ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
หลักการทำงานของน้ำยาปรับผ้านุ่ม (mechanism of fabric softener)
              ผงซักฟอกมีสารลดแรงตึงผิวชนิดที่มีประจุลบ (anionic) ช่วยให้ผ้าสะอาด  หลังจากนั้นประจุจะถูกผลักออกไปโดยประจุลบของผ้า สารออกฤทธิ์ของน้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นสารประกอบไดสเตียริล ไดเมทิล แอมโมเนียมคลอไรด์ (distearyl dimethyl ammonium chloride) ที่ไม่ละลายน้ำแต่ปรากฏในรูปของถุงน้ำเล็กๆ (vesicle) ที่มีโครงสร้าง  2 ชั้นอยู่ในน้ำ  สารออกฤทธิ์ของน้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุบวก(cationic surfactant) เมื่อสารลดแรงตึงผิวนี้ลอยอยู่บนผิวหน้าของของเหลว  แรงตึงผิวก็จะลดลงและแตกตัวเป็น 2 ส่วน ส่วนของไขมันชนิดไฮโดรคาร์บอน (fatty hydrocarbon) ที่มีโมเลกุลเป็นไอออนประจุบวก  มีลักษณะเป็นสายโซ่ยาวๆ ที่ไม่ชอบน้ำ (hydrophobic chains) ชี้ออกด้านนอกและมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันเหมือนสารหล่อลื่นเป็นส่วนที่ไปเคลือบ (lubricate) เส้นใยของผ้าและติดกับผ้า เป็นส่วนที่มีพลังมากที่สุด ส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic) มีประจุลบและเป็นส่วนที่ทำให้สารประกอบนี้กระจายตัวในน้ำ  ผ้าส่วนใหญ่มีประจุลบจึงดูดประจุบวกของน้ำยาปรับผ้านุ่มและเกาะติดกันอย่างหนาแน่นบนผิวผ้า  หลังจากการเติมน้ำยาปรับผ้านุ่มระหว่างกระบวนการล้างผ้า
              สารประกอบควอเทอนารีแอมโมเนียมเหล่านี้จะถูกนำ ไปใช้กับครีมนวดผมและแชมพูเพื่อทำให้ผมนุ่มและลดปัญหาไฟฟ้าสถิต โดยจะเคลือบและทำให้ผมลื่น  ความเป็นจริงแล้วสารประกอบควอเทอนารีแอมโมเนียมสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เนื่องจากสามารถเคลือบแบคทีเรียและทำให้เรียบ สารประกอบเหล่านี้จะไปทำให้เอนไซม์บางอย่างในแบคทีเรียไม่ทำงานและทำให้การทำงานของระบบเมแทบอลิซึม (metabolisms)    เสียไป  ซึ่งยาแก้ไอและน้ำยาบ้วนปากบางชนิดก็ใช้สารประกอบของควอเทอนารีแอมโมเนียมในการฆ่าเชื้อโรค