีรสเปรี้ยวอาจทำจากปลาทั้งตัว หรือเฉพาะเนื้อปลาก็ได้  (อ้างอิง A16)

  • ปลาส้มตัว เป็นปลาส้มที่ทำจากปลาทั้งตัวที่ผ่าท้องควักไส้ออกแล้ว
  • ปลาส้มชิ้น เป็นปลาส้มที่ทำจากเนื้อปลาล้วนที่หั่นเป็นชิ้นตามขวางของลำตัวปลา
  • ปลาส้มเส้น เป็นปลาส้มที่ทำจากเนื้อปลาล้วนที่หั่นเป็นเส้น
  • ปลาส้มฟัก หรือ แหนมปลา เป็นปลาส้มที่ทำจากเนื้อปลาล้วนบดหรือสับ(อ้างอิง A16)
สารเจือปนที่ผู้ผลิตมักเติมลงในผลไม้แช่อิ่ม ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภค ได้แก่
(1) สีที่ไม่ถูกต้อง เช่น สีย้อมผ้า มักจะมีโลหะหนักจำพวกโครเมียม แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว สารหนู พลวง เจือปน 
(2) สารบอแรกซ์  หรือน้ำประสานทอง เป็นสารที่ทำให้ผลไม้กรอบ น่ารับประทาน หากผู้บริโภคได้รับสารชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดพิษชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง
(3) สารซัคคาริน หรือขัณฑกร เป็นสารให้ความหวาน แทนการใช้น้ำตาล ถ้ามีการใช้ในปริมาณสูงเกินไป อาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ (A8) 

กรณีที่ผู้บริโภคได้รับสารชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายทีละน้อยๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะได้รับพิษชนิดเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินอาหาร มีผลทำให้เบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายอุจจาระบ่อย และน้ำหนักลด สำหรับอาการที่พบในเด็กอ่อนอาจทำให้เสียชีวิตประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด (A3)

แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
(1) การดองโดยใช้เกลือน้อย ประมาณร้อยละ 2-5 อาศัยกระบวนการของจุลินทรีย์ทำหน้าที่ถนอมอาหาร
(2) การดองด้วยเกลือเข้มข้น ร้อยละ 20-25 ไม่มีจุลินทรีย์เข้ามาเกี่ยวข้อง
(3) การดองในน้ำส้มสายชู เป็นกระบวนการต่อยอดจากแบบที่ 1 และแบบที่ 2
(4) การดองในน้ำมัน โดยดองในน้ำเกลือก่อน บรรจุภาชนะแล้วนำไปตั้งทิ้งไว้กลางแดดประมาณ 7-8 วัน จากนั้นใส่น้ำมันลงไปผสมภายหลัง แต่วิธีนี้คนไทยไม่นิยมทำกัน ยกเว้นในบางประเทศ เช่น อินเดี(C3)  

วัตถุเจือปนอาหารประเภทสารช่วยทำให้กรอบ แคลเซียมคลอไรค์ แคลเซียมแลกเทต หรือแคลเซียมกลูโคเนต อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ในปริมาณไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (E3)

เนื่องจากผลมะขามป้อมประกอบด้วยสารสำคัญ ได้แก่ วิตามินซีและแทนนิน ในปริมาณสูง โดยวิตามินซีทำหน้าที่จับอนุมูลอิสระในเซลล์ที่เป็นของเหลว ป้องกันเซลล์จากการถูกอนุมูลอิสระทำลาย สำหรับแทนนินมีอยู่ทุกส่วนของลำต้นมะชามป้อม เป็นสารสำคัญสำหรับใช้เป็นยาการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคในระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร แผลในลำไส้ ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต (C2)

สรรพคุณตามตำรับยาไทยของมะขามป้อม ได้แก่ บรรเทาอาการหวัด ไอ เจ็บคอ ละลายเสมหะ     
แก้การกระหายน้ำ บำรุงเสียง บำรุงผม ป้องกันผมร่วง บำรุงร่างกายให้แข็งแรง และแก้ท้องผูก (A10)
 

สรรพคุณของมะขามป้อมตามตำรับยาแผนโบราณของอินเดีย ได้แก่ ใช้รักษาอาการตกขาว ปวดท้อง ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย นอนไม่หลับ แก้น้ำเหลืองเสีย ขับพยาธิ หิด ผื่นคัน ปวดหัว ไอกรน อาเจียน บำรุงผิว บำรุงผม บำรุงสมอง และบำรุงสายตา (A15)

(1) หากรับประทานมะขามป้อมมากเกินไป ทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้
(2) เคี้ยวลูกมะขามป้อมมากเกินไป ทำให้เกิดอาการเข็ดฟัน เสียวฟัน
(3) คนที่ท้องอืดเพราะกระเพาะเย็นไม่ควรรับประทาน
(4) รากมะขามป้อมมีพิษเบื่อเมา รับประทานเข้าไปมากๆ อาจถึงตายได้
(5) รากมะขามป้อมรับประทานมากเกินไป ทำให้สลบ จะต้องหายาแก้ทันที เช่น ใช้ผงยาบดของต้นรางจืด (A18)
 
เพราะเห็ดหอมมีคุณค่าทางอาหารสูง รสชาติดี มีกลิ่นหอม และประกอบด้วยสารที่มีสรรพคุณทางยา ได้แก่
(1) สาร Eritadenine (C9H11O4N5) มีคุณสมบัติลดคอเลสเตอรอลในเลือด
(2) สาร Lentinan เป็นสารประกอบพวก Polysaccharides มีคุณสมบัติต่อต้านเนื้องอกและมะเร็ง โดยทำให้เกิดภูมิต้านทานจาก T-cell หรือ Thymus-derived lymphocyter 
(3) สาร Ac2P และ Mushroom RNA โดย Ac2P มีโครงสร้างเป็นสารประกอบพวก Polysaccharides ส่วน Mushroom RNA มีโครงสร้างเป็น Double-stranded RNA ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัส (A9)
 
ผลิตภัณฑ์ของเห็ดหอมมี 3 ชนิด คือ
(1) เห็ดหอมสด การเพาะเห็ดหอมสามารถเพาะขึ้นได้ดีในที่ที่มีอากาศเย็น โดยพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยสามารถเพาะเห็ดหอมได้หลายแห่ง เช่น ดอยอ่างขาง ดอยปุย โครงการเกษตรหลวงห้วยทุ่งจ๊อ เป็นต้น
(2) เห็ดหอมแห้ง ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง เพราะมีคุณค่าทางอาหารไม่แตกต่างกัน แต่เห็ดหอมแห้งสามารถเก็บได้นานกว่าเห็ดหอมสด และมีรับประทานในทุกฤดู
(3) น้ำเห็ดหอม นอกจากผู้บริโภคจะนิยมรับประทานเห็ดหอมทั้งชนิดสดและชนิดแห้งแล้ว ปัจจุบันหลายประเทศยังนิยมรับประทานน้ำสกัดจากเห็ดหอมด้วย เนื่องจากสะดวก สามารถเปิดขวดดื่มได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลานำมาประกอบอาหาร รวมถึงมีคุณประโยชน์เช่นเดียวกับการบริโภคเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้งด้วย (A3)
 

คือ การเพาะเห็ดหอมบนท่อนไม้ และในขี้เลื่อย เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่สลับซับซ้อน และยังคงรสชาตดี มีกลิ่นหอม อีกทั้งสามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี (C10)

พริกไทยแบ่งตามวิธีการเก็บและเตรียมได้เป็น 2 ชนิด คือ
(1) พริกไทยดำ (Black pepper) เตรียมได้จากการนำผลพริกไทยที่โตเต็มที่แต่ยังไม่สุกมาตากแห้ง
(2) พริกไทยล่อน (White pepper) เตรียมได้จากการนำผลพริกไทยที่สุกแล้วมาแช่ในน้ำเพื่อลอก
เปลือกชั้นนอกออกไป จากนั้นนำไปตากแห้ง (A2)
 

องค์ประกอบทางเคมีของพริกไทย ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย 2-4 เปอร์เซ็นต์ แอลกอฮอล์หลัก คือ ไพเพอร์รีน 5-9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวทำให้เผ็ดร้อน มี Piperidine และ Pipercanine เป็นตัวทำให้มีกลิ่นฉุน พริกไทยอ่อนนั้นจะมีกลิ่นฉุนน้อยกว่าพริกไทยดำ และมีโปรตีน 11 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 65 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามิน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2         ไนอาซิน และวิตามินซี (D1)

สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของพริกไทยคือ สาร Piperine มีฤทธิ์ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและลำไส้ทำงานได้ดี กระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารหลั่งน้ำย่อย เพื่อย่อยโปรตีน ไขมัน และแป้ง เพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุที่สำคัญ ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี เพิ่มการเผาผลาญอาหารต่างๆ เพิ่มการผลิตสารในสมองทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข อีกทั้งยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สามารถช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ รวมถึงต้านการอักเสบ ต้านการชัก และต้านมะเร็งได้อีกด้วย (A9)

