A comparison of the amount of AOX in effluent before entering and after leaving wastewater treatment system in pulp and paper mills in Thailand

Poovadee Tuchinda, Korpong Hongsri

Abstract


Pulp and paper industry is one of the leading industries that has a high impact on environment, especially effluent from the bleaching process using chlorine and its compounds. The byproducts from this bleaching process are AOXs (Adsorbable organic halogen) which are very toxic, persistency and bioaccumulation. Over 80 percent of pulp and paper mills in Thailand use chlorine and its compounds as main chemicals in bleaching process, therefore, the objective of this research was to analyse the amount of AOX produced from the bleaching process in effluent before entering and after leaving wastewater treatment system and then compare those results. Effluent samples were collected from all 5 pulp mills in Thailand every 3 month for 3 years (2009-2011). It was found that, where using chlorine dioxide as the main bleaching chemical, there was more amount of AOX in the effluent from the pulp mills using eucalyptus as raw material than in the effluent from the pulp mills using bagasse as raw material. For those pulp mills using eucalyptus as raw material, there was more amount of AOX in the effluent from pulp mills using chlorine as the the main bleaching chemical than in the effluent from pulp mills using chlorine dioxide as the the main bleaching chemical. Season and rainfall had no effect on the amount of AOX in the effluent samples. It was also found that the amount of AOX in effluent decreased after leaving wastewater treatment system. The Thai Green Label had used the data from this research to modify its standard for paper products in 2011.

 

บทคัดย่อ


อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อและกระดาษจัดว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนํ้าทิ้งจากขั้นตอนการฟอกเยื่อซึ่งใช้คลอรีนและสารประกอบคลอรีนที่ก่อให้เกิดสารประกอบ AOX (Adsorbable Organic Halogen) มีความเป็นพิษสูง ไม่สลายตัวโดยธรรมชาติ และสามารถสะสมในสิ่งมีชีวิต โรงงานผลิตเยื่อและกระดาษในประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 80 ใช้คลอรีนและสารประกอบคลอรีนในการฟอกเยื่อ งานวิจัยนี้จึงได้ทดสอบหาปริมาณสารประกอบ AOX ที่เกิดจากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษในน้ำทิ้งก่อนเข้าและหลังออกจากระบบบำบัดนํ้าเสีย พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลที่ได้ โดยเก็บตัวอย่างจากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษทุกโรงงานภายในประเทศไทยซึ่งมีทั้งหมด 5 โรงงาน ดำเนินการทุก 3 เดือนเป็นระยะเวลา 3 ปี (2552-2554) พบว่า นํ้าทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษที่ใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบในการผลิตมีปริมาณสารประกอบ AOX มากกว่าโรงงานที่ใช้ชานอ้อยเป็นวัตถุดิบโดยที่ทั้งสองโรงงานใช้คลอรีนไดออกไซด์เป็นสารเคมีในการฟอกขาวเหมือนกันส่วนโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษที่ใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบ พบว่าโรงงานที่ใช้คลอรีนในการฟอกขาวจะมีปริมาณสารประกอบ AOX ที่ตกค้างในน้ำทิ้งมากกว่าโรงงานที่ใช้คลอรีนไดออกไซด ์ โดยที่ฤดูกาลหรือปริมาณน้ำฝนในธรรมชาติไม่มีผลต่อปริมาณสารประกอบ AOX ที่ตกค้างในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตและน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษเมื่อผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแล้วปริมาณสารประกอบ AOX ที่ตกค้างลดลง ซึ่งสำนักงานเลขานุการโครงการฉลากเขียวได้นำข้อมูลจากงานวิจัยนี้ไปใช้ปรับปรุงข้อกำหนดฉลากเขียวผลิตภัณฑ์กระดาษที่มีการทบทวนใหม่ในปี พ.ศ. 2554


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.