ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
แหล่งที่พบการปนเปื้อนของแบคทีเรียสู่อาหาร  (Frazier, WC.; and Westhoff, DC., 1978)
              อาหารที่เราบริโภคกันในปัจจุบัน  มักปนเปื้อนจุลินทรีย์  โดยเฉพาะแบคทีเรียจากแหล่งต่างๆที่พวกมันอาศัยอยู่  ตัวอย่างเช่น  จากพืชผักผลไม้  สัตว์  น้ำเสีย  ดิน  อากาศ  การสัมผัสและกระบวนการผลิต  ฯลฯ  นอกจากนี้ยังมีการปนเปื้อนจากแหล่งอื่นๆอีกมากมาย  โดยแบคทีเรียก็จะมีชนิดที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมนั้นๆด้วย  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ  โดยสามารถดูได้จากตารางแสดงแหล่งปนเปื้อนของแบคทีเรีย (ตารางที่ 2)
              1. พืชผักและผลไม้  (Green plants and Fruits)
              ในธรรมชาติจุลินทรีย์ที่พบในพืชผักและผลไม้มักมีความหลากหลาย  แต่ที่พบโดยทั่วไป  คือ  Pseudomonas, Aloaligenes, Flavobacterium, Micrococcus, Coliforms และแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก  เช่น  Lactobacillus bravis, Lactobacillus plantarum, Leuconostoc mesentercides, Leuconostoc dextranicum, Streptococcus faecium, Streptococcus faecalis, Baciius spp.  จำนวนของจุลินทรีย์จะพบในพืชและสิ่งแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่  โดยมีจำนวน 200-300 หรือ 1,000 เซลล์ต่อตารางเมตร ไปจนถึง 1,000,000 เซลล์ต่อตารางเมตร  ตัวอย่างเช่น  ที่ผิวของมะเขือเทศที่ล้างอย่างดีแล้ว  จะพบจำนวนจุลินทรีย์ 400-700 เซลล์ต่อตารางเมตร  ในขณะที่มะเขือเทศที่ไม่ได้ล้างจะพบหลายพันเซลล์  บริเวณผิวด้านนอกของกะหล่ำปลีที่ไม่ได้ล้างมีจุลินทรีย์ปนเปื้อน 1-2 ล้านเซลล์ต่อกรัม  แต่ถ้าล้างแล้วจะเหลือ 200,000 ถึง 500,000 เซลล์ต่อกรัม  บริเวณผิวด้านในของกะหล่ำปลีจะมีจำนวนจุลินทรีย์ 100-150,000 เซลล์ต่อกรัม  โดยที่ผิวของพืชที่มีการปนเปื้อนนั้นมาจากแหล่งต่างๆกัน  ได้แก่  ดิน  น้ำ  น้ำเสีย  อากาศและสัตว์  เมื่อไหร่ก็ตามที่สภาวะสำหรับการเจริญของพืชในธรรมชาติและการปนเปื้อนเกิดขึ้น  การเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ชนิดสำคัญก็จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน  โดยเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว (harvesting) ซึ่งวิธีการล้างทำความสะอาดจะช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ลงได้ 
              2. สัตว์  (Animals) 
              แหล่งที่มาของจุลินทรีย์จากสัตว์มาจากจุลินทรีย์บริเวณผิวหนัง  จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร และ จุลินทรีย์ในระบบทางเดินหายใจ  ที่บริเวณผิวหนัง   กีบเท้าและขนของสัตว์เป็นจุลินทรีย์ที่มาจากดิน  ปุ๋ยคอก  อาหารสัตว์และน้ำ  ที่ผิวหนังของสัตว์หลายชนิดจะพบจุลินทรีย์จำพวก  Micrococci, Staphylococci  และ beta hemolytic Streptococci, Staphylococci  ส่วนจุลินทรีย์ที่พบในอุจจาระสัตว์  ส่วนใหญ่เป็นพวกเอนเทอริก แบคทีเรีย  เช่น  Salmonella  ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้อาจปนเปื้อนไปในเนื้อ  ไข่  หรือผลิตภัณฑ์จากไข่  Salmonella  ที่ปนเปื้อนไปกับไข่สามารถลดลงได้โดยการพาสเจอไรส์ผลิตภัณฑ์จากไข่นั้นๆ  (วิลาวัณย์  เจริญจิระตระกูล, 2539)
              เนื้อหมูหรือเนื้อวัวอาจจะปนเปื้อน Salmonella เพราะกระบวนการผลิตและการสัมผัสทำให้เกิดโรค  salmonellosis  ในมนุษย์  โดยปกติแล้วการฆ่าสัตว์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้เท่าใดนัก  แต่จากสถิติที่ผ่านมาไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค salmonellosis มากกว่า
