ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

  

 

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนา“โครงการการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs เพื่อรายได้ที่ยั่งยืน” เป้าหมายสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน SMEs ในการนำเทคโนโลยีลงพื้นที่เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้รับมาตรฐาน อย. หรือ มผช. ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการให้บริการของ วศ. ตอบโจทย์การนำผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปแก้ไขปัญหาได้ ตรงตามความต้องการ ที่สำคัญเป็นการบูรณาการร่วมกับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ส่งเสริมการเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดงาน และ นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ ซึ่งมีผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน ทั้งในส่วนของภาคกการผลิต ผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชน SME จากจังหวัดตรัง กระบี่ สตูล พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ระนอง บึงกาฬ ชุมพร และนราธิวาส มหาวิทยาลัย และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน จำนวน 357 คน วันที่ 28 เมษายน 2560 ณ โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง

ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นงานสำคัญของรัฐบาลในแผนบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่ง กรมวิทยาศาสตร์บริการได้นำผลงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ นวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ OTOP เพื่อพัฒนาสินค้า OTOP ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานระดับต่างๆ ทั้งในประเทศ เช่น มผช. อย. การคัดสรรดาว และระดับสากลในการส่งขายต่างประเทศ

กรมวิทยาศาสตร์บริการมีความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีด้านอาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก ครอบคลุมครบทุกกลุ่ม OTOP มุ่งเน้นถ่ายทอดเทคโนโลยี แก่ผู้ประกอบการ และพร้อมเชื่อมโยงกับการดำเนินงานตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาล ให้มีการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรและปัจจัยการผลิตในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายแบบครบวงจร ซึ่งผลแห่งความสำเร็จนี้จะทำให้ผู้ประกอบการ OTOP และเศรษฐกิจฐานรากไทยก้าวสู่ความมั่งคง มั่นคั่ง อย่างยั่งยืน มีรายได้ เกิดการสร้างงาน และเกิดนวัตกรรมจนเป็นที่รู้จักในตลาดทุกระดับได้ ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสดีที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้นำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่เป็นการพัฒนาและส่งเสริมโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการมาจัดนิทรรศการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ 1.ผงเครื่องแกงส้มกึ่งสำเร็จรูป 2.ครีมเทียมผง 3.เครื่องประดับจากเส้นใยพืช 4.การตกแต่งสีลายหินอ่อนด้วยเทคนิค Swirl Color 5.การสกัดเปลือกมังคุดยับยั้งเชื้อก่อให้เกิดสิว 6.ผ้าทอเส้นใยจากรังไหม และ 7.โคมไฟเส้นใยจากรังไหม รวมทั้งกิจกรรมสาธิตวิธีการทำสอบตัวอย่างสำคัญที่จะช่วยยกระดับสินค้า OTOP ได้แก่ 1.การทดสอบความสะอาดของมือกับการสัมผัสวัสดุโดยใช้วิธี swab test 2.การทดสอบคุณภาพน้ำมันทอดซ้ำ 3.การทำเส้นใยพืชให้มีความอ่อนนุ่ม 4.การวัดค่า กรด-เบส (ค่าpH)ของผลิตภัณฑ์โลชั่นน้ำมันมะพร้าว 5.การวัดความคงสภาพเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์แชมพู 6.การวัดค่า pH ของผลิตภัณฑ์ผ้า และ 7.การทดสอบสีตก

นอกจากนี้ภายในงานสัมมนาฯ ยังได้จัดพิธีมอบโล่แก่ผู้ประกอบการดีเด่น ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นกำลังใจ เป็นตัวอย่างการรักษาคุณภาพสินค้า และส่งเสริมการให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้จัดกิจกรรมการเสวนาเรื่อง “การเพิ่มมูลค่าสินค้า OTOP อย่างยั่งยืน” เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจและรับทราบถึงขั้นตอนการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ถูกต้อง สามารถเข้าถึงการให้บริการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ อีกทั้งยังได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และชี้แจงแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งในกลุ่ม อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ ของประดับตกแต่ง ของที่ระลึก ผ้า เครื่องแต่งกาย และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม