
กรมวิทยาศาตร์บริการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และให้ความรู้การยืดอายุผลิตภัณฑ์น้ำพริกแก่โอทอปในพื้นที่ประจว...
นักวิจัยสำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำทีมโดยนางวรรณดี มหรรณพกุล นักวิทยาศาสตร์ชำ...

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่นครพนม ติดตามผลการนำองค์ความรู้ วทน.ยกระดับสินค้า OTOP สู่มาตรฐานเพิ่ม...
วันที่ 21 กรกฎาคม 2562 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม...

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ตรวจเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม จ.สกลนคร
วันที่ 20 กรกฎาคม 2562 นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา...

ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการจังหวัดสงขลา
ดร.กาจพันธ์ สกุลแก้ว นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ รักษาการหัวหน้ากลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง เป็นห...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
ดร.กาจพันธ์ สกุลแก้ว นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ รักษาการหัวหน้ากลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง เป็นหัวหน้าคณะ นำทีมงานนักวิทยาศาสตร์ลงพื้นที่ จ.สงขลา ให้คำปรึกษาเชิงลึกผู้ประกอบการ ซึ่งกองวัสดุวิศวกรรม ได้ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางเพื่อการส่งออก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มผู้ผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยาง มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสินค้าและบริการของ SMEs ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล โดย ผย. ได้ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 9-11 กรกฎาคม 2562 ทั้งนี้ให้ได้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ และให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ จำนวน 3 ราย คือ
1.บริษัท ไทยชวนรับเบอร์ จำกัด เลขที่ 128 หมู่ 5 ถนนคลองแงะ-นาทวี ตำบลพังลา อำเภอสะเดา ผู้ผลิตยางวงรัดของ (Rubber bands) จากยางธรรมชาติเพื่อให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางวงรัดของเพื่อใช้ในงานด้านอาหาร และการให้คำปรึกษาการทำผลิตภัณฑ์ใหม่จากยางธรรมชาติ (เม็ดยางสำหรับทำพื้นสังเคราะห์)
2.วิสาหกิจชุมชนแปรรูปยางพาราด่านประกอบ เลขที่ 3 หมู่ที่ 5 ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี ผู้ผลิตถุงมือยางสำหรับใช้ในงานบ้าน (Rubber household gloves) จากน้ำยางธรรมชาติเพื่อให้คำปรึกษาด้านกระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
3.วิสาหกิจชุมชนตำบลจะโหนงเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เลขที่ 124 หมู่ที่ 11 ถนน ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ ผู้ผลิตหมอนยางพารา เพื่อให้คำปรึกษาด้านการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน
โดยความมุ่งหวังในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ก็เพื่อส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ยางวงรัดของสำหรับใช้งานด้านอาหารของบริษัท ไทยชวนรับเบอร์ จำกัด จะมีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดระดับสากล เช่น FDA ประเทศสหรัฐอเมริกา และ เกณฑ์กำหนดของสหภาพยุโรป เพื่อขยายตลาดให้เพิ่มขึ้นจากเดิม ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางธรรมชาติของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปยางพาราด่านประกอบมีคุณภาพเป็นไปตามตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหรรม มอก. 2476-2561 และหมอนยางพาราของวิสาหกิจชุมชนตำบลจะโหนงเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหรรม มอก. 2747-2559
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม