ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

วันที่ 16 มกราคม 2561 ณ ห้องโถง อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ/ กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จัดแถลงข่าว “โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานด้วยนวัตกรรม ปี 2561” โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ โดยมี ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานการแถลงข่าวและเสวนา พร้อมด้วยนางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พร้อมด้วย น.ส. อุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และผู้บริหารเข้าร่วมงานแถลงข่าวและเสวนา

ดร.นพ. ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับกรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ดำเนินการถ่ายทอดนวัตกรรมด้านสิ่งทอสู่ผู้ประกอบการชุมชน OTOP และ SMEs ใน 10 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานสู่สากล ครบวงจร ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 กลุ่ม 500 ราย 100 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ทั้งนี้จะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2561 และจะมีการนำผลงานจากโครงการมาจัดแสดงในเดือนกันยายน 2561 โดยคาดหวังว่า จะช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 20% และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น 10%

นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้นำนวัตกรรม Color ID labeling ซึ่งจะช่วยให้ทราบที่มาของสีย้อมธรรมชาติ และการยกระดับผ้าฝ้ายเข็นมือและผ้าไหมพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติของไทยที่สวยงาม ให้เทียบเท่ากับ ผ้าแบรนด์ระดับโลก เช่น D&G โดยมีนักการตลาดซึ่งมีประสบการณ์ทำงานร่วมกับ American Paris Academy ดีไซเนอร์ระดับสากล และ Brand Manager จาก Club 21 มาเป็นที่ปรึกษาด้วยอย่างไรก็ตาม

ด้าน ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานด้วยนวัตกรรม เป็นโครงการภายใต้แนวคิด การใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกับการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ผสมผสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์จังหวัด ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานให้มีรูปแบบมาตรฐานสากลร่วมสมัย เพิ่มมูลค่า สร้างความแตกต่าง การยกระดับ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยนวัตกรรมให้เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด สร้างศักยภาพและความยั่งยืนให้กับสินค้าท้องถิ่นผลิตภัณฑ์โอทอปและพร้อมก้าวสู่เวทีโลกต่อไป

สำหรับ รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้นำนวัตกรรมสิ่งทออัจฉริยะ วัสดุเส้นใยใหม่ Functional Textile และ การย้อมสีจากบัวแดงจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต การถ่ายทอด ความรู้ในการเลือกใช้วัสดุเส้นใยใหม่ๆ และองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่ทำให้ผ้ามีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น การตกแต่งสะท้อนน้ำ การเพิ่มกลิ่นหอม ผ้าป้องกันรังสียูวี ผ้าที่ซักล้างสิ่งสกปรกออกง่าย ผ้าที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น เช่นความคงทนของสี การเลือกใช้สีและสารเคมีในการย้อมที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการออกแบบการเลือกใช้เทรนด์สีที่ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค อันจะก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่า สร้างความแตกต่างและยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยนวัตกรรมให้เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ยังได้เล็งเห็นความสำคัญในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผ้าทออีสาน แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และความสำคัญของผ้าทอให้คงอยู่กับวัฒนธรรมไทยตลอดไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 

ข่าว : สุกฤต แก้วบุญ ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม