ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       กระดาษเป็นคำแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Paper มีรากศัพท์มาจากคำว่า Papyrus หรือต้นปาปิรัส ที่ชาวอียิปต์นำมาบันทึกเรื่องราวต่างๆ ให้ชาวโลกได้รับทราบประวัติและวัฒนธรรมของอียิปต์อย่างแพร่หลาย ส่วนในประเทศไทยสันนิษฐานว่า กระดาษถูกนำเข้ามาครั้งแรกโดยชาวโปรตุเกสในสมัยก่อนอยุธยา เพราะคำว่ากระดาษเป็นคำที่แปลงมาจากภาษาโปรตุเกสว่า Cartas ซึ่งแปลว่า กระดาษ คำว่ากระดาษจึงติดปากและใช้กันมาตั้งแต่สมัยนั้น กระดาษเป็นแผ่นวัสดุบางที่ผลิตมาจากเส้นใย (Fiber) ผสมกับสารเติมแต่ง (Adhesive) ต่างๆ ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป เส้นใยที่ใช้ในการผลิตกระดาษอาจเป็นเส้นใยสัตว์ เส้นใยพืช เส้นใยแร่ หรือเส้นใยสังเคราะห์ก็ได้ แต่เส้นใยพืชจัดเป็นวัตถุดิบสำคัญที่สุดในการทำกระดาษ ซึ่งพืชที่เหมาะจะนำมาทำกระดาษควรจะมีปริมาณเส้นใยมาก และมีลักษณะเส้นใยยาว โดยสามารถจำแนกตามแหล่งที่มาออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

       1. พืชยืนต้น (Wood) แหล่งเส้นใยแบ่งตามขนาดความยาวของเส้นใยได้เป็น 2 ประเภท คือ 
              (1) ไม้เนื้ออ่อน (Soft wood) เป็นพืชยืนต้นจำพวกสน (Coniferous) โดยทั่วไปมีใบเป็นรูปแข็ม เช่น ต้นสนสปรูซ (Spruce) ไพน์ (Pine) และเฟอร์ (Fir) ในประเทศไทยมีเพียง 2 ชนิด คือ สนสองใบ และสนสามใบ 
              (2) ไม้เนื้อแข็ง (Hard wood) เป็นพืชยืนต้นพวกไม้ผลัดใบ (Deciduous) ซึ่งโดยทั่วไปมีใบกว้าง เช่น ยูคาลิปตัส (Eucalyptus) เบิร์ช (Birch) และไม้ใบกว้างต่างๆ ในประเทศไทย ยกเว้นไม้บางชนิดในเขตอบอุ่น เช่น สนทะเล 
       2. พืชล้มลุก (Non-wood) แหล่งเส้นใยจากพืชล้มลุกสามารถแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ 
              (1) ส่วนที่เหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว (Rice straw) ชานอ้อย (Bagasse)
              (2) พืชที่ปลูกชึ้นหรือเกิดขึ้นเอง เช่น ต้นไผ่ (Bamboo) ผักตบชวา (Water hyacinth)
              (3) เส้นใยจากพืชผลที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ได้แก่
                    - เส้นใยจากเปลือกในและลำต้น เช่น ปอสา (Paper mulberry) กระเจี๊ยบ (Okra) เดื่อ (Fig) หม่อน (Mulberry) 
                    - เส้นใยจากใบหรือกาบใบของลำต้นเทียม เช่น ใบสับปะรด (Pine apples) กล้วย (Banana)
       การผลิตกระดาษเชิงหัตถกรรมจากวัตถุดิบในท้องถิ่นกำลังได้รับความสนใจจากชุมชนต่างๆ เนื่องจากเป็นการนำวัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เช่น เปลือกปอสา ใบสับปะรด ชานอ้อย ผักตบชวา ฟางข้าว เป็นต้น โดยใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ซับซ้อน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และสามารถพัฒนาสินค้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP
                                                                    เปลือกปอสา                                                                                       ใบสับปะรด
 
