ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       แก้ว (Glass) เป็นวัสดุที่มนุษย์รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์มานานกว่า 5,000 ปี เริ่มจากชาวอียิปต์นำแก้วมาทำเป็นลูกปัดและพลอยเทียมเพื่อใช้บนเครื่องประดับ และนำมาทำเป็นขวดหรือถ้วยขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นภาชนะบรรจุ ในยุคโรมันแก้วถูกนำมาทำเป็นภาชนะและของใช้ในครัวเรือนสำหรับชีวิตประจำวันมากขึ้น และเป็นที่นิยมในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน แก้วเป็นของแข็งที่ประกอบด้วยอะตอมหรือโมเลกุลที่อยู่รวมกันโดยไม่มีการเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ หรือที่เรียกว่า อสัณฐาน (Amorphous) เตรียมได้จากการหลอมสารอนินทรีย์ที่อุณหภูมิสูง จนวัตถุดิบหลอมเป็นน้ำแก้วอยู่ในสถานะเป็นของเหลว จากนั้นถูกขึ้นรูปและทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วจนองค์ประกอบของโครงสร้างแก้วไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเรียงตัวให้เป็นโครงสร้างที่เป็นระเบียบ โดยของแข็งที่ได้จากการขึ้นรูปจากแก้วหลอมมีลักษณะเป็นของแข็งที่ไม่มีผลึก และมีสมบัติกึ่งเสถียร  ซึ่งสมบัติทั่วไปของแก้ว มีดังนี้

       1. แก้วมีโครงสร้างทางเคมีไม่แน่นอน แต่จะมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกันคือ ประกอบด้วยซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) และโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) เป็นหลัก
       2. มีความแข็งแต่เปราะ ทำให้แตกหักง่าย
       3. เป็นตัวนำไฟฟ้าไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง แต่จะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีเมื่อมีอุณหภูมิสูง
       4. มีลักษณะโปร่งใส (Transparency) 
       5. สามารถทำให้หลอมละลายได้ด้วยความร้อน
       6. เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นสมบัติของแก้วจะเปลี่ยนไปทั้งลักษณะทางกายภาพ และสมบัติทางเคมี
       7. มีช่วงการหลอมละลายกว้าง
       8. สมบัติทางกายภาพต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงนั้นจะสามารถสังเกตเห็นได้
 
 
(ที่มา : http://lib3.dss.go.th/fulltext/glass/seminar25_26-07-56/Glass_structure_and_raw_materials.pdf)
 
       แก้วมีองค์ประกอบเป็นออกไซด์ของธาตุหลายชนิดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของแก้ว คือ
       - ทรายซิลิกา (Silicon Dioxide, SiO2) เป็นองค์ประกอบหลักที่ใช้ในการผลิตแก้ว แก้วที่มีปริมาณทรายซิลิกาสูงจะมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทานต่อความร้อนและสารเคมี เนื่องจากใช้อุณหภูมิในการหลอมเหลวสูง แต่จะผลิตและขึ้นรูปได้ยาก
       - โซดาแอช (Sodium Carbonate, Na2CO3) เป็นตัวช่วยลดอุณหภูมิในการหลอมของแก้ว โดยสามารถลดอุณหภูมิได้ประมาณ 800 องศาเซลเซียสระหว่างการหลอม ทำให้การหลอมง่ายขึ้น ช่วยลดต้นทุน   การผลิตได้ โดยจะผสมกับทรายในอัตราส่วนประมาณร้อยละ 10-15
       - หินปูน (Limestone) ทำหน้าที่ในการช่วยลดอัตราการละลายน้ำ เพราะแก้วที่มาจากการผสมระหว่างทรายกับโซดาแอชจะเป็นแก้วที่ละลายน้ำได้ง่าย
       - หินฟันม้า (Feldspar) มีสมบัติทำให้แก้วมีความคงทน ถูกนำมาใช้ทดแทนคัลไซน์อะลูมินา (Caleined Alumina) ซึ่งมีราคาแพง
       - โซเดียมออกไซด์ (Sodium Oxide, Na2O) แก้วที่มีปริมาณโซเดียมออกไซด์สูงจะหลอมเหลวที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้เปราะแตกง่าย และไม่ทนต่อสารเคมี
       - โพแทสเซียมออกไซด์ (Potassium Oxide, K2O) ช่วยให้การตกผลึกเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกเรียงตัวสวยงาม
       - แคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide, CaO) แมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium Oxide, MgO) หรือแบเรียมออกไซด์ (Barium Oxide, BaO) ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีการขึ้นรูปเร็วขึ้น และช่วยให้ทนต่อสารเคมีมากขึ้น
       - อะลูมิเนียมออกไซด์ (Aluminum Oxide, Al2O3) ช่วยให้แก้วมีความทนทานต่อการสึกกร่อนและสารเคมีได้ดีขึ้น 
       - โบรอนออกไซด์ (Boron Oxide, B2O3) เป็นตัวที่ช่วยให้แก้วมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวต่ำ ทำให้ทนทานต่อสภาวะความเป็นกรด-ด่าง และความร้อน มักใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ในครัวเรือน หรือไฟหน้าของรถยนต์
       - เลดออกไซด์ (Lead Monoxide, PbO) ช่วยให้เนื้อแก้วใส วาว เวลาเคาะจะมีเสียงกังวาน ไม่แข็งกระด้าง เนื่องจากมีค่าดัชนีหักเหสูง
       - เฟอร์ริกออกไซด์ (Ferric Oxide, Fe2O3) ช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงในการหลอม แต่จะทำให้เนื้อกระจกมีสีค่อนไปทางเขียว
       - ออกไซด์อื่นๆ เนื่องจากแก้วมีคุณสมบัติโปร่งแสงและใส หากต้องการให้แก้วหรือกระจกมีสีสันต่างๆ เพื่อเพิ่มความสวยงาม สามารถเติมสารเหล่านี้ ได้แก่ โครเมียมออกไซด์ (Chromium Oxide, Cr2O3) ให้สีเขียว โคบอลท์ออกไซด์ (Cobalt Oxide, CoO) ให้สีน้ำเงิน ยูเรเนียม (Uranium, U) ให้สีเหลือง นิกเกิล (Nickle, Ni) ให้สีน้ำตาล คาร์บอน-ซัลเฟอร์-ไอรอน (C-S-Fe) ให้สีอำพัน และแมงกานีส (Manganese, Mn) ให้สีชมพู ทั้งนี้ องค์ประกอบชนิดต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตแก้วนั้น โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่แตกต่างกันตรงสัดส่วน นั่นคือ องค์ประกอบที่ต่างกันจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันด้วย
       การแบ่งประเภทของแก้วสามารถแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ แบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี แบ่งตามลักษณะการใช้งาน และแบ่งตามชนิดผลิตภัณฑ์ แต่ส่วนใหญ่มักแบ่งประเภทของแก้วตามองค์ประกอบทางเคมี โดยประเภทของแก้วแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี สามารถแบ่งได้เป็น 7 ชนิด ดังนี้  
       1. แก้วโซดาไลม์ (Soda-lime glass) แก้วชนิดนี้พบได้ทั่วไป และถูกนำมาใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรมแก้ว ผลิตจากวัตถุดิบหลัก ได้แก่ ทรายซิลิกา โซดาแอช ปูนขาว และเศษแก้ว ใช้อุณหภูมิปานกลางในการหลอมประมาณ 1,300-1,400 องศาเซลเซียส แก้วชนิดนี้มีความทนทานอยู่ในระดับกลาง นิยมนำไปใช้ในการผลิตหน้าต่าง (Flat glass) สำหรับก่อสร้าง รถยนต์และบรรจุภัณฑ์หลายชนิด หากต้องการให้แก้วมีสีสันสามารถเติมออกไซด์ที่มีสีลงไป
       2. แก้วบอโรซิลิเกต (Borosilicate glass) เป็นแก้วชนิดพิเศษที่มีการเติมบอริค-ออกไซด์ (B2O3) ลงไป ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนของแก้วซิลิเกตลดลงถึง 50% ส่งผลให้ความทนทานต่อการแตกดีขึ้น แก้วชนิดนี้มักนำไปใช้ทำเครื่องแก้วทางวิทยาศาสตร์ ภาชนะแก้วสำหรับใส่ในเตาไมโครเวฟ และเทอร์โมมิเตอร์ 
       3. แก้วตะกั่ว (Lead glass) หรือแก้วคริสตัล แก้วชนิดนี้จะมีตะกั่วออกไซด์มากกว่า 24% โดยน้ำหนักเป็นแก้วที่มีดัชนีหักเหสูงกว่าแก้วชนิดอื่น มีความเป็นประกายแวววาวสวยงาม แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ได้ ใช้ในการทำเครื่องแก้วที่มีราคาแพง ซึ่งมีความหนาแน่น 8.00 มีน้ำหนักมาก มีค่าดัชนีหักเห (Reflective Index) อยู่ระหว่าง 1.507-2.179 ความบริสุทธิ์ของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิตแก้วชนิดนี้มีความสำคัญมาก เพราะหากมีการปนเปื้อนของสารอื่นจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไป
       4. แก้วโอปอล์ (Opal glass) แก้วชนิดนี้มีความขุ่นหรือทึบแสง เนื่องจากมีการเติมสารบางชนิด เช่น โซเดียมฟลูออไรด์ หรือแคลเซียมฟลูออไรด์ลงไป ทำให้เกิดการตกผลึกหรือการแยกเฟสขึ้นในเนื้อแก้ว ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ ลักษณะเฉพาะตัวของแก้วชนิดนี้ คือ มีความขุ่น ซึ่งหากมีความขุ่นหรือทึบมากเท่าใด ก็จะยิ่งไวต่อการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีมากขึ้นเท่านั้น
       5. แก้วอะลูมิโนซิลิเกต (Alumino silicate glass)  แก้วชนิดนี้มีส่วนผสมของอะลูมินา และทรายซิลิกาเป็นหลัก มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนต่ำ และมีจุดอ่อนตัว(Softening Point) ของแก้วสูง สามารถป้องกันการเสียรูปทรงเมื่อทำการอบ และเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ผลิตภัณฑ์
       6. แก้วอัลคาไลน์-เอิร์ท อะลูมิโน ซิลิเกต (Alkaline-Earth Alumino Silicate) แก้วชนิดนี้มีส่วนผสมของแคลเซียมออกไซด์ หรือแบเรียมออกไซด์ ทำให้มีค่าดัชนีหักเหใกล้เคียงกับแก้วตะกั่ว แต่ผลิตง่ายและมีความทนทานต่อกรดและด่างมากกว่าแก้วตะกั่วเล็กน้อย
       7. กลาส-เซรามิกส์ (Glass ceramics) เป็นแก้วประเภทลิเธียมอะลูมิโนซิลิเกตที่มีไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) หรือ เซอร์โคเนียมไดออกไซด์ (ZrO2) ทำให้เกิดผลึกในเนื้อแก้ว ส่งผลให้แก้วมีความทึบแสงหรือโปร่งใสขึ้นกับชนิดของผลึก แก้วชนิดนี้จะทนทานและมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนต่ำมากสามารถนำไปใช้เป็นภาชนะหุงต้ม หรือเป็นแผ่นบนเตาหุงต้มได้
 
         ผลิตภัณฑ์จากแก้วโซดาไลม์                                                       ผลิตภัณฑ์จากแก้วบอโรซิลิเกต
                      
                                          (ที่มา : http://www.redhill-balls.eu/en/                                   (ที่มา : https://images-na.ssl-imagesamazon.com/
                                              product/soda-lime-glass-balls)                                                images/I/41K81gzbcwL._SX385_.jpg) 
 
 
                                                      ผลิตภัณฑ์จากแก้วตะกั่ว                                                                ผลิตภัณฑ์จากกลาส-เซรามิกส์
 
                                 
 
                                         (ที่มา : http://c300221.r21.cf1.rackcdn.com/                 (ที่มา : http://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2013012915034224.pdf)
                                             crystal-glassware-lead-glass-engraved-
                                        lead-glass-black-crystal-1391441396_org.jpg)
 
                               
       อุตสาหกรรมแก้วและกระจกนับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากมีการส่งออกผลิตภัณฑ์แก้วในปริมาณที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น แต่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์แก้วอาจประสบปัญหาขาดเครื่องมือทดสอบที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพการผลิต ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่ดี ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญด้านแก้ว เพื่อให้บริการด้านวิเคราะห์ทดสอบ ด้านการวิจัยพัฒนา และด้านการฝกอบรม หรือให้คำปรึกษาทางวิชาการต่อภาคเอกชนและบุคคลทั่วไป รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ โดยผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://glass.dss.go.th/ 
 
เอกสารอ้างอิง
กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. หลักปฏิบัติเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการป้องกันมลพิษ) อุตสาหกรรมแก้ว.
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2560]  เข้าถึงจาก : http://php.diw.go.th/ctu/files/pdf/glassindustry.pdf   
โครงการบริการข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุแก้ว (Glass Science and Technology Information Services). วัสดุแก้ว. [ออนไลน์]  
       [อ้างถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2560]  เข้าถึงจาก : http://www2.mtec.or.th/th/research/GSAT/glassweb/define.html
เทพีวรรณ  จิตรวัชรโกมล และ กนิษฐ์  ตะปะสา. ห้องปฏิบัติการเชี่ยวชาญด้านแก้ว มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยทุกระดับ. [ออนไลน์]  
       [อ้างถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2560]  เข้าถึงจาก : http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_J/2558_63_197_p7-11.pdf 
ฤดี  นิยมรัตน์. บทที่ 1 แก้ว. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://www.teacher.ssru.ac.th/reudee_ni/file.php/1/CeramicTechnology/c1-glass.pdf
สุมาลี  ลิขิตวนิชกุล. แก้วสำหรับครัวเรือน. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, พฤษภาคม, 2543, ปีที่ 48, ฉบับที่ 153, หน้า 28-34.
       (แฟ้มประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง (CF 31), A33)
เอกรัฐ  มีชูวาศ. ความรู้เบื้องต้นด้าน Glass Science และการวิเคราะห์สมบัติของแก้ว. เอกสารการฝึกอบรมของศูนย์เชี่ยวชาญด้านแก้ว/
       กลุ่มวัสดุอัจฉริยะและเทคโนโลยีเคลือบผิว, กรุงเทพฯ : กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2560.