ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนที่ทำให้เกิดอาการแพ้  (Huneycutt, T., et al., 2007)
              1. pH และวิธีการปรับ  การรักษาค่า pH ให้คงที่นั้นมีความสำคัญมากต่อกระบวนการผลิตน้ำยาง การปรับ pH  (pH adjustment) จะใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) และ/หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์กับแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์  (KOH-NH4-OH) หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับ functional group ของโปรตีนชนิดที่เป็นกรดหรือเบส  pH ที่ใช้ในตอนแรกมีค่าน้อยกว่า 10 จากนั้นจะใช้ pH ที่สูงขึ้นถึง 11 ก่อนจะมีการเติมสารลงไปเพื่อปรับค่า pH  ได้แก่  โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ พบว่าการเติมสารดังกล่าวจะทำให้ปริมาณ allergenic protein เพิ่มขึ้นจาก 1,123.7  µg/ml  เป็น 60,000  µg/ml จะเห็นได้ว่าการที่ปริมาณ  allergenic protein  ที่เพิ่มขึ้นมานั้นมาจากการใช้ pH สูงและการใช้อะลูมินัมไฮดรอกไซด์ (Al(OH) 3) จะช่วยลด allergenic protein ลงได้มากกว่าการใช้สารตัวอื่น
              2. soluble inorganic และ organic compounds  การใช้สารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compounds) ได้แก่  แมกนีเซียมคลอไรด์  อะลูมินัมไฮดรอกไซด์ อะลูมินัมคลอไรด์ ซิลเวอร์ไนเตรต อะลูมินัมซัลเฟต และซิงค์ไอโอไดด์ จะมีประสิทธิภาพในการลด allergenic protein ได้ดีกว่าสารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) ได้แก่ คอปเปอร์อะซิเตต ซิงค์กลูโคเนต ซิงค์อะซิเตต และเกลือโซเดียมของกรดเบนซีนซัลโฟนิก 
              3. metallic additives  และ absorbents  สาร metallic additives ได้แก่  ซิลเวอร์และอะลูมินัม สามารถลด  allergenic protein  ได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณทั้งหมด การใช้ inorganic absorbents ได้แก่ ไททาเนียมไดออกไซด์   fumed silica  และซีโอไลต์ที่ความเข้มข้นต่างๆ  พบว่า ไททาเนียมไดออกไซด์และ fumed silica ทำให้ allergenic protein  มีค่าต่ำสุด (จาก 116 µg/ml เป็น 384 µg/ml และซีโอไลต์มีประสิทธิภาพในการลด allergenic protein ในน้ำยางธรรมชาติ organic absorbents ได้แก่ Merrifield's peptide resin, acrylamide, polyacrylamide, vinylamine-vinylformamide และ polyethylenimine สารดูดซับเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการลด  allergenic protein  ได้อย่างจำกัดและไม่เหมาะสำหรับใช้เพียงอย่างเดียว
              4. Mixed additives การใช้สารหลายชนิดร่วมกันเพื่อลด allergenic protein ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น  สามารถทำได้โดยการนำน้ำยางมาทำปฏิกิริยากับอะลูมินัมไฮดรอกไซด์และนำมาละลายในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์  และเติมสารดูดซับ (เช่น fumed silica และ Lignin Curan 2711P)  ร่วมด้วยนั้น ผลที่ได้จะทำให้ปริมาณ allergenic protein  ลดลงใกล้เคียงกับการใช้อะลูมินัมไฮดรอกไซด์ในสภาวะด่างเพียงอย่างเดียว โดยกลไกที่ทำให้อะลูมินัมไฮดรอกไซด์เพียงอย่างเดียวสามารถลดปริมาณ allergenic protein ได้นั้น อาจเป็นเพราะโครงสร้างแบบ jelly like-structure ของ aluminum hydroxide ที่ตกตะกอนในสารละลายด่างไปดูดซับโปรตีนเอาไว้ ทำให้ความเข้มข้นของ aluminum ion สูงขึ้นและจับตัวกับโปรตีนและรวมตัวเป็นสารประกอบกับหมู่ carboxylic group (หมู่ของโปรตีน)  และสามารถละลายเมื่ออยู่ในสภาวะความเป็นด่าง (alkalinity) สูง  นอกจากนี้โปรตีนยังสามารถไปแทนที่ OH-group ในสารประกอบที่มี aluminum ion จับอยู่ได้บางส่วนหรือได้ทั้งหมด ซึ่งปฏิกิริยาของโปรตีนที่จับตัวกับอะลูมินัมไฮดรอกไซด์นั้น สามารถเกิดได้ 4 แบบ (Honeycutt, T., et al., 2007)  (สมการที่ 1-4)  ดังต่อไปนี้