ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

 

ชื่อท้องถิ่น  :  ปะหูด มะหูด (อีสาน) ประโฮด (เขมร) มะนู ตะพูด จําพูด พะวาใบใหญ่ ส้มปอง ส้มม่วง มะพูด (ปัตตานี)

ลักษณะ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบ เป็นใบเดี่ยว เนื้อใบหนา เรียบ ผิวมัน มีสีเขียวเข้ม รูปใบเป็นรูปหอก ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ก้านสั้น กลีบดอกเป็นทรงกลมหนา มีสีขาวแกมเหลือง หรือ ขาวแกมเขียว ผลเป็นทรงกลม เรียบ ผิวมัน ผลดิบมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีส้ม มีรสเปรี้ยวอมหวาน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนให้สี : เปลือก
 
การย้อมสีเส้นไหม เส้นด้าย โดยใช้มะพูด
ใช้แก่นต้นมะพูด ดำเนินการเช่นเดียวกับการย้อมด้วยไม้เข โดยใช้สารส้มเป็นตัวช่วยติดสีจะได้สีเหลืองอ่อนกว่าสีเหลืองจากการย้อมด้วยเข

 แก่นต้นมะพูด    แก่นมะพูดที่ผ่าเป็นซี่เล็กๆก่อนนำไปแช่น้ำ

  

แก่นมะพูดแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน                               น้ำย้อมมะพูดที่ใส่สารส้มเป็นตัวช่วยติดสี           

    

การย้อมเส้นฝ้าย/ไหม ด้วยน้ำย้อมมะพูดที่ใส่สารส้มเป็นตัวช่วยติดสี จะได้เป็นสีเหลืองอ่อน