ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

วันที่ 18 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรม ไมด้า ทวารวดี แกรนด์ จังหวัดนครปฐม กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมโอทอปสัญจรและสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการโอทอป และ SMEs เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน เพื่อยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมี นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผู้แทนปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดงาน และบรรยายพิเศษเรื่อง “เรื่อง ทิศทางและแนวนโยบายเพื่อ OTOP และ SMEs ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และกล่าวต้อนรับโดย นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้ประกอบการโอทอป และ SMEs  ในภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม นนทบุรี ปทุมธานีและนครนายก รวมทั้งผู้บริหาร พนักงาน  เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้แก่ สาธารณสุขจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด พาณิชย์จังหวัด  และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ประมาณ  400  คน
 
นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การสร้างความสามารถของผู้ประกอบการในการแข่งขันด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทั้ง 6 หน่วยงาน ได้ร่วมกันผลักดันงานวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เหมาะสมให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ และนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการโอทอป และ SMEs เพื่อพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าทางเศรษกิจในระดับภูมิภาค และมีศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาด ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศ 4.0 ในอนาคต  
 
กิจกรรมโอทอปสัญจรครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 จาก 14 ครั้ง ซึ่งเป็นเป้าหมายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการ การดำเนินงานในเรื่องโอทอป ของหน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในเรื่องการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต ระบบมาตรฐาน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การออกแบบเครื่องจักรในการผลิต ตามวัตถุประสงค์และแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอปรวมไปถึงการต่อยอดในด้านการเงิน ทุนสนับสนุน  และการตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาด สร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่า และเข้าสู่การแข่งขันในตลาดระดับต่างๆ ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับจังหวัดนครปฐม และกลุ่มจังหวัดเป้าหมาย ได้มีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าทางด้านเกษตร อาหารที่ปลอดภัย และส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยว และพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางสังคม ยกระดับคุณภาพการศึกษา  และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
 
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยี ทั้งในด้านอาหาร เครื่องดื่ม ด้านสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร  ด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของใช้ ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยี  และพร้อมเชื่อมโยงกับการดำเนินงานตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาล โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรและปัจจัยการผลิตของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายแบบครบวงจร  ที่มีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ และการจัดกิจกรรมโอทอปสัญจรและสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้จะประกอบด้วยการบรรยายและเสวนา จากวิทยากรของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา โอทอป และการรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีนิทรรศการจัดแสดงผลงานการนำ วทน. ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอป เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน SMEs สามารถเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ  ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหา พัฒนาการผลิตให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ ซึ่งแผนการดำเนินงานในปี 2561 มีเป้าหมาย 6,340 ราย สามารถเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในระดับสากลและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการโอทอป และ SMEs ในภาคการผลิต ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้มีความเข้มแข็ง เติบโต และมีนวัตกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบโอทอป และ SMEs รวมทั้งเศรษฐกิจฐานรากของไทยก้าวสู่ความมั่งคั่ง และมั่นคงอย่างยั่งยืน มีรายได้  เกิดการสร้างงาน และเกิดนวัตกรรมจนเป็นที่รู้จักในตลาดทุกระดับได้
 
นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า การที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมโอทอปสัญจร และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีในการบูรณาการ การดำเนินงานร่วมกันกับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสินค้า ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงให้การนำงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  มาเป็นองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจ และการพัฒนาผลผลิตของชุมชน ให้มีคุณค่าและคุณภาพที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด  และตามนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการของประเทศโดยเฉพาะการสร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตด้านการเกษตร  ทั้งการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและการแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่นำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนเป็นอย่างยิ่ง
 
 
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------