วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
การใช้ประโยชน์จากกล้วย (วิชัย, 2559)
กล้วยมีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน นอกจากจะนำมบริโภคเป็นอาหารแล้ว ทุกส่วนของกล้วยยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ดังนี้
(1) การใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร ผลกล้วยหลายชนิดที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร ได้แก่
- กล้วยหอม นิยมบริโภคสด (ภาพที่ 13)
- กล้วยนํ้าว้า มีการใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ตั้งแต่ผลกล้วยดิบที่แก่จัดก็ใช้ประโยชน์เป็นกล้วยฉาบชนิดแว่น ชนิดแผ่น (ภาพที่ 13) และแป้งกล้วย ผลกล้วยห่ามแต่ยังไม่สุกก็เป็นกล้วยปิ้ง และกล้วยทอด ผลกล้วยสุกก็ใช้บริโภคสด แปรรูปเป็นกล้วยบดเพื่อเป็นอาหารเด็ก เป็นส่วนผสมของขนม เช่น ขนมกล้วย กล้วยแผ่น และทองม้วนกล้วย กล้วยตาก/อบชนิดผลหรือแผ่น ผลกล้วยที่งอมก็ใช้ทำเป็นกล้วยกวน
- กล้วยไข่ นิยมบริโภคสด และกล้วยไข่ที่ห่ามเกือบสุกจะนิยมทำกล้วยเชื่อมทั้งเปียกและแห้งเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก กล้วยไข่ที่สุกก็ทำข้าวเม่าทอด
- กล้วยหักมุก กล้วยหักมุกมี 2ชนิด คือ หักมุกเขียวใช้ทำกล้วยฉาบชนิดแว่นหรือแผ่น มีลักษณะปรากฏที่ดีทอดแล้วเนื้อมีสีเหลืองและกรอบ กล้วยชิ้นทอด (French Fry Type) ส่วนกล้วยหักมุกขาวหรือเหลืองจะนิยมทำกล้วยปิ้ง/เผา
- กล้วยเล็บมือนาง นิยมบริโภคสด และมีบ้างใช้ทำกล้วยตาก/อบ (ภาพที่ 13)
- กล้วยหินมีลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกเขียว ลูกป้อมสั้น และเนื้อแน่น นิยมใช้ทำกล้วยฉาบ
(ที่มา : https://mahosot.com) (ที่มา : http://www.thaitechno.net) (ที่มา : http://www.thaiarcheep.com)
ภาพที่ 13 ประโยชน์ของกล้วยทางด้านอาหาร
(2) การใช้ประโยชน์ทางด้านไม่ใช่อาหาร ได้แก่
- เศษเหลือจากการใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร ได้แก่ เปลือกกล้วย โดยเฉพาะเปลือกกล้วยน้ำว้าสุกที่เหลือจากการทำกล้วยตาก/อบ และกล้วยกวน ทางโรงงานแปรรูปจะนำไปตากแห้ง และใช้เป็นเชื้อเพลิงใน การกวนผลไม้แทนการใช้ฟืน ซึ่งให้ไฟค่อนข้างแรงและสม่ำเสมอ เนื่องจากเส้นใย/น้ำตาลในเปลือกกล้วยสุก
- เศษเหลือจากการเกษตร ได้แก่ ใบกล้วย ก้านกล้วย ต้นกล้วย และหน่อกล้วย สำหรับหน่อกล้วยใช้ทำพันธุ์ ใบกล้วยใช้ห่อขนม (ภาพที่ 14) เช่น ข้าวต้มผัดไส้กล้วย ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ขนมกล้วย ใช้ห่อแหนม หมูยอและปลาส้ม ใบกล้วยยังใช้ทำกระทงนํ้าจิ้ม และกระทงขนมเข่ง
- ก้านกล้วยและต้นกล้วยมีการนำไปดึงเป็นเส้นตากแห้ง เรียกว่า เชือกกล้วย แต่ก็ถูกแทนที่ด้วยเชือกพลาสติก มีการนำก้านกล้วยและต้นกล้วยมาทำเป็นเส้นแล้วถัก/ร้อย/สานเป็นประเป๋า ถาด และเสื่อ (ภาพที่ 14)
ก้านกล้วยและต้นกล้วย ส่วนหนึ่งมีการต้มเยื่อเพื่อทำกระดาษกล้วย ยางกล้วยเป็นปัญหาหนึ่งในกระบวนการต้มเยื่อ ดังนั้น เนื้อเยื่อกล้วยที่ได้ค่อนข้างหยาบ ไม่อาจตีเยื่อให้ละเอียดและกระจายเยื่อให้สมํ่าเสมอ การฟอกและการย้อมก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งในการทำกระดาษกล้วย กระดาษกล้วยที่ได้จึงมีสีคล้ำออกไปทางสีน้ำตาลอ่อน/แก่
(ที่มา : https://www.yaklai.com/wp-content/uploads/2016/06/56626414_ml.jpg) (ซ้าย)
(ที่มา : http://www.thaitambon.com/product/039982040) (ขวา)
ภาพที่ 14ประโยชน์ของกล้วยที่ไม่ใช่ด้านอาหาร เช่น ใบตองใช้ห่อขนม
และการผลิตของใช้ ของที่ระลึกจากเชือกกล้วย
(3) การใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมต่างๆ และในชีวิตประจำวัน (เบญจมาศ, 2548) ได้แก่
- ในพิธีทางศาสนา เช่น การเทศน์มหาชาติ และการทอดกฐิน มักใช้ต้นกล้วยประดับธรรมาสน์และองค์กฐิน
- ในพิธีตั้งขันข้าว หรือค่าบูชาครูหมอตำแย สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และไปขอให้หมอตำแยทำคลอดให้ จะต้องใช้กล้วย 1 หวี พร้อมทั้งข้าวสาร หมากพลู ธูปเทียนสำหรับการทำพิธีบูชาครูก่อนคลอด และเมื่อคลอดแล้วจะต้องอยู่ไฟก็จะใช้ต้นกล้วยทำเป็นท่อนล้อมเตาไฟ ป้องกันการลามของไฟ
- ในพิธีทำขวัญเด็ก เมื่อเด็กอายุได้ 1 เดือน กับ 1 วัน มีการทำขวัญเด็ก และโกนผมไฟ จะมีกล้วย 1 หวี เป็นส่วนประกอบในพิธี
- ในพิธีแต่งงาน มักมีต้นกล้วย และต้นอ้อยในขบวนขันหมาก (ภาพที่ 15) รวมทั้งมีขนมกล้วยและกล้วยทั้งหวีเป็นการเซ่นไหว้เทวดา และบรรพบุรุษ
- ในการปลูกบ้าน เมื่อมีพิธีทำขวัญยกเสาเอกจะใช้หน่อกล้วยผูกมัดไว้ที่ปลายเสาร่วมกับต้นอ้อย(ภาพที่ 15) และเมื่อเสร็จพิธีก็จะมีการลาต้นกล้วยและต้นอ้อยนั้น นำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จากนั้นประมาณ 1 ปี หรือเมื่อปลูกบ้านเสร็จแล้วพร้อมอยู่อาศัยก็มีกล้วยไว้กินพอดี
- ในงานศพ ในสมัยโบราณ มีการนำใบตองมารองศพ ก่อนนำศพวางลงในโลง นอกจากนี้ใบตองยังมีบทบาทสำคัญมากในพิธีกรรมต่างๆ โดยการนำมาทำกระทงใส่ของ ใส่ดอกไม้ และประดิษฐ์เป็นกระทง บายศรี
- ในชีวิตประจำวัน ใช้ใบตองในการห่อผักสดและอาหาร เนื่องจากใบตองสดมีความชื้น เมื่อนำมาใช้ห่อผักสดหรืออาหาร ความชื้นจะช่วยรักษาผักหรืออาหารให้สดอยู่เสมอ อีกทั้ง ใบตองยังทนทานต่อ ความเย็นและความร้อน เมื่อนำใบตองห่ออาหารแล้วเอาไปปิ้ง นึ่ง ต้ม ใบตองก็จะไม่สลายหรือละลายเหมือนพลาสติก จึงมีอาหารหลายอย่างที่ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่ง เช่น ห่อหมก ข้าวต้มผัด ขนมกล้วย ขนมตาล ขนม ใส่ไส้ หรือเอาไปปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง หรือนำไปต้ม เช่น ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มจิ้ม อาหารเหล่านี้เมื่อนำไปต้ม ปิ้ง หรือนึ่งแล้ว ยังทำให้เกิดความหอมของใบตองอีกด้วย สำหรับใบตองแห้งนำมาใช้ทำกระทงเพื่อใส่อาหาร ห่อกะละแม มวนบุหรี่ โดยใบตองแห้งก็จะมีกลิ่นหอมเช่นกัน
(ที่มา : http://www.weddingsquare.com/uploads/86428/522506_3871932479704_1575198948_n.jpg) (ซ้าย)
(ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/559085) (ขวา)
ภาพที่ 15 การใช้กล้วยในพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน และพิธียกเสาเอกบ้าน
