ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

   

วันที่ 30 มกราคม 2560 / ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ  กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมวิทยาศาสตร์บริการ ปี 2560  ในวาระครบรอบ 126 ปี แห่งการให้บริการทางด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม(วทน.) ที่มุ่งมั่นสร้างคุณภาพงานวิทยาศาสตร์ อย่างต่อเนื่องตอบสนองนโยบายรัฐบาล นโยบาย วท. เป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

   

 

          ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 126 ปี ของการให้บริการงานวิทยาศาสตร์ ที่กำเนิดขึ้นจากหน่วยงานเล็กๆ ในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อปี พ.ศ.2434 ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ได้มีการพัฒนางานหลายด้าน และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เพื่อตอบสนองต่อนโยบายและภารกิจที่หลากหลายเพิ่มขึ้น โดยผลักดันงานวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น มุ่งให้ความสำคัญการพัฒนาระบบการวิเคราะห์ทดสอบครอบคลุมตามมาตรฐานรองรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาห้องปฏิบัติการ การพัฒนาการทดสอบความชำนาญ การพัฒนาสร้างศักยภาพของบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาแหล่งข้อมูลสารสนเทศด้าน วทน. รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ภาคการผลิต ชุมชน อันจะนำไปสู่ความสามารถการแข่งขัน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

           อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ยังกล่าวอีกด้วยว่า ตัวอย่างผลงานสำคัญกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้ความสำคัญกับ ผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs ซึ่งเป็นแกนหลักของระบบเศรษฐกิจไทย หาก OTOP และ SMEs ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม SMEs จะเติบโต แข็งแรง และสามารถแข่งขันกับองค์กรธุรกิจได้ และยังมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นวิสาหกิจหรือองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ในอนาคตได้ กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้ผลักดันงานสำคัญ ได้แก่การพัฒนาศักยภาพการทดสอบคุณภาพอาหารในเมืองนวัตกรรมอาหาร มุ่งเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการทั้งการร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้วยเครื่องมือขั้นสูง การยกระดับสินค้า OTOP ให้ได้การรับรองตามมาตรฐาน อย./มผช. การวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม S-Curve มุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมสู่ยุค Thailand 4.0 ประกอบด้วย วัสดุไฟเบอร์คอมโพสิท นาโนคอมโพสิท และ เซรามิกสมัยใหม่

             ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ยังมุ่งมั่นพัฒนางานบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ขอรับบริการ ปี 2559 นี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้รับการจัดอันดับ10 TEN ITA การประเมินประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐส่วนราชการในระดับกรมจากทั้งหมด 148 กรม และรับมอบโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก GECC จากคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวก ที่สำคัญกรมวิทยาศาสตร์บริการพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการบูรณาการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะเป็นการขยายขอบเขตของการให้บริการ และถ่ายทอด ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปสู่ทุกพื้นที่ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าที่ทั่วถึง เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน ให้กับกลุ่มเป้าหมายในทุก ๆ ด้าน อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าวจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี