Development of automatic meniscus adjustment instrument การพัฒนาเครื่องปรับระดับเมนิสคัสแบบอัตโนมัติ

วีระชัย วาริยาตร์, อัจฉราวรรณ วัฒนหัตถกรรม, ศักดิ์สิทธิ์ ดีอ่ำ

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องปรับระดับเมนิสคัสแบบอัตโนมัติ โดยได้ทำการออกแบบโครงสร้างของชุดควบคุมการปรับระดับเมนิสคัสแบบอัตโนมัติ และโปรแกรมซอฟแวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการทำงาน  โครงสร้างของเครื่องประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ 3 ส่วนหลัก คือ ชุดจับปิเปตต์ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับการจับปิเปตต์ขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ 1 มิลลิลิตร ถึง 100 มิลลิลิตร สามารถควบคุมการปรับระดับ-ขึ้นลงและอัตราเร็วได้ด้วยมอเตอร์ ชุดดูดและปล่อยของเหลวให้เข้าออกปิเปตต์ด้วยมอเตอร์ (Water pump) ที่จะเชื่อมต่อกับโปรแกรมการประมวลภาพแบบ Real time และชุดจับยึดอุปกรณ์ขยายภาพแบบดิจิทัลไมโครสโคปที่เคลื่อนที่ได้ทั้งแนวแกน x, y และ z 

ส่วนโปรแกรมซอฟแวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องปรับระดับเมนิสคัสที่นักวิจัยได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเองภายใต้ชื่อ DSS Pipette calibration สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของการควบคุมตำแหน่งของปิเปตต์ด้วยมอเตอร์ การควบคุมการดูดปล่อยของเหลวด้วยปั๊ม การแสดงภาพบนจอคอมพิวเตอร์แบบ Real time เพื่อใช้ตรวจสอบระดับของของเหลว และการควบคุมของเหลวที่ตำแหน่ง Meniscus ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับระดับ Meniscus ให้อยู่ตำแหน่งที่ถูกต้อง

ผลการทดสอบประสิทธิภาพของการใช้เครื่องปรับระดับเมนิสคัสแบบอัตโนมัติเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วิธีการตวงวัดแบบเดิมที่ไม่เป็นระบบอัตโนมัติ พบว่าการใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมานี้ให้ผลการวัดปริมาตรของเครื่องแก้วชนิดปิเปตต์ที่มีความแม่นและความเที่ยงของการวัดมากขึ้น (Accuracy and precision) อีกทั้ง ยังช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากทักษะความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงาน (Human error) ในการปรับระดับเมนิสคัสให้อยู่บนระดับขีดบอกปริมาตร (Meniscus setting) ที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถปรับระดับเมนิสคัสให้อยู่ตำแหน่งขีดบอกปริมาตรได้

Development of automatic meniscus adjustment instrument

This research is aimed to develop an automatic meniscus adjustment instrument. Its structure and computer software for system controlling are designed and constructed. This designed instrument is equipped with three main parts.  Firstly, a pipet holder set is designed for holding the pipette with nominal capacities in the range of 1 ml to 100 ml. The speed and the movement in up-down direction are controlled by motor. Secondly, the set of the liquid suction and release system is the part controlled by the water pump connected to the computer programme and linked to the digital image processing system in real time. Thirdly, the microscope holder set is for holding the digital microscope device, which can move in x y and z axis directions. Our computer software, named as DSS Pipette calibration, is also specially developed to control the entire system of the automatic meniscus adjustment instrument. It efficiently works for operating activities such as the motorized adjustment of the pipette position, the pump controller for suction and release system, the presence of the real-time image processing on the computer screen to view the meniscus, and the meniscus adjustment at the graduation line.

The performance of the automatic meniscus adjustment instrument can be examined by the actual volume determination of pipettes. The results obtained from using the developed device show the better measurement accuracy and precision when compared with the result obtained from using the conventional method. This tool also plays an important role in reducing the human error from meniscus setting at the graduation line.


Keywords


Meniscus setting; Measurement accuracy; Measurement precision; การปรับระดับเมนิสคัส; ความแม่นการวัด; ความเที่ยงการวัด

Full Text:

PDF

References


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณเกี่ยวกับมาตรฐานการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก. ราชกิจจานุเบกษา. 21 เมษายน 2547, เล่มที่ 121 ตอนพิเศษที่ 43ง, 40-42.

สุภาณี ดวงธีรปรีชา จิรานุช แจ่มทวีกุล ประภาพรรณ สุขพรรณ์ และปรัชญาพร อินทองแก้ว. การพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียมในยาสมุนไพร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2558, ฉบับพิเศษ, 1 กรกฎาคม–กันยายน , 20-33.

จิตรา ชัยวัฒน์ จิรานุช แจ่มทวีกุล สันติพงศ์ วงศ์เพ็ญทักษ์ และปรัชญาพร อินทองแก้ว. ความปลอดภัยของยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2557, กรกฎาคม– กันยายน, 56(3), 123-124.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง. ราชกิจจานุเบกษา. 14 มิถุนายน 2553, เล่มที่ 127 ตอนพิเศษที่ 74 ง, 46-48.

นิภาภรณ์ ลักษณ์สมยา และจินตนา กิจเจริญวงศ์. การประเมินความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์โปรตีนในผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลืองโดยการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2558, ฉบับพิเศษ 1 กรกฎาคม–กันยายน, 54-71.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 295 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุทำจากพลาสติก. ราชกิจจานุเบกษา. 6 มกราคม 2549, เล่มที่ 123 ตอนพิเศษ 1 ง, 10-11, เอกสารแนบท้าย 1-3.

GOETZ, GRETCHEN. BPA Banned from Baby Bottles, Sippy Cups [online]. Food Safety News, 18 July 2012. [viewed 11 June 2016]. Available from: http://www.foodsafetynews.com/2012/07/bpa-banned-from-baby-bottles-sippy-cups/#.V2DPctJ97cs.

อุมา บริบูรณ์, ศศิธร หอมดำรงค์วงศ์ และภัสสะริน สายสุวรรณ. การศึกษาปริมาณ บิสฟีนอล เอ ฟีนอล และ พี-ที-บิวทิลฟีนอล ที่แพร่ออกมาจากขวดนมและภาชนะบรรจุอาหารสำหรับเด็กชนิดพอลิคาร์บอเนตที่สภาวะต่าง ๆ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2558, กรกฎาคม – กันยายน, 57(3), 205-218.

บริษัทตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ. วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลส์ [ออนไลน์]. ฉ.5, พฤษภาคม 2557. [อ้างถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงจาก: http://ostc.thaiembdc.org/13th/wp-content/uploads/ 2014/06/05 -May-2014-newsletter_final.pdf

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร. สิงคโปร์แจ้งเตือนปัญหาสารตกค้างในพืชผักส่งออกจากไทย [ออนไลน์]. 5 กุมภาพันธ์ 2558. [อ้างถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงจาก: http://www.doa.go.th/psco/index.php?option=comcontent&view=article&id=234:2015-02-05-13-31-43&catid=42:2010-08-06-04-08-08&Itemid=71.

ผู้จัดการออนไลน์. พบยาฆ่าแมลง-สารเคมีปนเปื้อนสินค้ากว่า 200 รายการ มะกัน-อียูตีกลับ. ผู้จัดการ 360 รายสัปดาห์ [ออนไลน์]. 5 ตุลาคม 2549. [อ้างถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงจากhttp://www2.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000124378

BRITISH STANDARD INSTITUTE and EUROPEAN COMMITTEE FOR STANDARDIZATION AND INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. BS EN ISO 4787:2011. Laboratory glassware – volumetric instruments – methods for testing of capacity and for use. 2011.

AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS. ASTM E542-01 (Reapproved 2012). Standard practice for calibration of laboratory volumetric apparatus. 2016.

DEPARTMENT OF SCIENCE SERVICE. CENTER FOR LABORATORY PROFICIENCY TESTING. Final Report 2018 : Calibration of volumetric pipette. 2018.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 648:2008. Laboratory glassware – Single-volume pipettes. 2008.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 835:2007. Laboratory glassware – Graduated pipettes. 2007.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. Technical report ISO/TR 20461:2000. Determination of uncertainty for volume measurements made using the gravimetric method. 2000.

JOINT COMMITTEE FOR GUIDES IN METROLOGY. JCGM 100:2008. Evaluation of measurement Data – Guide to the expression of uncertainty in measurement. 2008.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION/INTERNATIONAL ELECTROTECHNICAL COMMISSION. ISO/IEC 17043:2010. Conformity assessment general requirements for proficiency testing. 2010.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.