ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

          5 กรกฎาคม 2559 ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ โครงการ “ประชารัฐร่วมใจยกระดับโอ-ทอป ด้วย วทน.” โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน  ดึงรัฐ-เอกชน ร่วมยกระดับ OTOP แบบครบวงจร อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อย. สมอ. สยามพิวรรธน์ ไทยเบฟ  SCG Chemical ปตท. ททท.  หลังพบมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเกินความคาดหวังกว่า 1,000 ราย ณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)           

          ตามที่รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) โดยการมอบ “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” ที่เป็นการให้บริการ 6 เรื่อง คือ พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบกระบวนการผลิต ออกแบบเครื่องจักร และพัฒนาระบบมาตรฐาน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการโอทอปเริ่มต้น   (OTOP Start Up) เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนโอทอป ผู้ประกอบการโอทอปที่ขึ้นทะเบียนแล้วและต้องการยกระดับดาว และผู้ประกอบการโอทอปที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน และต้องการเพิ่มศักยภาพในการส่งออกนั้น 

          ก้าวต่อไปของการทำงานนี้ คือ การดำเนินงานเชิงระบบในการยกระดับโอทอป โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันทางการเงิน และสถาบันทางการศึกษารวม 35 หน่วยงาน ตามแนวทางประชารัฐที่เกิดจากความตั้งใจของทุกฝ่าย และมีแนวทางการจัดทัพในเวลาอันสั้นเพื่อดำเนินงานร่วมกันในปี 2560 ได้แก่ 

          ด้านการส่งเสริม พัฒนา และสนับสุนนชุมชน มีหน่วยงาน 3 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มหัตถอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ SCG Chemical ร่วมกันดำเนินงานการคัดกรองกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นทำผลิตภัณฑ์ โอทอป กลุ่มผู้ประกอบการปัจจุบันที่ต้องการยกระดับดาว กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออก ที่มีศักยภาพเพื่อยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 

          ด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยหน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ (วว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)(สนช.) และสถาบันการศึกษาเครือข่ายพันธมิตร 7 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกันดำเนินงานนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากการวิจัยและพัฒนา ที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ นวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการโอทอป 

          ด้านการเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน มีหน่วยงาน 3 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกันดำเนินงานการสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่าย มีหน่วยงาน 10 แห่ง ประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลจำกัด บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด บริษัทสยามพิวรรธน์จำกัด มูลนิธิสำนักงานพัฒนาตลาดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันดำเนินงานการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และหน่วยงานสนับสนุนด้านการเงินและการธนาคาร มีหน่วยงาน 6 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ร่วมกันดำเนินงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการโอทอป 

          ดร.พิเชฐฯ กล่าวว่า จากการเดินทางไปพบผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลก สิ่งหนึ่งสำคัญคือการเชื่อมโยงการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในประเทศอาเซียน  ซึ่งประเทศจีนมีการพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันขึ้นอย่างรวดเร็วในเกือบทุกมิติ รวมทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างชัดเจน และ ในวันนี้ประเทศไทยมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นผู้นำของอาเซียนด้านเทคโนโลยี ในการเป็นประตูเชื่อมพลังการขับเคลื่อนให้แก่ทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนานาประเทศกล้าร่วมลงทุนกับไทย 

          ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มบริษัทข้ามชาติ ที่เข้ามาร่วมลงทุนในงานวิจัยและนวัตกรรม โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  ทำหน้าที่รวมพลังเชิญชวน 2.กลุ่มบริษัทไทยขนาดใหญ่ที่ร่วมสนับสนุนประชารัฐในมิติต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคม ซึ่งสถิติของการลงทุนการวิจัยของประเทศไทยวันนี้มีมากกว่า 0.6% ต่อ GDP ซึ่งจากเดิมเพียง 0.25 % ต่อ GDP ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลนำโดยภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุน โดยรัฐบาลทำหน้าที่สนับสนุนการใช้มาตรการต่างๆ เช่น มาตรการทางภาษี มาตรการทางการผลิตกำลังคน 3.กลุ่มสตาร์ทอัพ เป็นกลุ่มที่สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศไทยในอนาคตและในช่วงต้นปี พ.ศ.2560 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ตั้งเป้าผนึกกำลังร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 50 แห่ง เพื่อสร้าง อีโคซิสเต็ม สำหรับสตาร์ทอัพให้แก่อาจารย์และนักศึกษา นอกจากนี้ ในปลาย พ.ศ. 2559  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีแผนทีจะพัฒนาชุมชนสตาร์ทอัพ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของสยามสแควร์ และกระจายสู่ภูมิภาคต่างๆ เช่น ถนนนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนไอเดียธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้วยกัน โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะทำหน้าที่สนับสนุนอย่างเต็มขีดความสามรถเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้า โอทอป ให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

          ซึ่งผลแห่งความสำเร็จนี้ จะทำให้ผู้ประกอบโอทอปและเศรษฐกิจฐานรากไทย ก้าวสู่ความมั่งคั่งและมั่นคงอย่างยั่งยืน มีรายได้ เกิดการสร้างงาน และเกิดนวัตกรรมจนเป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากประมาณ 2,700 ล้านบาทต่อปีต่อไป

-----------------------------------------------------

Credit : ข่าว : จิตลดา คณีกุล ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี