ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       น้ำบาดาล (Groundwater) คือ ส่วนของน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ในเขตอิ่มน้ำ รวมถึงธารน้ำใต้ดิน โดยทั่วไป หมายถึง น้ำใต้ผิวดินทั้งหมด ยกเว้นน้ำภายในโลก ซึ่งเป็นน้ำอยู่ใต้ระดับเขตอิ่มน้ำ แต่น้ำบาดาลตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 หมายความว่า น้ำใต้ดินที่เกิดอยู่ในชั้นดิน กรวด ทราย หรือหิน ที่อยู่ลึกจากผิวดินเกินความลึกที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่จะกำหนดความลึก น้อยกว่า 10 เมตร มิได้ ประเทศไทยมีการพัฒนานำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ทั้งด้านการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

       ลักษณะทั่วไปของน้ำบาดาลเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากสารแขวนลอย สารอินทรีย์เคมี และเชื้อโรคต่างๆ ไม่มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ แต่ขณะที่ไหลผ่านไปตามชั้นดินหรือชั้นหิน อาจจะละลายเอาแร่ธาตุเข้ามาปะปน รวมทั้งถูกปนเปื้อนด้วยน้ำที่มีคุณภาพด้อยกว่า ส่งผลให้คุณภาพของน้ำบาดาลเปลี่ยนไป แต่ละพื้นที่น้ำบาดาลจะมีคุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งมีคุณภาพดีตั้งแต่จืดใช้ดื่มได้ จนถึงคุณภาพดีปานกลางเหมาะเป็นน้ำใช้เพื่อการอุปโภค แต่ในบางพื้นที่พบว่าคุณภาพน้ำบาดาลมีความกระด้างและเหล็กสูง หรือบางครั้งอาจจะพบน้ำเค็ม โดยคุณภาพน้ำบาดาลสามารถวิเคราะห์ได้จากคุณลักษณะของน้ำบาดาล 4 ลักษณะ คือ

       1. คุณลักษณะทางกายภาพ เป็นลักษณะภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า น้ำบาดาลที่ดีจะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและรส น้ำที่เหมาะสำหรับดื่มควรเป็นกรดเล็กน้อย ซึ่งน้ำบาดาลถ้าใช้ดื่มอาจต้องมีค่า pH ใกล้เคียง 7 หรือต่ำกว่า 7 เล็กน้อย น้ำที่ดีควรมีความหนาแน่นเท่ากับ 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนน้ำคุณภาพไม่ดี ค่าความหนาแน่นจะมากกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่าน้ำมีสิ่งเจือปนอยู่มาก โดยความขุ่น (Turbidity) เป็นคุณลักษณะทางกายภาพที่สำคัญจะเป็นตัวบอกลักษณะของสารแขวนลอยอื่นๆ น้ำบาดาลที่ดีควรมีความขุ่นต่ำ ปราศจากสิ่งแขวนลอยต่างๆ

       2. คุณลักษณะทางเคมี ส่วนประกอบทางเคมีของน้ำบาดาล ถ้าเป็นน้ำจืด น้ำบาดาลจะมีปริมาณเกลือแร่ต่ำ ต่างกับน้ำบาดาลที่เป็นน้ำเค็ม ซึ่งจะมีปริมาณเกลือแร่สูง เนื่องจากน้ำบาดาลไหลผ่านชั้นดิน ชั้นหิน ไปกักเก็บในชั้นหินอุ้มน้ำ มีตั้งแต่หินร่วนไปจนถึงหินแข็งหลายชนิด จึงทำให้น้ำบาดาลมีปริมาณเกลือแร่ชนิดต่างๆ ละลายอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน
       3. คุณลักษณะที่เป็นพิษ น้ำบาดาลมักมีความสะอาด ปราศจากสิ่งเจือปนที่เป็นพิษ เพราะได้รับการกลั่นกรองตามธรรมชาติโดยชั้นดินและหินต่างๆ ก่อนที่จะถูกกักเก็บไว้ในแหล่งน้ำบาดาลใต้ดิน แต่หากตรวจพบสิ่งที่เป็นพิษก็สามารถเป็นดัชนีบ่งชี้ได้ว่าบ่อน้ำบาดาลถูกปนเปื้อนโดยสิ่งแวดล้อมภายนอก
       4. คุณลักษณะทางบักเตรี น้ำบาดาลในธรรมชาติจะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ หากมีการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลโดยการเจาะ การสร้างบ่อที่ไม่ได้มาตรฐาน ตลอดจนการปล่อยน้ำเสียลงในบ่อน้ำบาดาล อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ยิ่งเมื่อบ่อน้ำบาดาลใช้ไปนานๆ การรั่วซึมของบ่อจากบริเวณข้างๆ มีส่วนทำให้สิ่งปนเปื้อนและจุลินทรีย์ไหลเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล คุณลักษณะทางชีวภาพของน้ำบาดาลสามารถวิเคราะห์จากแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม (Coliform bacteria) และอีโคไล (E.coli) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ หากพบแบคทีเรียเหล่านี้แสดงว่าชั้นน้ำบาดาลมีการปนเปื้อนของอุจจาระ
       น้ำบาดาลสำหรับการอุปโภคบริโภค นอกจากความใสและปราศจากเชื้อโรคแล้ว ต้องมีแร่ธาตุและสารละลายต่างๆ ไม่เกินมาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลกที่สามารถนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้อย่างปลอดภัย
 
                                  ตารางแสดงมาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค
 

มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค

คุณลักษณะ

ดัชนีคุณภาพน้ำ

หน่วย

ค่ามาตรฐาน

เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม

เกณฑ์อนุโลมสูงสุด

ทางกายภาพ

1. สี (Colour)

แพลทินัมโคบอลต์

5

15

2. ความขุ่น (Turbidity)

หน่วยความขุ่น

5

20

3. ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

-

7.0-8.5

6.5-9.2

ทางเคมี

4. เหล็ก (Fe)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 0.5

1.0

5. แมงกานีส (Mn)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 0.3

0.5

6. ทองแดง (Cu)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 1.0

1.5

7. สังกะสี (Zn)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 5.0

15.0

8. ซัลเฟต (SO4)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 200

250

9. คลอไรด์ (Cl)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 250

600

10. ฟลูออไรด์ (F)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 0.7

1.0

11. ไนเตรด (NO3)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 45

45

12. ความกระด้างทั้งหมด            (Total Hardness as CaCO3)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 300

500

13. ความกระด้างถาวร (Non carbonate hardness as CaCO3)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 200

250

14. ปริมาณสารทั้งหมดที่ละลายได้  (Total disslved solids)

มก./ล.

ไม่เกินกว่า 600

1,200

สารพิษ

15. สารหนู (As)

มก./ล.

ต้องไม่มีเลย

0.05

16. ไซยาไนด์ (CN)

มก./ล.

ต้องไม่มีเลย

0.1

17. ตะกั่ว (Pb)

มก./ล.

ต้องไม่มีเลย

0.05

18. ปรอท (Hg)

มก./ล.

ต้องไม่มีเลย

0.001

19. แคดเมียม (Cd)

มก./ล.

ต้องไม่มีเลย

0.01

20. ซิลิเนียม (Se)

มก./ล.

ต้องไม่มีเลย

0.01

ทางบักเตรี

21. บักเตรีที่ตรวจพบโดยวิธี Standard plate count

โคโลนีต่อ ลบ.ซม.

ไม่เกินกว่า 500

-

22. บักเตรีที่ตรวจพบโดยวิธี Most Probable Number (MPN)

เอ็ม.พี.เอ็น ต่อ 100 ลบ.ซม.

น้อยกว่า2.2

-

23. อี.โคไล (E.coli)

-

ต้องไม่มีเลย

-

 
                                   แหล่งที่มา : ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการสำหรับการป้องกัน ด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2551 ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 85 ง ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2552
                                   (ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, 2560)
 
       บางพื้นที่ของประเทศไทยประชาชนมีความจำเป็นต้องเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค แต่ก็มักพบสารปนเปื้อนอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะสนิมเหล็กที่นับเป็นสิ่งสกปรกสำคัญที่ก่อปัญหาให้แก่ผู้ใช้น้ำบาดาลคือ ทำให้น้ำมีสีแดงขุ่น และมีกลิ่น รวมทั้ง ก่อให้เกิดคราบสนิมเคลือบตามเครื่องสุขภัณฑ์ เมื่อนำน้ำมาใช้ซักผ้าก็ทำให้เสื้อผ้าเปรอะเปื้อน และมักตกตะกอนอุดตันตามช่องว่างของท่อกรุ ท่อกรอง และภายในเครื่องสูบได้
 
                  
 
                                 (ที่มา : https://wastewatertreatments.wordpress.com                             (ที่มา : https://www.mwa.co.th)                                                                                               2011/10/03/น้ำบาดาลกับสนิมเหล็ก/)  
                                  
เหล็กที่ละลายอยู่ในนํ้าบาดาล มีอยู่ 2 แบบ คือ Fe2+ (Ferrous) และ Fe3+ (Ferric) Fe2+ สามารถละลายน้ำได้ และไม่คงที่ เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศจะเปลี่ยนไปเป็น Fe3+ ซึ่งไม่สามารถละลายนํ้าได้ และจะตกเป็นตะกอน สังเกตได้จากการสูบนํ้าที่มีเหล็กมากๆ ใส่ลงในขวด ตอนแรกนํ้าจะใส แต่เมื่อทิ้งไว้สักครู่นํ้าจะกลายเป็นสีนํ้าตาลขุ่น และมีตะกอนของสนิมเหล็กนอนก้นดังปฏิกิริยา
 
แหล่งกำเนิดเหล็กที่สำคัญมาจากแร่ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ เช่น แร่ไพรอกซีน แอมฟิโบล แมกนีไทต์ ไพไรต์ ไบโอไทต์ และการ์เนต หรืออาจเกิดจากท่อที่เป็นสนิม หรือแบคทีเรียบางพวกที่เรียกว่า Iron bacteria (Crenothrix หรือ Nuisance bacteria) ดังนั้นก่อนที่จะนำน้ำบาดาลมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค จำเป็นต้องกรองสนิมเหล็กและสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ออกจากน้ำก่อนส่งไปยังผู้บริโภค 
       ส่วนใหญ่การผลิตน้ำอุปโภคบริโภคจากน้ำบาดาลจะใช้วิธีการตกตะกอนสนิมเหล็กโดยการพ่นน้ำผ่านอากาศและกรองสารละลายเหล็ก หรือตะกอนด้วยทรายกรอง หรือสารกรองแมงกานีสไดออกไซด์ แต่ปัญหาที่มักพบคือ น้ำที่ผ่านระบบยังคงมีสารละลายเหล็กเหลืออยู่ ระบบกรองอุดตันเร็ว ทำให้ผลิตน้ำได้ไม่พอใช้กับความต้องการ อีกทั้ง ประชาชนไม่สามารถติดตั้งเครื่องกรองน้ำเพื่อกรองสนิมเหล็กได้ เนื่องจากสารกรองสนิมเหล็กต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้มีต้นทุนสูง
 
                                 
 
(ที่มา : http://202.129.59.73/nana/badan/nunbadan.htm)
 
       กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้คิดค้นวิจัยสำหรับผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำบาดาล เพื่อนำมาใช้กับเครื่องกรองน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งสามารถกรองสนิมเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักการในการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่มีสนิมเหล็กมีดังนี้
              - ต้องเปลี่ยนสารละลายเหล็กทุกชนิดที่ละลายน้ำให้เป็นเหล็กชนิดเฟอร์ริก (Fe3+) ที่อยู่ในรูปของตะกอน เช่น วิธีการพ่นน้ำผ่านอากาศ กรองน้ำผ่านสารกรองสนิมเหล็ก หรือเติมคลอรีนลงไปในน้ำ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพราะสนิมเหล็กในแหล่งน้ำต่างๆ เกิดตะกอนได้ยากง่ายต่างกัน
              - แยกตะกอนส่วนใหญ่ออกจากน้ำในบ่อตกตะกอนก่อนนำไปผ่านการกรอง
              - บ่อตกตะกอนต้องใช้เทคโนโลยีและขนาดที่เหมาะสม เพื่อทำให้ตะกอนแยกออกจากชั้นน้ำใสได้อย่างสมบูรณ์
              - สารกรองที่ใช้ต้องเป็นสารกรองแมงกานีสไดออกไซด์ (MnO2)
       การผลิตสารกรองสนิมเหล็กมีหลักการคือ ใช้เม็ดทรายเป็นตัวพยุงหรือตัวแกน เคลือบด่างทับทิม หรือโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (Potassium permanganate, KMnO4) ให้ติดเม็ดทราย จากนั้นเผาด่างทับทิมให้สลายตัวกลายเป็นแมงกานีสไดออกไซด์ และใช้สารแมงกานีสไดออกไซด์เคลือบติดเม็ดทรายสำหรับทำสารกรองสนิมเหล็ก
 