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรของสหรัฐอเมริกาพบว่า พริกไทยป่นมีสรรพคุณช่วยในการรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพ สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้แก่ โรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง โรคริดสีดวง ห้ามโลหิต โรคหัวใจ ลดความอ้วน ปวดกล้ามเนื้อ แก้หวัด บำรุงผิว ช่วยย่อยอาหาร อายุยืน และมีความจำที่ดี นอกจากนี้ อาจนำมาชงแบบน้ำชา โดยนำพริกไทยป่น 1 ช้อน ใส่ในน้ำอุ่น 1 ถ้วย รับประทานเป็นประจำจะช่วยต้านโรคต่างๆ ได้ (A3)

ชานอ้อย (Bagasse) เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ได้มาจากต้นอ้อย หลังจากบีบเอาน้ำตาลออกแล้วจะเหลือส่วนที่เป็นกากใย โดยประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
(1) ขุยอ้อย (Parenchyma cell) พบประมาณร้อยละ 30 ของน้ำหนักต้นอ้อยอบแห้ง (ไม่รวมน้ำอ้อย)  ส่วนนี้อยู่ตรงกลางของลำต้นมีทิศทางขนานไปกับความยาวของลำต้น มีมัดเส้นใยเดี่ยวฝังอยู่บริเวณตรงกลางของต้นอ้อย โดยในขั้นตอนการต้มเยื่อ ขุยอ้อยจะดูดซึมสารเคมีเข้าได้ง่ายและเกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้เร็ว ทำให้สิ้นเปลืองสารเคมี ด้วยเหตุนี้ ก่อนการต้มเยื่อจึงต้องแยกขุยอ้อยออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
(2) เนื้ออ้อย (Fiber of the rind) หรือ แกนอ้อย ประกอบด้วยส่วนที่เป็นมัดเส้นใยคุณภาพดีประมาณร้อยละ 50 ของน้ำหนักต้นอ้อยอบแห้ง ซึ่งรวมกันแน่นที่แกนของต้นอ้อย ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้น  เส้นใยในชั้นนี้มีขนาดใหญ่กว่า และมีความต้านทานต่อปฏิกิริยาเคมีดีกว่าเส้นใยที่อยู่ในชั้นขุยอ้อย จึงเหมาะสมสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเยื่อกระดาษ
(3) เปลือกอ้อย เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด และบางที่สุดของต้นอ้อย แต่มีความหนาแน่นสูง ประกอบด้วยไขมัน และวัสดุอื่นๆ มีสีเข้มกว่าขุยอ้อยและส่วนแกน อาจมีสีแดงหรือเขียว ไม่เหมาะสมสำหรับใช้ผลิตเป็นเยื่อ เนื่องจากละลายได้ช้า และไม่สมบูรณ์ในระหว่างการต้มเยื่อ หากไม่แยกส่วนนี้ออกพร้อมกับการแยกขุยอ้อย จะทำให้เกิดจุดสีดำ ในเยื่อได้ (A4)
 
1. ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตพลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้ผลิตไฟฟ้า ชานอ้อยอัดแท่ง และผลิตเป็นเชื้อเพลิงเหลว เป็นต้น 
2. ใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ สามารถใช้ทดแทนเยื่อจากไม้ใบกว้างได้เป็นอย่างดี จึงนำมาผลิตกระดาษได้เกือบทุกชนิด ซึ่งอาจใช้เป็นส่วนผสมหรือใช้เยื่อส่วนใหญ่ในการผลิตกระดาษบางชนิดก็ได้ ชนิดของกระดาษที่ผลิตจากเยื่อชานอ้อย ได้แก่ กระดาษห่อของ กระดาษพิมพ์ กระดาษเขียน กระดาษเช็ดหน้า กระดาษชำระ และกระดาษหนังสือพิมพ์
3. ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแผ่นไม้ประดิษฐ์ เนื่องจากชานอ้อยมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ใกล้เคียงกับไม้ใบกว้าง ทำให้มีการนำชานอ้อยมาผลิตเป็นแผ่นไม้ประดิษฐ์แทนไม้ใบกว้าง ผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ประดิษฐ์จากชานอ้อยในประเทศไทย ได้แก่ แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นสูง ความหนาปน่นปานกลาง และความหนาแน่นต่ำ
4. การใช้ประโยชน์จากชานอ้อยในรูปแบบอื่นๆ เช่น การทำ α-cellulose เพื่อผลิตเรยอน ทำพลาสติกจากลิกนินของชานอ้อย สกัด Xylitol ใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น (A6)
 

กล่องโฟมจากชานอ้อยมีคุณสมบัติดีกว่ากล่องโฟมทั่วไป คือ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ภายใน 45 วันหลังจากการฝังกลบ และปลอดภัยจากสารปนเปื้อน โดยเฉพาะสารไดออกซิน ที่พบได้ในพลาสติกบางประเภท สารไวนิลคลอไรด์ ที่มักพบในพลาสติกพีวีซี และสารคลอรีนตกต้าง เนื่องจาก โฟมชานอ้อยไม่ต้องผ่านกระบวนการใช้คลอรีนในการฟอกสี (Elementary chlorine free-ECF) รวมทั้ง ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งอีกด้วย (A15) 

แป้งข้าวเจ้าเป็นแป้งที่ทำมาจากเมล็ดข้าวเจ้า มีลักษณะเป็นผง มีสีขาว จับแล้วสากมือเล็กน้อย เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะขุ่นร่วน ถ้าทิ้งให้เย็นจะอยู่ตัวเป็นก้อนร่วนไม่ถึงกับเหนียวหนึบ และไม่ถึงกับร่วนฟูเป็นเนื้อทราย จึงเหมาะที่จะประกอบอาหารที่ต้องการความอยู่ตัวร่วนไม่เหนียวหนืด เช่น ขนมขี้หนู ขนมตาล ขนมกล้วย    ขนมน้ำดอกไม้ ตะโก้ เส้นขนมจีน เป็นต้น สมัยก่อนนิยมโม่* กันเอง โดยล้างข้าวสารก่อน แช่ข้าว ใส่น้ำให้ท่วม   แช่จนข้าวนุ่ม จะโม่ง่าย แต่ปัจจุบันจะบดด้วยเครื่องบดไฟฟ้า บดให้ละเอียดแล้วจึงห่อผ้าขาวบางทับน้ำทิ้งจะได้  แป้งข้าวเจ้า เรียกว่า แป้งสด (D2) 
*การโม่แป้ง คือ การนำข้าวมาทำความสะอาด (Cleaning) เพื่อแยกสิ่งสกปรกออก แล้วจึงนำไปบดให้เป็นแป้งด้วยเครื่องโม่แป้งโบราณ หรือเครื่องบดไฟฟ้า
 

เนื่องจากต้องการลดปริมาณการนำเข้าแป้งสาลีจากต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี การใช้แป้งข้าวเจ้าทดแทนแป้งสาลีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดการสูญเสียเงินตราของประเทศได้ รวมทั้ง ยังช่วยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกด้วย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้แป้งข้าวเจ้าแทนแป้งสาลี คือ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมปัง และเส้นบะหมี่ (A4)

น้ำตาลโปรตีนต่ำที่สกัดจากแป้งข้าวเจ้า สามารถช่วยแก้ปัญหาการแพ้โปรตีนนมทุกชนิดในทารก โดยคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ทารกที่แพ้โปรตีนในนมหลายชนิดมักไม่แพ้โปรตีนที่สกัดจากแป้งข้าวเจ้า โดยปริมาณโปรตีน 0.04 กรัม ต่อน้ำตาลพอลิเมอร์ 100 กรัม จะเหมาะสมต่อทารกที่แพ้โปรตีนในน้ำนม (A7)

แผ่นเจลข้าวห้ามเลือดผลิตจากผงแป้งข้าวเจ้าไทยผสมกับสารตัวช่วยหลายชนิด ได้แก่ ผงเจลาติน ผงโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ กรดแล็คติก กรดซัลฟูริก และกลีเซอรอลในน้ำร้อน โดยทำการดัดแปลงโครงสร้างทางกายภาพของแป้งข้าวเจ้าให้เป็นเจล และเพิ่มสารตกแต่งเพื่อแปรรูปแผ่นเจลข้าวเจ้าให้มีฤทธิ์ทางเคมีเป็นกรด มีคุณสมบัติในการดูดซึมและสามารถย่อยสลายได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มีความปลอดภัยต่อเนื้อเยื่อ คงสภาพในของเหลว จึงสามารถใช้ห้ามเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ (C3)

ยางสังเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อเลียนแบบยางธรรมชาติ จัดเป็นวัสดุยืดหยุ่นสังเคราะห์ (Artificial elastomer) ชนิดหนึ่งที่มีสมบัติพิเศษ คือ สามารถเปลี่ยนรูปภายใต้ความเค้นได้มากกว่าวัสดุชนิดอื่น และสามารถกลับคืนรูปได้เหมือนเดิมโดยไม่เกิดการเสียรูปอย่างถาวร ยางสังเคราะห์สามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (Polymerization) ของสารตั้งต้นที่เป็นผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นปิโตรเลียม ซึ่งเรียกว่า มอนอเมอร์ (Monomer) โดยยางสังเคราะห์แต่ละชนิดจะมีการผสมมอนอเมอร์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดในสัดส่วนที่ต่างกัน เพื่อพัฒนาให้ได้ยางสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ ทางกล และทางเคมีที่แตกต่างกันตามต้องการ (D3)

ยางธรรมชาติมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับยางสังเคราะห์แล้วพบว่ายางธรรมชาติยังมีคุณสมบัติด้อยกว่า เนื่องจากยางสังเคราะห์มีความทนทานต่อการขัดถูและการสึกกร่อน (Abrasion resistance) ดีกว่า มีความเสถียรทางความร้อน (Thermal stability) สูงกว่า จึงทำให้ยางสังเคราะห์เสื่อมสภาพได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทั้งยังมียางสังเคราะห์อีกหลายชนิดที่สามารถคงความยืดหยุ่นได้แม้อยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำ สามารถทนต่อน้ำมันและจาระบี รวมทั้ง ยังทนเปลวไฟได้ดี ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้ทำเป็นฉนวนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยางสังเคราะห์มีอยู่หลายชนิดจึงเหมาะสำหรับกับการใช้งานหลากหลายประเภท เช่น การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ใช้ผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์ หรือใช้ทำชิ้นส่วนแม่พิมพ์ และสายพานในเครื่องจักร เป็นต้น (A5)

ยางสังเคราะห์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

(1) ยางสังเคราะห์ใช้งานทั่วไป เป็นยางที่ผลิตในปริมาณมากเพื่อใช้แทนยางธรรมชาติ เช่น พอลิไอโซ พรีนสังเคราะห์ (Synthetic Polyisoprene Rubber, IR) สไตรีนบิวตะไดอีน (Styrene-Butadiene Rubber, SBR) บิวตะไดอีน (Butadiene Rubber) ไอโซบิวทิลีน ไอโซพรีน หรือยางบิวทาย (Isobutylene Isoprene Rubber, IRR or Butyl) เอทิลีน โพรพิลีน ไดอีน มอนอเมอร์ (Ethylene Propylene Diene Monomer, EPDM) 
(2) ยางสังเคราะห์ใช้งานพิเศษ เป็นยางที่ผลิตขึ้นมาในปริมาณน้อยกว่ายางสังเคราะห์ใช้งานทั่วไป มีสมบัติทนทานพิเศษต่อน้ำมัน ตัวทำละลาย ความร้อน หรือสารเคมี เช่น คลอโรพรีน หรือนีโอพรีน (Chloroprene or Neoprene Rubber, CR) อะคริโลไนไตรล์ บิวตะไดอีน (Acrylonitrile Butadiene Rubber, NBR) ซิลิโคน (Silicone, SI) พอลิอะคริลิก (Polyacrylic Rubber, ACM) เป็นต้น (D3)
 

ยางสังเคราะห์ชนิดพอลิยูรีเธน (Polyurethane elastomer) เป็นวัสดุหลักในการทำพื้นผิวของลู่-ลานกรีฑา เนื่องจากยางพอลิยูรีเธนมีคุณสมบัติทนทานต่อการขัดถูสูง (Good abrasion resistance) มีความยืดหยุ่นดี มีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมสูง อีกทั้ง พื้นผิวลู่กรีฑาที่ทำจากยางพอลิยูรีเธนยังมีความปลอดภัยต่อนักกรีฑามากกว่าพื้นผิวตามธรรมชาติ หรือพื้นผิวที่ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ อีกด้วย (A3)

ยางสังเคราะห์ชนิดไนไตรล์ ซึ่งแต่เดิมถุงมือยางทางการแพทย์ทำมาจากน้ำยางจากต้นยางพารา (Hevea Brasiliensis) แต่เนื่องจากเกิดปัญหาการแพ้โปรตีนที่ละลายน้ำได้ (Water extractable protein) ในน้ำยางธรรมชาติ ประเทศต่างๆ จึงพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการใช้ถุงมือที่ทำมาจากยางสังเคราะห์แทน โดยยางสังเคราะห์ที่นิยมใช้ทดแทนยางธรรมชาตินั้น คือ น้ำยางสังเคราะห์ชนิดไนไตรล์ (Nitrile latex) เนื่องจากราคาถุงมือจากน้ำยางชนิดนี้สูงกว่าถุงมือยางธรรมชาติไม่มาก มีคุณสมบัติเด่น คือ สามารถทนทานต่อสารเคมีได้ดี (A10)

ยางธรรมชาติมีโครงสร้างทางเคมีแบบซิส (cis-1,4-polyisoprene) คือ มี isoprene n (C5H8 ) โดยที่ n มีค่าตั้งแต่ 15,000-20,000 (A11)

ยางธรรมชาติมีคุณสมบัติเด่นหลายประการคือ มีความทนต่อแรงดึง (Tensile strength) ความทนต่อการฉีกขาด (Tear strength) ความทนต่อการขัดถู (Abrasion resistance) ความเหนียวติดกัน (Tack) และที่สำคัญมีความยืดหยุ่นสูง (Elasticity) ซึ่งเมื่อแรงภายนอกมากระทำกับมันหมดไป ยางก็จะกลับคืนสู่รูปร่างและขนาดเดิมหรือใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็ว (A11)

 

ข้อเสียหลักของยางธรรมชาติคือ การเสื่อมสภาพเร็วภายใต้แสงแดด ออกซิเจน โอโซน และความร้อน เนื่องจากโมเลกุลของยางธรรมชาติมีพันธะคู่อยู่มาก ทำให้ไวต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน และโอโซน โดยมีแสงแดด และความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้นในระหว่างการผลิตผลิตภัณฑ์จึงต้องมีการเติมสารเคมีบางชนิด เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ (A11)

แนวทางที่สามารถช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของยางธรรมชาติคือ การดัดแปรทางเคมี ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในรูปของน้ำยาง สารละลายยาง และยางแห้ง โดยแบ่งประเภทของการดัดแปรทางเคมีได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได่แก่
(1) การดัดแปรโครงสร้างทางเคมี โดยไม่มีการเพิ่มหมู่ฟังก์ชันใหม่
(2) การเพิ่มกลุ่มอะตอมผ่านปฏิกิริยาการเพิ่มหรือการแทนที่บริเวณพันธะคู่ในโมเลกุลยาง
(3) การกราฟต์พอลิเมอร์ลงบนสายโซ่โมเลกุลยาง (A15)
 
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางแบ่งตามลักษณะวัตถุดิบที่ใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ
(1) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น (Concentrated latex) โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากน้ำยางข้น ได้แก่ 
        - ผลิตภัณฑ์จุ่ม เช่น ถุงมือผ่าตัด ถุงมือตรวจโรค ถุงมือแม่บ้าน ถุงมืออุตสาหกรรม ถุงยางอนามัย ลูกโป่ง จุกนมยาง ท่อสวนปัสสาวะ เป็นต้น
        - ผลิตภัณฑ์น้ำยางในอุตสาหกรรมพรม
        - ผลิตภัณฑ์ยางฟองน้ำ (Latex foam) เช่น ใช้ทำที่นอน หมอน เบาะรองนั่ง เป็นต้น
        - สายยางยืด เช่น ยางยืดขอบกางเกงใน ถุงเท้า และเสื้อชั้นใน ยางรัดขาไก่ ยางรัดป้ายติดกระเป๋า เป็นต้น
(2) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยางแห้ง (Dry rubber) โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากยางแห้ง ได้แก่ ยางล้อรถยนต์ ยางล้อเครื่องบิน ยางรองคอสะพาน ยางรองรับแรงสะเทือนหรือแผ่นดินไหว ยางชิ้นส่วนรถยนต์และเฟอร์นิเจอร์ พื้นรองเท้า กาวยาง ยางรัดของ รองเท้ายาง และยางปูพื้น (A22)
 

เพื่อช่วยลดการนำเข้ายางสังเคราะห์จากต่างประเทศ และเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศให้สูงขึ้น (A25) 

องค์ประกอบของเปลือกไข่ ประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต 95.1 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 3.3 เปอร์เซ็นต์ และน้ำ 1.6 เปอร์เซ็นต์ (A12)