                                                                   
 
                                      (ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?                              (ที่มา : http://www.xn--22c6buahm7b6c3b8g.com/                                                                      mag_id=1&group_id=3&article_id=29&by_pass=)                             wp-content/uploads/2013/02/leaf-pineapple.png)
 
       กระบวนการผลิตกระดาษเชิงหัตถกรรมประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
       1. การเตรียมวัตถุดิบ เริ่มจากการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ได้แก่ ปอสา ใบสับปะรด กาบกล้วย ผักตบชวา และฟางข้าว มาแยกสิ่งสกปรกออก เช่น ดิน ทราย และส่วนของพืชที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ในการผลิตออกจากวัตถุดิบที่จะใช้ต้มเยื่อ แล้วล้างน้ำให้สะอาดก่อนนำไปต้ม ทั้งนี้ อาจนำวัตถุดิบไปแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ปริมาณร้อยละ 1-2 ของน้ำหนักวัตถุดิบอบแห้ง 1 คืน เพื่อช่วยให้การต้มเยื่อมีประสิทธิภาพดีขึ้น
       2. การต้มเยื่อ นำวัตถุดิบที่คัดเลือกแล้วไปผ่านกระบวนการต้มเยื่อด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ต้มเยื่อนานจนกระทั่งวัตถุดิบเปื่อยยุ่ย และแยกออกจากกัน โดยระยะเวลาในการต้ม ปริมาณสารเคมี และปริมาณน้ำที่ใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาผลิตเยื่อ สภาวะการผลิตเยื่อแสดงดังตาราง
 

ชนิดของวัตถุดิบ

เปลือกปอสา

ผักตบชวา

กาบกล้วย

ใบสับปะรด

ฟางข้าว

น้ำหนักวัตถุดิบอบแห้ง (กรัม)

1,000

ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์

(ร้อยละของน้ำหนักวัตถุดิบอบแห้ง)

8-10

8-12

8-12

10-16

8-12

เวลาที่ใช้ในการต้มที่อุณหภูมิ

100 องศาเซลเซียส (ชั่วโมง)

2-3

อัตราส่วนระหว่างวัตถุดิบต่อน้ำ

(น้ำหนัก/น้ำหนัก)

1 : 10

1 :15-20

1 : 15

1 : 15-20

1 : 15-20

 
                                       (ที่มา : ประกิต, 2551)
เมื่อวัตถุดิบที่ต้มเปื่อยยุ่ยแล้วเทน้ำดำออกจากหม้อต้มเยื่อ นำเยื่อที่ได้ไปล้างน้ำให้สะอาดจนน้ำด่างออกหมด จะได้เยื่อไม่ฟอกที่มีสีค่อนข้างคล้ำออกน้ำตาลไปถึงเข้มขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ แล้วนำเยื่อที่ล้างสะอาดแล้วไปกระจายตัวในเครื่องกระจายเยื่อ เพื่อให้เส้นแยกออกจากกันได้ดี ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
 
                       
 
(ที่มา : กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2560)
 