              เชื้อโรคจากสัตว์เป็นจำนวนมากสามารถถ่ายทอดไปสู่คนได้โดยทางอาหาร  เช่น  Mycobacterium  tubercolosis, Coxiella, Listeria, Campylobacter, Brucella, Salmonella, E.coli, beta hemolytic Streptococci  โดยอาจติดไปทางเนื้อสัตว์  นม  หรือไข่  (วิลาวัณย์ เจริญจิระตระกูล , 2539)
             3. น้ำเสีย (Sewage)
              น้ำเสียเป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารและพืชผักมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์  โดยเฉพาะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร  ในน้ำเสียประกอบไปด้วยจุลินทรีย์จำพวก coliform bacteria, anaerobes, enterococci และแบคทีเรียในลำไส้ชนิดอื่น นอกจากนี้ยังปนเปื้อนในสัตว์น้ำที่มีเปลือก  ปลาและอาหารทะเลอื่นๆ อีกด้วย
              4. ดิน  (Soil)
              ดินเป็นแหล่งที่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายและมีจำนวนมากที่สุด  เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการหาจุลินทรีย์ชนิดใหม่ๆ  ดินจะเป็นแหล่งแรกที่มีการสำรวจ  จุลินทรีย์ที่พบในดิน  ได้แก่  Bacillus, Clostridium, Enterobacter, Escherichia, Micrococcus, Alcaligenes, Flavobacterium, Chromobacterium, Pseudomonas, Proteus, Streptococcus, Leuconostoc และ Acetobacter
              จุลินทรีย์ในดินอาจปนเปื้อนอาหารได้โดยติดไปกับพืชผักที่ปลูกในดินนั้นๆ  โดยมาจากผิวหนังสัตว์ที่อาศัยอยู่บนดิน  ดินที่แห้งกลายเป็นฝุ่นละอองถูกพัดพาไปโดยกระแสลม  หรือเศษดินที่ติดไปกับน้ำ (วิลาวัณย์  เจริญจิระตระกูล, 2539)
              5. อากาศ  (Air)
              การปนปื้อนของอาหารจากอากาศมีความสำคัญสำหรับสุขภาพอนามัย  จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ  อาจจะแพร่กระจายโดยอากาศหรือผลิตภัณฑ์ของอาหารมีการปนเปื้อน  ทำให้มีการเพิ่มของจำนวนจุลินทรีย์ได้  
              แบคทีเรียที่พบในอากาศมักพบพวกรูปกลมมากกว่ารูปท่อนและอาจพบในรูปสปอร์  พวกที่พบ  เช่น  Staphylococcus, Bacillus  การที่มักพบจุลินทรีย์ในอากาศอยู่ในรูปของสปอร์เนื่องจากสปอร์มีอัตราเมแทบอลิกต่ำ  สปอร์บางชนิดมีผนังหนาทำให้ป้องกันความแห้ง  สปอร์บางชนิดมีสีดำทำให้ป้องกันการถูกทำลายโดยรังสีอัลตราไวโอเลต  จุลินทรีย์ในอากาศสามารถปนเปื้อนไปในอาหารได้  โดยการสัมผัสกับอาหารระหว่างการผลิต  การบรรจุ  การขนส่ง  หรือการเก็บรักษา  จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนจากอากาศมีความสำคัญทั้งทางด้านสุขาภิบาลและด้านเศรษฐกิจ  เนื่องจากจุลินทรีย์เหล่านี้มีทั้งพวกที่ทำให้เกิดโรค  โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและพวกที่ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสีย (วิลาวัณย์  เจริญจิระตระกูล, 2539)
              6. การสัมผัสและกระบวนการผลิต  (During handling and Processing)
              การปนเปื้อนของอาหารจากแหล่งธรรมชาติ  อาจจะเกิดขึ้นก่อนที่อาหารจะถูกเก็บเกี่ยว  รวบรวมหรือในระหว่างการสัมผัสและกระบวนการผลิตอาหาร  ในการปนเปื้อนอาจจะมาจากอุปกรณ์ที่ใช้ทำอาหาร  บรรจุภัณฑ์และจากผู้ประกอบอาหาร  โดยผู้ผลิตพยายามที่จะเตรียมอุปกรณ์ให้มีความสะอาดและถูกสุขอนามัย  เพื่อลดการปนเปื้อนให้ได้มากที่สุด  
              วิธีการล้างเป็นการกำจัดจุลินทรีย์บริเวณผิวอาหารออกไป แต่ถ้าหากใช้น้ำไม่สะอาดล้างก็จะเป็นการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ลงไปในอาหาร  การใช้รังสี  สารเคมี  หรือความร้อนในระหว่างการผลิต  ก็เป็นการลดจำนวนจุลินทรีย์ในอาหารลงได้  (วิลาวัณย์  เจริญจิระตระกูล, 2539)
ตารางที่ 2  แสดงแหล่งปนเปื้อนของแบคทีเรียในอาหาร
 

จุลินทรีย์

ดินและน้ำ

พืช

เครื่องมือ

ทางเดิน
อาหาร

ผู้สัมผัส
อาหาร

อาหาร
สัตว์

ขน หนัง สัตว์

อากาศและ
ฝุ่นละออง

    Acinetobacter

xx

x

x

 

 

 

x

x

    Aeromonas

xx

x

 

 

 

 

 

 

    Alcaligenes

x

x

x

x

 

 

x

 

    Alteromonas

xx

 

 

 

 

 

 

 

    Bacillus

xx

x

x

 

x

x

x

xx

    Brochothrix

 

xx

x

 

 

 

 

 

    Campylobacter

 

 

 

xx

x

 

 

 

    Carnobactererium

x

x

x

 

 

 

 

 

    Citrobacter

x

xx

x

xx

 

 

 

 

    Clostridium

xx

x

x

x

x

x

x

xx

    Corynebacterium

xx

x

x

 

x

 

x

x

    Enterobacter

x

xx

x

 

 

 

x

 

    Enterococcus

x

x

x

xx

x

x

x

x

    Erwinia

x

xx

x

 

 

 

 

 

    Escherichia

x

x

 

xx

x

 

 

 

    Flavobacterium

x

xx

 

 

 

 

x

 

    Hafnia

x

x

 

xx

 

 

 

 

    Kocuria

x

x

x

 

x

 

x

x

    Lactococcus

 

xx

x

x

 

 

x

 

    Lactobacillus

 

xx

x

x

 

 

x

 

    Leuconostoc

 

xx

x

x

 

 

x

 

    Listeria

x

xx

 

x

x

x

x

 

    Micrococcus

x

x

x

 

x

x

x

xx

    Moraxella

x

x

 

 

 

 

x

 

    Paenibacillus

xx

x

x

 

 

 

 

xx

    Pantoea

x

x

 

x

 

 

 

 

    Pediococcus

 

xx

x

x

x

 

x

 

    Proteus

x

x

x

x

x

 

x

 

    Pseudomonas

xx

x

x

 

 

x

x

 

     Psychrobacter

xx

x

x

 

 

 

x

 

    Salmonella

 

 

 

xx

 

xx

 

 

    Serratia

x

x

x

x

 

x

x

 

    Shewanella

x

x

 

 

 

 

 

 

    Shigella

 

 

 

x

 

 

 

 

    Staphylococcus

 

 

 

x

x

 

x

 

    Vagococcus

xx

 

 

xx

 

 

 

 

    Vibrio

xx

 

 

x

 

 

 

 

    Weissella

 

xx

x

 

 

 

 

 

    Yersenia

x

x

 

x

 

 

 

 

หมายเหตุ   x : มีการพบเชื้อ       xx : มีการพบเชื้อบ่อย

(ที่มา: มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2553)