 
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2560)
 
       โดยการผลิตสารกรองสนิมเหล็กมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 
              (1)ใช้ด่างทับทิม 1 กิโลกรัม น้ำ 5 ลิตร เม็ดทรายขนาด 1-2 มิลลิเมตร จำนวน 20 ลิตร ผสมรวมกันในกระทะเหล็กหล่อขนาด 32 นิ้ว
              (2) ให้ความร้อนด้วยเตาแก๊สเพื่อให้ด่างทับทิมละลายเคลือบติดเม็ดทราย
              (3) คนพลิกส่วนผสมเป็นระยะ จนกระทั่งน้ำระเหยออกไปจนเม็ดทรายเคลือบเริ่มหมาด ให้คนพลิกต่อเนื่องจนเม็ดทรายแห้ง
              (4) ใช้ฝาครอบปิดกระทะไว้ และคั่วแห้งขณะไฟแรงต่อเนื่อง โดยคนพลิกทุกๆ 20 นาที จนด่างทับทิมสลายตัวอย่างสมบูรณ์ (สังเกตจากการสุ่มนำเม็ดทรายเคลือบมาใส่ลงไปในน้ำ หากน้ำไม่เปลี่ยนเป็นสีม่วงแสดงว่าด่างทับทิมสลายตัวสมบูรณ์)
              (5) ทิ้งไว้ให้เย็น สามารถนำมาใช้เป็นสารกรองได้
 
          
 
 
 
          
 
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2560)
 
       สารกรองสนิมเหล็กที่ผลิตได้นี้แม้จะมีราคาถูก แต่ประสิทธิภาพก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าสารกรองที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ อีกทั้ง เทคโนโลยีดังกล่าวยังช่วยแก้ไขปัญหาสนิมเหล็กที่มีอยู่ในน้ำบาดาล สามารถกำจัดสนิมเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณภาพน้ำบาดาลเหมาะสำหรับการอุปโภคบริโภค และไม่เป็นอัตรายต่อสุขภาพของประชาชน
 
เอกสารอ้างอิง 
 
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 18 เมษายน 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_water01.html
ชัยวัฒน์  ธานีรัตน์. การผลิตสารกรองสำหรับกำจัดสนิมเหล็กในน้ำบาดาล. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, กันยายน, 2541, ปีที่ 46, ฉบับที่ 148,
       หน้า 10-12. (แฟ้มประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง (CF 29), A8)
ชัยวัฒน์  ธานีรัตน์. การปรับปรุงคุณภาพน้ำที่มีสนิมเหล็ก และการผลิตสารกรองสนิมเหล็ก. เอกสารการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ
       หลักสูตร “การผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำในน้ำและการผลิตเครื่องกรองน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค”, กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีชุมชน
       กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2560.
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คุณภาพของน้ำบาดาล (Groundwater Quality).
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 11 เมษายน 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://it.geol.science.cmu.ac.th/gs/courseware/groundwater/documents/Groundwater_06.pdf
สมาคมอุทกธรณีวิทยาไทย. คุณภาพน้ำบาดาล (กรมทรัพยากรน้ำบาดาล). [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 18 เมษายน 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://www.hat.or.th/บทความ-showdetail-25002-74988-คุณภาพน้ำบาดาล_(กรมทรัพยากรน้ำบาดาล).html
สุทธิณี  น้อยเหลือ. การผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำบาดาล. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 18 เมษายน 2560] 
       เข้าถึงจาก : http://202.129.59.73/nana/badan/nunbadan.htm