       3. การฟอกเยื่อ เยื่อที่ได้ในขั้นตอนแรกจะมีสีค่อนข้างคล้ำ เมื่อนำไปทำกระดาษหรือผลิตภัณฑ์กระดาษจะมีข้อจำกัด เนื่องจากไม่สามารถย้อมสีให้ดูสวยงามได้หลากหลาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำเยื่อที่ได้ไปผ่านการฟอกเยื่อให้ขาว กระบวนการฟอกที่ใช้จะเป็นการฟอกแบบขั้นตอนเดียว โดยใช้สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นน้ำยาฟอกเยื่อ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
       4. การปรับปรุงคุณสมบัติของเยื่อกระดาษ การปรับปรุงคุณภาพเยื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับนำไปผลิตเป็นแผ่นกระดาษจะใช้วิธีการนำเยื่อไปบดในเครื่องบดเยื่อ เยื่อที่ผ่านการบดแล้วจะให้เส้นใยที่มีการอ่อนตัวสูง ทำให้สามารถสร้างพันธะระหว่างเส้นใยได้ดี ซึ่งเมื่อนำเยื่อที่ผ่านการบดแล้วไปผลิตเป็นแผ่นกระดาษ จะได้กระดาษที่มีความแข็งแรงกว่าเยื่อที่ไม่ผ่านการบด ในกรณีที่ต้องปรับปรุงสมบัติกระดาษให้มีสมบัติมากกว่าที่มีอยู่โดยธรรมชาติตามศักยภาพของเส้นใย เช่น ต้องการให้กระดาษมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น หรือมีความต้านทานการซึมน้ำได้ดี สามารถทำได้โดยการใส่สารเติมแต่ง ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง ชันสน และสารส้ม ลงไปผสมกับน้ำเยื่อที่ผ่านการบดแล้วในเครื่องบดเยื่อผสมให้เข้ากันดี แล้วจึงนำไปขึ้นรูปเป็นกระดาษภายหลัง
       5. การย้อมสีเยื่อกระดาษ  หากต้องการผลิตกระดาษเชิงหัตถกรรมให้มีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน และสีฟ้า ต้องนำเยื่อไปย้อมสีก่อนนำไปทำแผ่นกระดาษ การย้อมสีทำได้โดยการนำผงสีไปละลายน้ำ แล้วนำเยื่อที่ต้องการย้อมสีใส่ลงไปในน้ำสีที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน การย้อมสีอาจย้อมในเครื่องบดหรือภาชนะอื่นก็ได้ แต่การย้อมในเครื่องบดจะทำให้ในปริมาณมาก และทำให้สีติดเส้นใยได้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกันอย่างทั่วถึง
       6. การทำแผ่นกระดาษ โดยเป็นการแยกเยื่อและน้ำออกจากกัน เมื่อน้ำแยกออกจากเยื่อแล้วเส้นใยในเยื่อจะประสานตัวยึดติดกันเป็นแผ่นตามขนาดของตะแกรงกรอบไม้ที่ใช้ผลิต ในขั้นตอนนี้จะได้แผ่นกระดาษเปียก หรือเรียกว่า แผ่นเปียก การนำเยื่อมาขึ้นรูปเป็นแผ่นกระดาษเชิงหัตถกรรมสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
              (1) การทำแผ่นกระดาษแบบช้อน หรือแบบตัก วิธีนี้เหมาะสำหรับการผลิตกระดาษบาง มีข้อดีคือ สามารถผลิตได้รวดเร็วครั้งละมากๆ เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาปรับความสม่ำเสมอของกระดาษทีละแผ่น เพราะน้ำเยื่อที่ใช้จะมีความข้นค่อนข้างต่ำ และภาชนะที่ใช้เป็นอ่างผสมเยื่อค่อนข้างใหญ่ การตักเนื้อเยื่อในการทำแผ่นกระดาษแต่ละครั้งจึงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความข้นของน้ำเยื่อมากนัก และสามารถตักได้ต่อเนื่องครั้งละหลายแผ่น
              (2) การทำแผ่นกระดาษแบบแตะ เป็นการทำกระดาษอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้กระดาษแต่ละแผ่นมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน เริ่มด้วยการชั่งน้ำหนักเยื่อที่จะใช้ผลิตกระดาษ เพราะต้องควบคุมให้การผลิตกระดาษในแต่ละรุ่นมีน้ำหนักตามมาตรฐานในระดับเดียวกัน ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขาย และที่สำคัญสามารถสร้างมาตรฐานของน้ำหนักกระดาษที่ซื้อขายในท้องตลาดได้ ส่วนใหญ่ขนาดของกระดาษที่ขายทั่วไปจะมีขนาด 55 x 80 เซนติเมตร 
 
                        
 
(ที่มา : กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2560)
 
