Evaluation of Material Quality and Study of Released Elements from Aluminium Electric Pan การประเมินคุณภาพวัสดุและการศึกษาการละลายของธาตุจาก กระทะไฟฟ้าอะลูมิเนียม

Duangkamol Chaosrimud, Jitwilai Waluvanarak, Jirapan Roma, Nootjarin Phonhong

Abstract


จากข้อสังเกตของประชาชนในสื่อออนไลน์และคำถามจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องการปนเปื้อนของสารอันตรายที่สามารถละลายออกมาจากการใช้กระทะไฟฟ้าขณะปรุงอาหารเนื่องจากสภาพผิวส่วนกระทะของกระทะไฟฟ้าอะลูมิเนียมเปลี่ยนไปหลังใช้ปรุงอาหาร ดังนั้น วศ.ได้สุ่มตัวอย่างกระทะไฟฟ้าประเภทอะลูมิเนียมจากตลาดในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 13 ตัวอย่าง ประกอบด้วย กระทะแบบ1 จำนวน 9 ตัวอย่างและกระทะแบบ2 จำนวน 4 ตัวอย่าง เพื่อประเมินคุณภาพของอะลูมิเนียมส่วนกระทะ และศึกษาการละลายของธาตุต่าง ๆ จากกระทะไฟฟ้า โดยใช้ตัวแทนอาหาร 4 ประเภท คือ น้ำปราศจากไอออน น้ำประปา สารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น ร้อยละ 1 และสารละลายกรดซิตริกความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ในสภาวะต้มเดือด นาน 2 ชั่วโมง ผลการประเมินคุณภาพของอะลูมิเนียมส่วนกระทะพบว่าทุกตัวอย่างเป็นวัสดุประเภทอะลูมิเนียมโลหะผสม โดยร้อยละ70 ของตัวอย่างกระทะไฟฟ้าแบบ 1 ไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดตามมาตรฐาน ขณะที่กระทะแบบ 2 ผ่านเกณฑ์กำหนดทุกตัวอย่าง การศึกษาการละลายของธาตุต่างๆ จากกระทะไฟฟ้าอะลูมิเนียมทั้ง 2 แบบ พบอะลูมิเนียม เหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีสและสังกะสี ละลายออกมาปนเปื้อนกับตัวแทนอาหารทั้ง 3 ประเภท คือ น้ำประปา สารละลายโซเดียมคลอไรด์ สารละลายกรดซิตริก โดยอะลูมิเนียมที่ละลายจากกระทะไฟฟ้าแบบ 1 ทุกตัวอย่างมีปริมาณสูงกว่าค่า specific released limit (SRL) ขณะที่กระทะไฟฟ้าแบบ 2 พบปริมาณอะลูมิเนียม ไม่เกินเกณฑ์ สำหรับเหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีสและสังกะสีจากตัวอย่างทั้ง 2 แบบ มีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์กำหนด

From observations of social media and a question of Office of Consumer Protection Board (OCPB) about contamination of toxic substances from aluminium electric pan because a changing of surface’s appearance after using. DSS collected 13 aluminium electric pan samples (9 samples of type 1 and 4 samples of type 2) from local markets in Bangkok in order to evaluate material quality and study the released elements from electric pan by using 4 stimulants (DI water, tap water, 1% NaCl and 0.05% Citric acid) at boiling condition for 2 hours. Results showed that material of all samples was aluminium alloy and 70% of type 1 sample did not comply with standard but all samples of type 2 complied with standard. The study of released element from sample presented that aluminium, iron, manganese, magnesium and zinc could be released from all samples by using 3 stimulants (tap water, 1%NaCl and 0.05% citric acid). In addition to, concentration of released aluminium from all samples of type 1 were higher than specific released limit (SRL) meanwhile sample type 2 was less than limit. In case of type 2, concentration of iron, magnesium, manganese and zinc were lower than limit.         


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.