(4) การใช้ประโยชน์ในด้านสรรพคุณทางยา (สุนทรีย์, 2543) ได้แก่
- แก้ท้องผูกเรื้อรัง การรับประทานกล้วยสุกสามารถรักษาอาการท้องผูกได้ เนื่องจากในกล้วยมีสารเพกติน (Pectin) ซึ่งเป็นเส้นใยอ่อนนุ่ม ช่วยเพิ่มกากอาหารในลำไส้ เมื่อกากอาหารมีมากจะไปกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการขับถ่ายได้ดีขึ้น
- แก้ท้องเสีย ให้รับประทานกล้วยดิบ เพราะในกล้วยดิบมีสารรสฝาดชื่อ แทนนิน (Tannin) สารนี้ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ทำให้อาการท้องเสียหายได้
- แก้อาการอ่อนเพลีย เนื่องจากกล้วยให้ค่าพลังงานมาก อีกทั้งมีวิตามินบำรุงร่างกายหลายชนิดโดยเมื่อร่างกายอ่อนเพลียให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุก จะรู้สึกสดชื่นขึ้น ประเทศจีนใช้กล้วยดิบที่แก่ไปนึ่งให้สุก นำมาตากแห้ง บดเป็นผงใช้เป็นตัวยาชูกำลัง
- ประจำเดือนขัด แก้ได้โดยใช้ดอกกล้วย 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ 3 แก้ว ทิ้งให้เดือดประมาณ 20 นาที รินน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว อาการประจำเดือนขัดจะหายไป
- แก้ร้อนใน โดยใช้รากกล้วยดิบ 5-6 ราก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำลงไปจนท่วมราก ต้มให้เดือด 15 นาที แล้วนำน้ำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว ทานวันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร จะช่วยแก้อาการร้อนใน
- แก้อาการปวดฟัน นำเอารากกล้วย 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปต้มกับน้ำให้เดือด 15 นาที เติมเกลือลงไปให้มีรสเค็มจัด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำน้ำนั้นมาอมทุกครั้งที่รู้สึกปวดฟัน จะทำให้อาการปวดฟันทุเลาลง
- กำจัดกลิ่นปาก ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าหรือกล้วยสุกชนิดอื่น หลังจากตื่นนอนตอนเช้าเป็นประจำ แล้วค่อยแปรงฟัน กลิ่นปากก็จะทุเลาลง
- มือลอกเป็นขุย หรือเป็นผื่นแดง ใช้เปลือกกล้วยหอมถูบริเวณที่เป็นขุย ลอก หรือเป็นผื่นแดงบ่อยๆ เป็นประจำทุกวัน มานานอาการนี้จะหายไป
- กระเพาะมีกรดมากเกินไป ทำให้มีอาการแสบ เจ็บหน้าอก เรอบ่อยๆ ให้นำต้นและใบแห้งของกล้วยมาเผาแล้วบดเถ้าให้ละเอียด ใช้ชงแบบชาดื่มทุกวันวันละ 1 ช้อนชา หลังอาหาร ขี้เถ้ากล้วยมีฤทธิ์เป็นด่างจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
- แก้เคล็ดขัดยอก นำใบกล้วยอ่อนมาอังไฟให้ร้อนแล้วนำไปพันบริเวณที่เคล็ดขัดยอก ทิ้งไว้สักพักอาการจะหายไป
- ช่วยให้ผิวสวย การรับประทานกล้วยน้ำว้าสุกอย่างน้อยวันละ 3 ผล เป็นประจำ จะช่วยให้ผิวมีน้ำมีนวล ผิวไม่แห้ง
- ใช้ในการห้ามเลือด หยดยางกล้วยจากก้าน หรือยอดหน่อกล้วยลงบนแผล เลือดเมื่อถูกยางกล้วยจะแข็งตัวและหยุดไหล แต่จะมีอาการแสบเช่นเดียวกับการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
- ใช้ถอนพิษงู เมื่อถูกงูกัดให้นำต้นกล้วยที่ตัดยาวประมาณ 1 ฟุต วางกดลงไปที่บริเวณบาดแผลยางจากต้นกล้วยจะทำหน้าที่สมานแผล และสลายพิษงู กดไว้ 10-15 นาที จึงเอาต้นกล้วยออก แผลที่ถูกงูกัดจะไม่ปวด และไม่บวม
- < พริกแกง