ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

ไดออกซินคืออะไร

              ไดออกซิน (dioxins) เป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ตั้งใจผลิตขึ้น (unintentional products) จากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นสารประกอบในกลุ่มคลอริเนตเตท อะโรเมติก (chlorinated aromatic compounds) ที่มีออกซิเจน (O) และคลอรีน (Cl) เป็นองค์ประกอบ 1 ถึง 8 อะตอม ไดออกซิน มีชื่อเรียกเต็ม คือ โพลีคลอริเนตเตทไดเบนโซ  พารา-ไดออกซิน  (polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs)  มีทั้งหมด 75 ชนิด และสารอีกกลุ่มที่มีโครงสร้าง และความเป็นพิษคล้ายกับไดออกซิน เรียกว่า Dioxin like สารกลุ่มนี้คือ ฟิวแรน มีชื่อเรียกเต็มคือ โพลีคลอริเนตเตทไดเบนโซฟิวแรน (polychlorinated dibenzo furan: PCDFs) มีอยู่ 135 ชนิด โดยไดออกซิน/ฟิวแรน มีทั้งหมด 210 ชนิด (75+135) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีสารคลอรีน (Cl) บนวงแหวนของเบนซีน (benzene ring) (จารุพงศ์ บุญหลง, 2547) ดังแสดงในรูปที่ 1 และจำนวนไอโซเมอร์ (isomer) ของไดออกซินและฟิวแรน  ดังแสดงในตารางที่ 1

รูปที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานของไดออกซิน (PCDDs)และฟิวแรน (PCDFs) (Holtzer,Dañko, and Dañko, 2007)

 

ตารางที่ 1 ไอโซเมอร์ของไดออกซินและฟิวแรน 

จำนวน

คลอรีนอะตอม

จำนวนไอโซเมอร์ของไดออกซิน

(PCDDs)

จำนวนไอโซเมอร์ของ

ฟิวแรน (PCDFs)

1

2

3

4

5

6

7

8

รวม

2

10

14

22

14

10

2

1

75

4

16

28

38

28

16

4

1

135

ที่มา : Rappe, C. (1996)