       7. การตากแห้งและการลอกแผ่นกระดาษ แผ่นกระดาษหลังจากผ่านการช้อนหรือแตะแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง โดยวางตะแกรงหันหลังพิงกันไม่ให้ล้ม ชุดการพิงกันอาจเป็น 2 ตะแกรง หรือ 4 ตะแกรง ก็ได้ การตากแผ่นกระดาษจะแห้งช้าหรือเร็วนั้น นอกจากความเข้มของแสงแดดแล้ว การวางมุมของตะแกรงในขณะตากก็สำคัญ มุมตะแกรงที่เหมาะสมควรทำมุม 70 องศา กระดาษจะแห้งเร็วที่สุด เพราะน้ำที่อยู่ในกระดาษไหลเร็วกว่าตะแกรงที่วางเอียงทำมุมน้อยกว่า และหลังจากตากแห้งแล้วนำมาลอกแผ่นออกจากตะแกรง โดยแกะขอบที่มุมบนก่อน ให้ขอบด้านบนหลุดออกเป็นแนวประมาณ 2 นิ้ว ใช้มือซ้ายจับตะแกรงไว้ ใช้ฝ่ามือขวาแซะไปตามแนวกระดาษเรื่องๆ ก็จะได้กระดาษที่ไม่ยับย่น ไม่ขาด นำไปเก็บเป็นชุดๆ ไว้ในถุงพลาสติก หรือวางซ้อนและผูกเป็นมัดๆ เพื่อจัดเก็บและรอจำหน่ายต่อไป
 
                                   
 
(ที่มา : กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2560)
 
       อย่างไรก็ตาม การผลิตกระดาษเชิงหัตถกรรมจากวัตถุดิบในท้องถิ่น อาจประสบปัญหา คือ บุคลากรยังขาดความรู้พื้นฐานในกระบวนการผลิต และการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์กระดาษมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เกิดการสิ้นเปลืองสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการต่างๆ และเกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการสนับสนุนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มวัสดุธรรมชาติและเส้นใย กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิตกระดาษเชิงหัตถกรรม การใช้สารเคมีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณภาพตามของผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาบุคลากรของชุมชนให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิตกระดาษ เพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดปริมาณขยะ และสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษสาด้วยเยื่อชานอ้อย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษรีไซเคิลจากเศษกล่องนมและกล่องกระดาษ ให้กับผู้ประกอบการในชุมชนต่างๆ อีกด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การผลิตเยื่อและกระดาษจากวัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่องานหัตถกรรม. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://www.most.go.th/main/th/2015-04-20-09-12-41/2015-04-20-09-17-53/104-technology-to-develop-products-at-the-community-    
       management/1301-2010-01-26-07-57-29
กลุ่มวัสดุธรรมชาติและเส้นใย กองวัสดุวิศวกรรม. การทำกระดาษจากวัตถุดิบในท้องถิ่น (Making Paper From Local Raw Material).
       เอกสารประกอบการบรรยายของกองวัสดุวิศวกรรม, กรุงเทพฯ : กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2560. 
ประกิต  จันทร์ศรี. แหล่งที่มาของเส้นใยพืชในการผลิตกระดาษ และการผลิตเยื่อและกระดาษเชิงหัตถกรรมจากวัตถุดิบในท้องถิ่น.
       การผลิตกระดาษเชิงหัตถกรรมจากวัตถุดิบในท้องถิ่น, กรุงเทพฯ : บรรณกิจ 1991, 2551, หน้า 3-30.
ปาณี  เดชวิทยาพร. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกระดาษ. กระดาษทำมือ กระดาษเชิงหัตถกรรม, กรุงเทพฯ : แม็ค, 2549, หน้า 1-8.
ยุทธนาพงศ์  แดงเพ็ง. การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษหัตถกรรมจากวัตถุดิบในท้องถิ่น. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, พฤษภาคม, 2547,
       ปีที่ 52, ฉบับที่ 165, หน้า 12-14. (แฟ้มประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง (CF 38), A19)