เนื่องจากเปลือกไข่และเถ้าแกลบดำมีคุณสมบัติในการกำจัดสารโลหะหนัก เช่น แคดเมียม ตะกั่ว โดยมีจำนวนความพรุนของรูในเปลือกไข่และเถ้าแกลบดำมาก นั่นคือ เมื่อจำนวนความพรุนของรูมีจำนวนมากเท่าใด การไหลผ่านของสารโลหะหนักในน้ำเสียก็สามารถผ่านไปได้ยากเท่านั้น อีกทั้ง ยังเป็นการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย (A8)

เปลือกไข่เป็นสารดูดซับ (Adsorbent) จากธรรมชาติที่มักถูกนำมาใช้ในการลดปริมาณสารให้รสขมและรสเปรี้ยวในน้ำส้มเขียวหวาน เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่พอใจของผู้บริโภค (B3)

ข้อดีของการใช้เปลือกไข่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการผลิตไบโอดีเซล คือ เป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาถูก ได้ไบโอดีเซลที่สะอาด มีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีน้ำเสีย รวมถึงได้กลีเซอรอลที่สะอาดขึ้นอีกด้วย (C2)

ผงแคลเซียมจากเปลือกไข่เป็นผลิตภัณฑ์ผงล้างผักที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคท้องร่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนผงล้างผักที่ใช้กันทั่วไปอย่าง โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือเบคกิงโซดา ได้ (C1) 

ดินขาวมีสูตรทางเคมีว่า Al2O32SiO2.2H2O ซึ่งดินขาวบริสุทธิ์จะมีส่วนประกอบทางเคมีเป็นอะลูมินา (Al2O3) ร้อยละ 39.5 ซิลิกา (SiO2) ร้อยละ 46.5 และน้ำ (H2O) ร้อยละ 14 แต่ดินขาวทั่วไปมักมีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ เช่น เหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม ควอตซ์ และเฟลด์สปาร์ (A11)

แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 
(1) แหล่งที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอน (Sedimentary origin) อาจเป็นได้ทั้งดินขาว ดินเหนียว หรือดินสี ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ
(2) แหล่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของหินโดยการกระทำของน้ำร้อนและก๊าซ (Hydrothermal and pneumatolytic origin) ได้แก่ ดินขาวแบบฉบับปางค่า อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และดินขาวแบบฉบับกิ่วมะมื่น ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 
(3) แหล่งที่เกิดแบบผุพังอยู่กับที่ (Residual weathering origin) ได้แก่ ดินขาวที่ตำบลโคกไม้ลาย อำเภอเมือง จังหวัดปราจีน และดินขาวที่ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส (A10)
 

ในประเทศไทยดินขาวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง เครื่องสุขภัณฑ์ รวมทั้งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเซรามิก การทำถ้วยชาม กระเบื้องเคลือบ กระเบื้องโมเซคและอิฐทนไฟ อุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมสี (A14)

เนื่องจากดินขาวมีคุณสมบัติความแกร่งเมื่อแห้ง (Dry strength) คุณสมบัตินี้สำคัญมากเพราะดินขาวจะเป็นตัวช่วยให้ผลิตภัณฑ์ดิบมีความแข็งแรงมากขึ้น รวมถึงมีคุณสมบัติหลังจากเผา (Firing properties) แต่แร่ดินขาวมีการหดตัวมากหลังการเผา จึงไม่ควรใช้แร่ดินขาวล้วนเป็นเนื้อดินปั้น เมื่อเผาแล้วจะหดตัวประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ (A18)

ด้านการเกษตรมีการพัฒนานำดินขาวเคโอลินมาพ่นให้กับพืช จะมีลักษณะเป็นฟิล์มเคลือบลำต้น ใบ และผล สารเคโอลินมีสีขาวจึงช่วยสะท้อนแสงที่มีความเข้มสูงออกไป อุณหภูมิใบลดลง ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้การติดผลของพืชสูงตามไปด้วย โดยการพ่นสารเคโอลินในช่วงระหว่าง การพัฒนาของผลไม้ ทำให้ผิวของผลมะม่วงไม่ได้รับการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ผิวของพืชจึงมีลักษณะสวยงามขึ้น รวมถึงยังมีผลในการช่วยป้องกันแมลงและลดการแพร่ระบาดของโรคพืชได้อีกด้วย (C4)

เห็ดนางรมสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดเล็กน้อย หรือมีค่า pH 6.5-6.8 อุณหภุมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดนางรมประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่เหมาะต่อการออกดอกของเห็ดคือ 25 องศาเซลเซียส (C12)

เห็ดนางรมน้ำหนัก 100 กรัม ให้พลังงานจำนวน 18 แคลอรี่ ไขมัน 1 กรัม โปรตีน 2 กรัม ไม่มีคาร์โบไฮเดรต รวมถึงยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและแคลเซียมที่มีประโยชน์ช่วยรักษาระดับสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย ซ่อมแซมระบบประสาท ผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ช่วยให้คลื่นหัวใจทำงานตามปกติ ส่วนแคลเซียมและแมกนีเซียมช่วยรักษากระดูกและฟันให้แข็งแรง (A3)

(1) เบต้า-กลูแคน (ß-(1-3)glucan) หรือ พลูโรทินโพลิแซ็คคาไรด์ (Pleurotin polysaccharides) มีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดอนุมูลอิสระและต่อต้านมะเร็ง เพิ่มการสร้างและการเจริญเติบโตของเมล็ดเลือดขาว รวมถึงต่อต้านแบคทีเรียแกรมบวก
(2) ไคติน-ไคโตซาน (Chitin-chitosan) เป็นเส้นใยอาหาร มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย ช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคในระบบทางเดินอาหาร และรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า
(3) กรดโฟลิก (Folic acid) เห็ดนางรมมีปริมาณกรดโฟลิกสูงกว่าพืชผักและเนื้อสัตว์ มีประโยชน์ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และช่วยปรับสภาพความดันโลหิต (B2)
 

เห็ดนางรมทอง (Pleurotus citrinopileatus Singer) และเห็ดนางรมดอย (Pleurotus ostreatus (Fr.) Kummer) เนื่องจากสารสกัดที่ได้จากเห็ดนางรมทั้ง 2 ชนิดนี้ มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนต่อผิวหนัง จึงเหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาเป็นเวชสำอาง (A15)

ศัตรูเห็ด (Pest) หมายถึง ไวรัส จุลินทรีย์ ไร แมลง และสัตว์อื่นๆ ที่ก่อให่เกิดความเสียหายแก่เห็ด (C15)

คือ Phytoestrogens ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ได้รับจากพืช ประกอบด้วย
สารที่มีฤทธิ์แรง ได้แก่ miroestrol และ deoxymiroestrol
สารที่มีฤทธิ์อ่อน ได้แก่ isoflavones เช่น puerarin, diadzein, gensitein, genisitin, daiazin,  mirificin และ kwakhurin (A3)
1. ฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen)
2. คุมกำเนิด ยับยั้งการตกไข่
3. ทำใไทรวงอกขยาย น้ำหนักมดลูกเพิ่มขึ้น
4. ในสัตว์ทดลองที่ให้นมลูก จะยับยั้งการหลั่งน้ำนม
5. ลดความต้องการทางเพศของสัตว์ทดลองเพศผู้ ลดการสร้างเชื้อตัวผู้
 

กวาวเครือขาวเป็นสมุนไพรที่ขึ้นที่ขึ้นบริเวณป่าเบญจพรรณในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยในบริเวณชายป่าที่มีอินทรีย์วัตุสูง และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือการทับข้อ

1. ช่วยให้กระชุ่มกระชวย
2. ช่วยให้ผิวหนังเต่งตึง
3. กระตุ้นเต้านมให้ขยายตัว
4. ช่วยให้ผมหงอกกลับมาดำและเพิ่มปริมาณเส้นผม
5. แก้โรคตาฟาง และต้อกระจก
6. ความจำดี
7. มีพละกำลังการเคลื่อนไหวและเดินเหินที่คล่องขึ้น
8. ช่วยบำรุงโลหิต
9. ช่วยให้รับประทานอาหารมีรสชาติอร่อย
10. ช่วยให้นอนหลับสนิทดี

สารสำคัญในใบย่านาง คือ กากใย แคลเซียม เหล็ก เบต้าแคโรทีน และวิตามินเอ (A2)    

เนื่องจากย่านางสามารถลดฤทธิ์กรดยูริก และลดความขมของหน่อไม้ได้ รวมทั้งช่วยเพิ่มคลอโรฟิลล์ และเบต้าแคโรทีนให้กับอาหารด้วย (A3)

(1) ราก  :  ใช้แก้ไข้ทุกชนิด ทั้งไขพิษ ไข้เหนือ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู
(2) ใบ  :  แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ แก้พิษเมา แก้อาการผิดสำแดง แก้ไข้กลับ แก้เลือดตก
              แก้กำเดา แก้ลม ลดความร้อน
(3) เถา  :  แก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ต้านมาลาเรีย ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ (C11)
 
สะตอแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ
(1) สะตอข้าว มีลักษณะฝักเล็ก สั้น เมล็ดแน่น ลำต้นและทรงพุ่มขนาดกลาง กลิ่นของเมล็ดฉุน   และเผ็ดน้อยหรืออมหวาน ออกดอกให้ผลเร็ว ให้ผลในระยะเวลา 4-5 ปี เมล็ดนิยมรับประทานเป็นผักจิ้ม  
(2) สะตอดาน มีลักษณะฝักยาวใหญ่ เมล็ดโต ทรงต้นใหญ่ สูง กิ่นก้านสาขามาก กลิ่นของเมล็ดฉุนเผ็ดแรง ออกดอกออกผลหลังสะตอข้าว ให้ผลในระยะเวลา 6-7 ปี นิยมใช้เมล็ดเป็นผักในการประกอบอาหาร เช่น ผัดเผ็ด แกงต่างๆ จำหน่ายได้ราคาดี (อ้างอิง)
 

เมล็ดสะตอ จำนวน 100 กรัม โดยน้ำหนักสด ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ คือ

- โปรตีน 8.00 กรัม
- ไขมัน 8.10 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 11.40 กรัม
- แคลเซียม 76.00 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 73.00 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.70 มิลลิกรัม
- วิตามิน เอ 734.0 หน่วยสากล I.U.
- วิตามิน บี 1 0.11 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี 2 0.01 มิลลิกรัม
- ไนอาซีน 1.00 มิลลิกรัม (อ้างอิง)
 
 
(1) ราก  ช่วยยึดดินมิให้พังทลาย และทำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ
(2) ใบ  ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน 
(3) ลำต้น  ใช้ทำเครื่องตกแต่งบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ (อ้างอิง)
 
วิธีกำจัดกลิ่นสะตอ คือ นำเมล็ดสะตอไปต้ม โดยเปิดฝาหม้อไว้เพื่อไล่กลิ่นเหม็นเขียว ต้มจนสุกแล้วเทน้ำทิ้ง จากนั้นจึงนำเมล็ดสะตอไปปรุงอาหารได้ตามปกติ (อ้างอิง)
 

สะตอมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะปวดขัดหรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น หรือ  มีเลือดไหล หรือเกี่ยวกับไตพิการ ที่ปัสสาวะมีสีขุ่นข้น เหลืองหรือแดง และมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้ แพทย์แผนโบราณเชื่อว่าสะตอช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือดได้ ซึ่งผู้ที่รับประทานสะตอเป็นประจำจึงช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ (อ้างอิง)

น้ำพริกไก ข้าวเกรียบสาหร่ายไก สาหร่ายไกแผ่นกรอบปรุงรส คุกกี้ไก ขนมปังไก บะหมี่ไก 
หมูยอสาหร่ายไก ลูกชิ้นหมูสาหร่ายไก และข้าวแคบไก (อ้างอิง)
 

สาหร่ายสไปรูไลน่า (Spirulina) หรือ สาหร่ายเกลียวทอง เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนมากกว่าสาหร่ายตระกูลอื่นๆ คือ มีปริมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเป็นอาหารเสริมอัดเม็ดเพื่อสุขภาพสำหรับมนุษย์ และใช้ผสมเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจประเภทสวยงามเพื่อให้ได้สีสันที่สวยงามมากขึ้น (อ้างอิง)

การบริโภคสาหร่ายทะเลอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคบางราย ได้แก่
(1) ปัญหาต่อมไทรอยด์ สาหร่ายทะเลอาจรบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์ ก่อเกิดโรคคอหอยพอกในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากได้รับปริมาณไอโอดีนมากเกินไปจากสาหร่ายทะเล
(2) ปัญหาปริมาณโลหะหนักสะสม สาหร่ายทะเลที่เจริญเติบโตในน้ำที่ปนเปื้อน อาจมีโลหะหนักและสารพิษต่างๆ สะสม เมื่อบริโภคสาหร่ายทะเลอาจทำให้เกิดการสะสมสารพิษในร่างกายของผู้บริโภคได้
(3) การก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ สาหร่ายทะเลอาจเป็นอันตรายสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ปลา หรือแพ้ไอโอดีน ซึ่งปริมาณไอโอดีนที่มีมากเกินไปในสาหร่ายทะเลอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ซึ่งหากมีอาการแพ้ปลาหรืออาหารทะเลควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทดสอบอาการแพ้ดังกล่าว (อ้างอิง
 

แหล่งโปรตีนพลังงานต่ำ ใยอาหาร แคลเซียม แมกนีเซียม เบต้าแคลโรทีน โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี และไอโอดีนตามธรรมชาติ (อ้างอิง)

สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวบางพันธุ์ สามารถสร้างพอลิแซ็กคาไรด์ได้สูง เหมาะจะใช้เป็นสารปรับปรุงดินจากสาหร่ายส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และการทำงานของจุลินทรีย์ในดิน รักษาความชุ่มชื้รของดิน ช่วยป้องกันการกัดเซาะผิวดินโดยน้ำ และการกัดกร่อนผิวดินโดยลม ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดิน (อ้างอิง)

สาหร่ายเกลียวทอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Spirulina spp. เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue green algae) ขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นทรงกระบอกต่อกัน และบิดตัวเป็นเกลี่ยวคล้ายสปริง สายพันธ์ที่พบมากที่สุดคือ Spirulina Platesis และ Spirulina maxima พบได้ตามธรรมชาติในน้ำจืดหรือน้ำที่มีความเป็นด่าง เจริญเติบโตด้วยการสังเคราะห์แสง และสืบพันธุ์โดยการาแบ่งเซลล์ (อ้างอิง)

มีวิตามิน A ในรูปแบบเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) ที่เป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (anti-oxidant) โดนกำจัดอนุมูลอิสระ ที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกเซลส์ของสิ่งมีชีวิต ทำให้เซลส์มีความแข็งแรง (อ้างอิง)

GLA (Gamma Lino leic Acids) เป็นกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า-6 ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมันในเซลล์ และทำให้เซลล์ไม่สะสมไขมันมากเกินไป (อ้างอิง)

(1) เนื้อมะขามทั้งฝักอ่อนและแก่ นำมาปรุงเป็นอาหาร ทั้งคาวและหวาน
(2) เมล็ดมะขาม ใช้ทำแป้ง กาว สีย้อมผ้า
(3) เปลือกของฝัก นำมาทุบให้เป็นเกล็ดเล็กๆ ใช้ผสมยาสูบพื้นเมือง ทำให้รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น
(4) ใบและยอดอ่อน ใช้ปรุงอาหาร
(5) เนื้อไม้มะขาม มีลักษณะแข็ง เหนียว และละเอียด จึงเหมาะสำหรับนำมาทำเขียง ตู้ เตียง (อ้างอิง)
 

สารเจลโลส (Jellose) จัดเป็นสารประเภทกัม (Gum) ชนิดหนึ่ง เมื่อนำมาละลายน้ำมีลักษณะเหนียวหนืด มีคุณสมบัติทำให้เกิดวุ้นได้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใย เครื่องสำอาง กระดาษ เป็นต้น (อ้างอิง)

มะขามเปียกใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ฝักอ่อนมีแคลเซียม และวิตามินซีสูง บำรุงกระดูก และช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน (อ้างอิง)  

เพราะเป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรที่มีจำนวนมากในท้องถิ่น เช่น เนื้อปลา เนื้อกุ้ง ผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยอาศัยกรรมวิธีการผลิตอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน (อ้างอิง)

(1) ข้าวเกรียบพร้อมบริโภค มีลักษณะเป็นแผ่นบาง กรอบ มีการพองตัวพอดีและสม่ำเสมอ ไม่มีชื้นที่ไหม้เกรียม อาจแตกหักได้เล็กน้อย
(2) ข้าวเกรียบดิบ มีลักษณะเป็นแผ่นบาง กรอบ อาจแตกหักได้เล็กน้อย (อ้างอิง)
 

เพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของข้าวเกรียบให้มีปริมาณโปรตีนสูงขึ้น (อ้างอิง)

ควรปล่อยให้ผลแก่เต็มที่แล้วร่วงหล่นจึงเก็บเกี่ยวเอาที่พื้น ไม่ควรเก็บบนต้น เพราะจะได้เมล็ดอ่อนไม่แก่เต็มที่ เมื่อเก็บมาแล้วให้บิดเมล็ดออกจากผลทันที เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำลายเมล็ด จากนั้นนำเมล็ดไปตากแดด 2-3 วัน ให้เมล็ดแห้งสนิท เพื่อเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสีย (อ้างอิง)

โปรตีน ร้อยละ 21 ไขมัน ร้อยละ 47 แป้ง ร้อยละ 22 และวิตามินอื่นๆ (อ้างอิง)

เนื่องจากผลสดมีปริมาณแทนนินอยู่ค่อนข้างสูง ทำให้มีรสฝาด อีกทั้งยังเน่าเสียได้ง่ายภายในเวลา 1 วัน (อ้างอิง)

เป็นของเหลวหรือยางที่สกัดมาจากเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม มีความหนืด ข้น และไม่ละลายน้ำ โดยเมื่อนำมาผสมหรือทำปฏิกิริยากับสารเคมีบางชนิดจะเกิดเป็นสารใหม่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมหนังสัตว์ อุตสาหกรรมผ้าเบรค คลัชรถยนต์ รวมถึงใช้เป็นส่วนผสมของสีเคลือบ น้ำมันวาร์นิช และกาวชนิดพิเศษ (อ้างอิง)   

ข้าวเหนียวขาว และข้าวเหนียวดำ (อ้างอิง)

เนื่องจากน้ำสมุนไพรชนิดต่างๆ ช่วยเพิ่มสี กลิ่น และรสชาติที่แปลกใหม่ รวมทั้ง ผู้บริโภคยังได้รับประโยชน์จากสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น ข้าวแต๋นน้ำขมิ้น ข้าวแต๋นน้ำตะไคร้ และข้าวแต๋นน้ำใบชะพลู (อ้างอิง)

เพื่อใช้สำหรับการอบแห้งแผ่นข้าวแต๋นดิบแทนการตากแดดจากแสงธรรมชาติ ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนโดยอาศัยปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) ทำให้อุณหภูมิภายในโรงอบแห้งสูงกว่าอุณหภูมิอากาศแวดล้อม ช่วยให้ความชื้นจากผลิตภัณฑ์ระเหยได้เร็วขึ้น ความชื้นที่ระเหยออกมาจะถูกพัดลมดูดอากาศ ซึ่งใช้ไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ดูดออกไปภายนอก ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเร็วกว่าการตากแดดตามธรรมชาติ อีกทั้ง ยังช่วยแก้ปัญหาการรบกวนของแมลง และความเสียหายจากการเปียกฝนอีกด้วย (อ้างอิง)

ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ และช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพได้เป็นอย่างดี (อ้างอิง)

หลาม เป็นลักษณะการถนอมอาหารแบบโบราณ โดยการนำอาหารใส่ลงไปในกระบอกไม้ไผ่ แล้วนำไปทำให้สุกด้วยการต้ม หรือเผา (ย่าง) เช่น ข้าวหลาม ปลากระบอก ดังนั้น หลามหมูยอ คือ การนำหมูยอใส่กระบอกไม้ไผ่ และนำไปนิ่งให้สุก ซึ่งเนื้อไม้จะทำให้หมูยอมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากขึ้น (อ้างอิง)

กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ซึ่งตามกฎของกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรฐานกำหนดว่า ต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (อ้างอิง)
 
สมุนไพรในรูปน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย โดยน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรเหล่านี้ ได้แก่ กระเพรา กระชาย ขิง ขมิ้น ตะไคร้ ตะไคร้หอม ใบมะกรูด ใบโหระพา และพริกไทยดำ ด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรมาใช้ทดแทนสารกันบูดในหมูยอได้ (อ้างอิง)
 

ลูกสำรอง เนื่องจากมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี เมื่อดูดซับน้ำจะพองตัวออกมีลักษณะเหมือนวุ้นยืดหยุ่นคล้ายไขมัน (อ้างอิง)

ขนมจีนแบ่งตามวิธีการผลิตออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
     (1) ขนมจีนแป้งหมัก เป็นขนมจีนที่นิยมบริโภคกันมาก ผลิตมาจากข้าวเจ้าที่หมักไว้ 2-3 วัน มีลักษณะเนื้อเหนียวนุ่ม สีคล้ำเล็กน้อย และมีกลิ่นหมัก
     (2) ขนมจีนแป้งสด เป็นขนมจีนที่ไม่ค่อยนิยมบริโภคกันมากนัก ผลิตมาจากแป้งสด ไม่มีการหมัก มีลักษณะเนื้อค่อนข้างกระด้าง สีขาว และไม่มีกลิ่นหมัก (อ้างอิง)
 

Staphylococcus aureus โดยทำให้ผู้บริโภคมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน และอาเจียนอย่างรุนแรงได้ภายในระยะเวลา 1-6 ชั่วโมง หลังจากรับประทาน (อ้างอิง)

เพื่อช่วยถนอมผลิตภัณฑ์ให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน และมีน้ำหนักเบา ทำให้สะดวกในการขนส่ง (อ้างอิง)

พันธุ์ข้าว แหล่งที่ปลูก วิธีการปลูก วิธีการสีข้าว และอายุการเก็บ (อ้างอิง)

3 ชนิด คือ งาขาว งาดำ และงาแดง โดยเมล็ดงาที่นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร และผลิตน้ำมันงา ได้แก่ งาขาว และงาดำ ส่วนงาแดงนิยมใช้อัดน้ำมัน (อ้างอิง)

น้ำมันงาสามารถนำมาใช้บำรุงเส้นผม ใช้นวดตัวเพื่อบำรุงผิวพรรณได้ดี รวมทั้งใช้เป็นส่วนผสมในการทำสบู่ โดยสบู่ที่ได้จะมีคุณภาพดี มีกลิ่นหอม นุ่มนวล และอุดมไปด้วยวิตามินอี (อ้างอิง

เนื่องจากงาดำมีสารสำคัญที่เรียกว่า เซซามีน (Sesamin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการสร้างไขมันสะสมในร่างกาย ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง รวมถึงสามารถช่วยป้องการถูกทำลายของตับในผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเกิดการสร้างไขมันในตับที่เรียกว่า Fatty liver (อ้างอิง)

ตะกั่ว ต้องไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสารหนู ต้องไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (อ้างอิง)

เพราะเส้นใยสับปะรดมีเส้นใยยาว และมีความเหนียวสูง จึงเหมาะสำหรับการนำมาทำกระดาษที่ต้องการคุณภาพสูง (อ้างอิง)  

มีอายุประมาณ 1-1.5 ปี เพราะถ้าอ่อนเกินไปเส้นใยที่ได้ก็จะไม่แข็งแรง และสั้น ส่วนใบที่แก่เกินไปเส้นใยที่ได้ก็จะหยาบ และแข็ง (อ้างอิง)

น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากเยื่อสีน้ำตาลที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าวที่ได้จากกระบวนการสีข้าว เรียกว่า "รำข้าว" ซึ่งเป็นส่วนประกอบเพียง 7-8% ของข้าวแต่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ (C20)

สารโอรีซานอลมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และมีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินอี หลายเท่า มีสรรพคุณช่วยลดคอสเรสเตอรอลและลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง และยังมีสารประกอบที่มีประโยชน์อื่นๆ เช่น วิตามินอี บี เบต้าแคโรทีน และเลซิติน (A4)

ไฟโตนิวเทรียนท์ (เช่น โอรีซานอล ไฟโตสเตอรอล และวิตามินอี)มีคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล สามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง ต้อกระจก และยังช่วยให้ผิวพรรณไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป เป้นต้น (A13)

- มีจุดกำเนิดควันสูง ทำให้ใช้ประกอบอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงได้ดี
- ทนต่อความหืนสูง จึงสามารถเก็บไว้ได้นาน
- มีความหนืดน้อย ทำให้ไม่ดูดซึมเข้าสู่อาหารมาก อาหารจึงมีปริมาณแคลลอรี่ต่ำ
- ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำสลัด หรือเดรสซิ่งให้รสสัมผัสที่ดี (A14)

เนื่องจากน้ำมันรำข้าวบีบเย็นอุดมไปด้วยวิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ซึ่งช่วยป้องกันริ้วรอย ลดความเหี่ยวย่นของผิว และชะลอความแก่ (อ้างอิง)

ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) หรือแพลนท์ สเตอรอล (Plant sterol) ซึ่งเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) หรือสเตอรอลที่ได้จากพืช จัดเป็นสารธรรมชาติในกลุ่มของไตรเทอร์ฟีน (Triterpene) มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันจากการเหนี่ยวนำการเกิดเซลล์มะเร็ง (อ้างอิง)

น้ำ 10.8 กรัม
โปรตีน 14.3 กรัม
ไขมัน 22.8 กรัม
เส้นใยอาหาร 9.2 กรัม
เกลือแร่ 9.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 33.7 กรัม
2 ชนิด ได้แก่ น้ำมันรำมันที่ผ่านกรรมวิธี และน้ำมันรำข้าวบีบเย็น
กรดไขมันอิ่มตัว : กรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว : กรดไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน = 1 : 1.5 : 1

จุดที่ก่อให้เกิดควัน หรือ อุณหภูมิที่น้ำมันประกอบอาหารเริ่มกลายเป็นควัน และเริ่มเสื่อมสลายคุณค่าทางโภชนาการและกลิ่นรส (เอกสารอ้างอิง C20)

เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ เมื่อนำมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในยาสระผมสามารถช่วยระงับการเจริญของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของการเกิดรังแค และมีอาการคันหนังศีรษะได้ดี (อ้างอิง)

มีคุณสมบัติช่วยในการผ่อนคลายความเครียด แก้วิงเวียนศีรษะ มีกลิ่นหอมเย็น สามารถใช้ระงับกลิ่นอับในห้องน้ำ ห้องนอน ตู้เสื้อผ้า และในรถยนต์ (อ้างอิง)

สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งเก็บกักพลังงานจากธรรมชาติ ได้แก่ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด (อ้างอิง)

(1) ช่วยสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
(2) ลดปัญหาขยะ
(3) ลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า (อ้างอิง
 

ทำให้จานรองแก้วตกหล่นไม่แตก ลดเสียงรบกวนจากการกระทบระหว่างจานรองแก้วกับภาชนะเซรามิก รวมทั้งยังช่วยป้องกันความร้อนจากแก้วกาแฟ หรือแก้วน้ำร้อนได้ดี ทำให้ผู้ใช้สามารถถือได้สะดวกและไม่ลื่นมืออีกด้วย (อ้างอิง)

วิธี Graft copolymerization โดยการนำพอลิเมอร์ชนิดอื่นมากราฟต์ลงบนโมเลกุลของยางธรรมชาติ ทำให้ยางธรรมชาติสามารถใช้งานได้หลากหลายขึ้น (อ้างอิง

เพื่อช่วยป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยที่ขยับตัวไม่ได้ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ยางพารา และลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์จากต่างประเทศ (อ้างอิง)

จั่นมะพร้าว โดยจั่นมะพร้าวที่ใช้ทำน้ำตาลมะพร้าว ควรเลือกขนาดพอเหมาะ ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป (อ้างอิง)

สารฟอกขาวกลุ่มของสารซัลไฟต์ โดยอนุญาตให้ใช้สารฟอกขาวกลุ่มนี้ในระดับที่มีปริมาณการตกค้างของซัลเฟอร์ไดออกไซต์ (SO2) ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (อ้างอิง

สารสำคัญในน้ำตาลมะพร้าว คือ โปแทสเซียม โดยน้ำตาลมะพร้าวปริมาณ 100 กรัม มีโปแทสเซียมประมาณ 1,030 มิลลิกรัม น้ำตาลทรายแดงมี 6.5 มิลลิกรัม และน้ำตาลทรายขาวมี 2.5 มิลลิกรัม
มีบทบาทในการลดความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับโคเลสเตอรอลและน้ำหนักตัว น้ำตาลมะพร้าว 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 15 แคลอรี (น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 20 แคลอรีและไม่มีคุณค่าทางโภชนาการอยู่เลย)
น้ำตาลมะพร้าวมีค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index; GI)  อยู่ในระดับ ต่ำ คือ 35 จึงทำให้ระดับน้าตาลในเลือดไม่สูงขึ้นเร็วเมื่อรับประทาน และร่างกายไม่ต้องหลั่งอินซูลินออกมามากเพื่อกวาดน้ำตาลออกไปจากกระแสเลือด (การมีอินซูลินในเลือดมากๆ จะทำให้ระดับน้าตาลลดลงมากเกินไป)

กากน้ำตาลเป็นผลผลิตพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทราย มีลักษณะเป็นของเหลวข้นไม่ตกผลึก สีน้ำตาลไหม้ โดยการผลิตน้ำตาลทรายจะได้กากน้ำตาลเป็นผลผลิตพลอยได้ประมาณร้อยละ 4-6 ของอ้อยที่ใช้ผลิต (อ้างอิง)

เนื่องจากส่วนประกอบของกากน้ำตาลมีน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ และมีโปรตีนอยู่บ้างเล็กน้อย จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย แอลกอฮอล์ ยีสต์ ผงชูรส น้ำส้มสายชู และอาหารสัตว์ (อ้างอิง)

เพราะช่วยลดการซื้อน้ำมันดิบจากต่างประเทศ สามารถใช้เป็นพลังงานในรูปเชื้อเพลิงสำรองหากเกิดกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษทางอากาศจากท่อไอเสียรถยนต์ด้วย (อ้างอิง

จะได้ปริมาณแอลกอฮอร์ต่ำ เนื่องจากมีการสะสมของบักเตรีแลคโตบาซิลลี่ ซึ่งเป็นตัวสร้างกรดและก๊าซจำนวนมาก เจริญเติบโตเป็นเส้นสายยาวสานกันเป็นร่างแหจับเซลล์ยีสต์ที่ก้นถัง ทำให้เซลล์ยีสต์มีจำนวนลดลงและหยุดหมักก่อนกำหนด เป็นสาเหตุให้น้ำตาลเหลือจากการหมักตกค้างอยู่มาก (เอกสารอ้างอิง)
 
1.  ใช้ยาปฏิชีวนะใส่ลงในถังกล้าเชื้อ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของบักเตรี (ในกรณีที่บักเตรีมีไม่มากนัก)
2. เมื่อมีบักเตรีแปลกปลอมเกิดขึ้น การปรับ pH ของน้ำส่าในถังกล้าเชื้อและถังหมักใหญ่เฉพาะช่วงที่มีการหมัก ก็จะช่วยลดจำนวนบักเตรีแปลกปลอมลงได้
3.  ทดลองใช้กากน้ำตาลทรายชนิดที่มีเปอร์เซ็นน้ำตาลสูงและสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยไม่มีการเหมาะสมของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดจากการหมักจะให้ผลดีมาก กล่าวคือจะได้ผลผลิตแอลกอฮอล์สูงสุด 9.8% โดยปริมาตรภายใน 72 ชั่วโมง 

สายพันธุ์ชะนี สายพันธุ์กระดุมทอง สายพันธุ์หมอนทอง และสายพันธุ์ก้านยาว (อ้างอิง)

สีขาว ทำให้สามารถมองเห็นได้ง่ายในตอนกลางคืน (อ้างอิง)

(1) ช่วยลดปริมาณขยะทางการเกษตร 
(2) สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้ง 
(3) ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม (อ้างอิง)  
 

เป็นบะหมี่ที่ปราศจากกลิ่นทุเรียน ทำให้ผู้บริโภคที่ไม่ชอบกลิ่นทุเรียนสามารถรับประทานได้ รวมทั้ง เส้นบะหมี่จะนุ่ม มีสีเหลืองน่ารับประทาน และมีเส้นใยสูง (อ้างอิง)  

บรรจุภัณฑ์ที่ละลายน้ำได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง (อ้างอิง)

อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 150 องศาเซลเซียส ในเวลาไม่เกิน 25 นาที (อ้างอิง

สารยับยั้งเอทิลีน 1-Methylcyclopropene (1-MCP) โดยสามารถยืดอายุระยะเวลาการสุกของผลทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง

น้ำส้มไม้หรือน้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar or Pyroligneous) เป็นชื่อที่ใช้เรียกน้ำที่ได้จากการกักเก็บควัน ในระหว่างกระบวนการเผาถ่านแบบจำกัดอากาศ  ความร้อนจากเปลวไฟจะขับความชื้น และสารเคมีต่างๆ ในเนื้อไม้ออกมา ปล่อยแก๊ส (ควัน) ที่มีกลิ่นไหม้ซึ่งเกิดจากการแยกสลายด้วยความร้อน  (Pyrolysis) เมื่อผ่านความเย็นจะรวมตัวกลั่นเป็นของเหลว (liquor) ที่มีสำตาลอ่อนปนแดง จึงเรียกว่าน้ำส้มควันไม้ (A5)

องค์ประกอบในเนื้อไม้ที่สำคัญของน้ำส้มควันไม้มี 3 กลุ่มดังนี้  (A5)
1. เซลลูโลส (Cellulose) เป็นพอลิเมอร์สายยาวของกลูโคส (Glucose) เมื่อสลายตัวจะให้น้ำและ สารในกลุ่มคาร์บอกซิล และ ชคาร์บอนิล (Carbonyl)
2. เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) เป็นโพลิเมอร์ที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลที่มี 5 อะตอมคาร์บอน เช่น อาราบิโนส (Arabinose) และไซโรส (Xylose) รวมทั้งน้ำตาล 6 คาร์บอนอะตอม เช่น กลูโคส แมนโนส (Mannose) และกาแลคโทส (Galactose)
3. ลิกนิน (Lignin) เป็นโพลิเมอร์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐาน ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอลิก โดยจะเป็นการผสมกันของกลุ่มฟีนิลโพรเพนที่มีหมู่ไฮดรอกซีและหมู่เมทอกซี เมื่อสลายตัวจะให้สารฟีนอลและอนุพันธ์ของฟีนอล
ด้านโภชนาการ : ใช่เป็นสารแต่งกลิ่นควันในอาหาร
ด้านอุตสาหกรรม : ใช้ดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ครัว และบริเวณที่ชื้นแฉะ และใช้เป็นสารป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและปลวก
ด้านปศุสัตว์ : ลดกลิ่นและไล่แมลงในฟาร์มปศุสัตว์ และสามารถใช้ผสมในอาหารเพื่อช่วยในการย่อย
ด้านการเกษตร : ใช้ในการปรับปรังหน้าดิน, สารเร่งการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด, ใช้เป็นสารไล่แมลงศัตรูพืช และใช้ควบคุมโรคพืชจากไส้เดือนฝอยและเชื้อรา
 

น้ำส้มควันไม้เป็นของเหลวใสสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นควันไฟ เป็นกรดอ่อน มีค่า pH 2-3 (อ้างอิง A14)

- อุณหภูมิที่ปากปล่องเตา 80-150 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตา 300-400 องศาเซลเซียส (อ้างอิง A5)

เพราะน้ำมันดินที่เกิดในช่วงอุณหภูมิเกิน 400  องศาเซลเซียสจะสลายตัวเป็นสารก่อมะเร็งออกมา เช่น สาร 3,4-Benzopyrene และ 1,2,5,6-Dibensanthracene-metylcholinsrene (อ้างอิง A5)

1) เซลลูโลส (Cellulose) เกิดเป็นน้ำและสารในกลุ่มคาร์บอนิล (Carbonyl) และคาร์บอกซิล (Carboxyl)
2) เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) ให้สารในกลุ่มอนุพันธ์ฟูแรน (Furan derivatives) และกรดอินทรีย์อะลิฟาตทิก (Aliphatic organic compounds)
3) ลิกนิน (Lignin) ให้สารในกลุ่มฟีนอล และอนุพันธ์ของฟีนอล 
1) เป็นสารป้องกันและขับไล่ศัตรูพืช 
2) ใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณรสชาติของผักแลพผลไม้ และกระตุ้นการเจริญของพืชและเมล็ดพืช
3) การใช้เป็นสารลดกลิ่นเหม็น และสารดูดซับ
4) ใช้เป็นสารบำรุงดินในการเพาะปลูก
5) ใช้เป็นสารอาหารเสริมสำหรับเลี้ยงสัตว์
6) ใช้เป็นสารป้องกันและกำจัดปลวกและมด
7) ใช้เป็นสารดูดซับสารพิษจากร่างกาย
8) ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นควันในอาหาร 
9) ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์
10) ใช้ในอุตสาหกรรมยางพารา 
 
แบ่งออกเป็นตามอุตสาหกรรม ดังนี้
ด้านโภชนาการ : ใช่เป็นสารแต่งกลิ่นควันในอาหาร
ด้านอุตสาหกรรม : ใช้ดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ครัว และบริเวณที่ชื้นแฉะ และใช้เป็นสารป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและปลวก
ด้านปศุสัตว์ : ลดกลิ่นและไล่แมลงในฟาร์มปศุสัตว์ และสามารถใช้ผสมในอาหารเพื่อช่วยในการย่อย
ด้านการเกษตร : ใช้ในการปรับปรังหน้าดิน, สารเร่งการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด, ใช้เป็นสารไล่แมลงศัตรูพืช และใช้ควบคุมโรคพืชจากไส้เดือนฝอยและเชื้อรา
2 ประเภท 
1) เชื้อเพลิงเขียว (Green Fuel)
2) ถ่านอัดแท่ง (Charcoal Briquette)
มาจากการนำเศษวัสดุชีวมวล เศษวัชพืชหรือเศษวัสดุที่เหลือจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรมการเกษตร (ทั้งสดหรือแห้ง) เช่น ชานอ้อย ผักตบชวา กะลาปาล์มกะลามะพร้าว ฯลฯ มาอัดขึ้นรูป ให้มีความหนาแน่นมากขึ้นและมีลักษณะเป็นแท่ง การอัดแท่งจะใช้วิธีอัดเย็น อาศัยตัวประสานและความเหนียวของยางในวัสดุเหล่านั้นเป็นตัวประสาน (เอกสารอ้างอิง A7)
 
2 ชนิด คือ 
1) ตัวประสานมราเผาไหม้ได้ เช่น ยางธรรมชาติ น้ำมันดิบ มูลสัตว์ สาหร่ายและแป้ง เป็นต้น
2) ตัวประสานมราเผาไหม้ไม่ได้ เช่น โคลน ดินเหนียว และเลน เป็นต้น 
ประโยชน์ทางตรง
1) ใช้เป็นพลังงานทดแทนฟืนและถ่าน ทั้งในแง่ความร้อน และคุณสมบัติอื่นๆ ในครัวเรือน 
2) ค่าใช้จ่ายถูก ประหยัดเงิน เวลา และแรงงาน
3) สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมการเกษตร วัชพืช มาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า 
ประโยชน์ทางอ้อม 
1) ลดการบุกรุกทำงายป่า
2) ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและรู่คุณค่า 
คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น กะลามะพร้าว กะลาปาล์ม ซังข้าวโพด มาเผาจนเป็นถ่าน อาจนำมาบดเป็นผงหรือเม็ดและอัดเป็นแท่งตามรูปทรงที่ต้องการ (เอกสารอ้างอิง A7)

น้ำใด ๆ จากแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีแร่ธาตุบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายละลายอยู่ อันแสดงถึงคุณสมบัติเฉพาะสำหรับแหล่งน้ำแร่นั้นๆ (เอกสารอ้างอิง)

น้ำแร่ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุขต้องมีคุณสมบัติทางเคมี ทางกายภาพ และคุณสมบัติทางจุลินทรีย์ เป็นไปตามมาตรฐานน้ำบริโภค (ฉบับที่ 61 พ.ศ.2524 :
น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้อง) และต้องไม่พบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้แก่ สารประกอบฟีนอล สารกำจัดศตรูพืชและสัตว์
สารโพลีคลอริเนต ไบฟีนอล สารลดแรงตึงผิว น้ำมันแร่ โพลินิวเคลียร์อะโรแมติคไฮโดรคาร์บอน เบต้าแอคติวิตี้ ยกเว้นโพแทสเซียม-40 และไฮโดรเจน 3
ต้องไม่เกิน 1 พิโคคิวรีต่อน้ำแร่ 1 ลิตร (เอกสารอ้างอิง)
ฟลูออไรด์เป็นสารประกอบที่มีในธาคฟลูออรีน เป็นสารประกอบสำคัญที่ช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ป้องกันหรือลดการเกิดฟันผุได้ (เอกสารอ้างอิง)
- ฟันตกกระหากเด็กได้รับในช่วงที่ฟันแท้ไม่สมบูรณ์
- กระดูกมีรูปร่างผิดปกติ กระดูกพรุน(เปราะหักง่าย) หากเป็นมากอาจถึงขั้นอัมพาตได้
- นิ่วทางเดินปัสวะและไตวาย
ปริมาณฟลูออไรด์ความเข้มข้น 1 ppm (part per million=ส่วนในล้านส่วน) เป็นระดับเหมาะสมที่สุด (Most Appropriate) ลดการเกิดฟันผุได้ดีที่สุดนขณะที่ไม่ก่อให้เกิดฟันตกกระ

ใช้เป็นสีย้อมด้าย ย้อมผ้า หรือจำนำยางกล้วยมาเขียนลวดลายบนผ้าแทนสีเขียนผ้า จะให้สีน้ำตาลที่ไม่ตกไม่ลอก และทนทานใช้งานได้นาน อีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยา ช่วยบรรเทาอาการบวมจากพิษแมลงกัดต่อย ช่วยห้ามเลือดและช่วยสมานแผลสด (อ้างอิง)

วิธีที่ 1 การฝานกระชายดำเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำไปตากแดดหรืออบให้แห้ง 
วิธีที่ 2 ปอกเปลือกแล้วนำไปนึ่งประมาณ 15 นาที 
คุณสมบัติทางเคมี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 
กลุ่ม 1 น้ำมันหอมระเหย ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง 
กลุ่ม 2 เป็นสารเมคที่อยู่ในยาง (resin) ซึ่งประกอบด้วย carboxy acid phanole ช่วยเกี่ยวกับกสนขับถ่ายปัสสาวะ และรักษาไข้

3 ชนิด ได้แก่ กระชายเหลือง กระชายแดง และกระชายดำ  (อ้างอิง)

กระชายดำ มีลักษณะเหมือนกระชายเหลือง และกระชายแดง แต่กระชายดำจะต้นเตี้ยกว่า สูงสุดประมาณ 30 เซนติเมตรเท่านั้น ขอบใบรวมทั้งด้านหลังของใบ และก้านใบจะออกเป็นสีม่วง และดอกเป๋นสีขาวปนม่วง ดอกจะออกหลายครั้งสามารถปลูกในกระถางได้   (อ้างอิง)