ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

             บรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นสิ่งที่ห่อหุ้มหรือป้องกันผลิตภัณฑ์ที่อยู่ด้านในไม่ให้เกิดความเสียหาย และมีสภาพที่สมบูรณ์จนกว่าจะถึงมือผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากการขนส่ง หรือความเสียหายที่เกิดจากการหมดอายุผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน เช่น การหยิบจับหรือหอบหิ้วในการขนส่งผลิตภัณฑ์ ช่วยสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้ดึงดูดและมีความน่าสนใจ หรือสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เรียกได้ว่าเป็นการรวมศาสตร์ทางด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

การออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์         

(ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/news/1662)

บรรจุภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

       (1) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่หนึ่ง เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัส ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์โดยตรง และเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกที่จะป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหาย เช่น พลาสติกห่อหุ้มลูกอม
       (2) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ชั้นที่หนึ่งและจะป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหายอีกชั้นหนึ่ง และยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี เช่น กล่องใส่ซองลูกอม
       (3) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สาม เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ชั้นที่สองและจะเน้นไปที่ป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง เช่น ลังกระดาษลูกฟูก ลังไม้ เป็นต้น
       ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญต่อผู้ผลิต เนื่องจากสามารถทำหน้าที่ส่งเสริมการขาย กระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP และ SMEs หลายรายจึงหันมาให้ความสำคัญในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นมีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด ซึ่งวัตถุประสงค์ของการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์มี 2 ประการ คือ
       (1) เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้อประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี คุ้มครองผลิตภัณฑ์ได้ ประหยัด มีประสิทธิภาพในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา การวางจำหน่าย และการอุปโภค ทั้งนี้ การออกแบบต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเป็นส่วนใหญ่
       (2) เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยใช้ความรู้ทางศิลปะเข้ามาสร้างคุณลักษณะของการบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ 
              - มีเอกลักษณ์พิเศษของผลิตภัณฑ์
              - สร้างความทรงจำหรือทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ และบริษัทผู้ผลิต
              - ดึงดูดความสนใจของผู้อุปโภคตลอดจนให้เข้าใจถึงความหมาย และคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
       บรรจุภัณฑ์จึงเป็นกลวิธีทางการตลาดที่ทำให้สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมากขึ้น โดยก่อนการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
              - ลักษณะของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่จะทำการพัฒนาบรรจุภัณฑ์นั้นมีลักษณะทางกายภาพอย่างไร เช่น รูปทรง ความแข็งแรง น้ำหนัก ของแข็ง ของเหลว หมดอายุช้าหรือเร็ว
              - กลุ่มเป้าหมาย ศึกษากลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายนั้นมีลักษณะนิสัยและความต้องการอย่างไร เพื่อนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด 
              - การขนส่ง บรรจุภัณฑ์ที่ได้ออกแบบและพัฒนานั้นมีความเหมาะสมกับการขนส่งด้วยวิธีใด เพื่อให้เกิดความสูญเสียระหว่างขนส่งน้อยที่สุด 
              - การใช้งาน บรรจุภัณฑ์ควรใช้งานสะดวก ไม่ซับซ้อน แต่ยังคงไว้ซึ่งมูลค่า และตอบสนองต่อการใช้งานได้อย่างเต็มที่
              - ราคาต้นทุน เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะมีผลต่อการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ และราคาต้นทุนบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวมีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือไม่
              - ข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย กฏระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับฉลากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อบังคับ เช่น การแสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหารตามประกาศสำนักคณะกรรมการอาหารและยา
       ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP และ SMEs สามารถวางแผนสำหรับการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยอาศัยการวิเคราะห์ด้วยหลัก 5W2H เพื่อให้การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีประสิทธิภาพดังนี้
       (1) ทำไม (Why) ปัจจัยหรือเหตุผลอะไรที่ทำให้ต้องออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
       (2) ใคร (Who) ผู้ประกอบการต้องทราบว่าจะออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์นี้เพื่อใคร ทั้งนี้เพื่อเป็น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน อันจะนำไปสู่การดำเนินการที่มีคุณภาพ
       (3) ที่ไหน (Where) สถานที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ที่ใด มีการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและครอบคลุมถึงความต้องการของผู้บริโภคในสถานที่   ดังกล่าวหรือไม่
       (4) อะไร (What) ผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ตระหนักว่าตนเองกำลังออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อะไร รูปแบบบรรจุภัณฑ์มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือไม่
       (5) เมื่อไหร่ (When) การออกแบบและพัฒนาต้องเหมาะสมกับช่วงเวลาและกาลเทศะ ว่าเป็นช่วงเวลาใด เทศกาลไหน 
       (6) อย่างไร (How) บรรจุภัณฑ์ที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมานั้นตอบสนองการใช้งานอย่างไร และมีวิธีการใช้งานที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และใช้งานอย่างไร
       (7) เท่าไหร่ (How much) ผู้ประกอบการต้องรู้ราคาต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เพื่อทำให้สามารถประเมินมูลค่าของบรรจุภัณฑ์ แล้วนำไปกำหนดราคาในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้
 
 
(ที่มา : สุทธิศักดิ์, 2558)
 
เมื่อวางแผนการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามหลัก 5W2H แล้ว จะเข้าสู่กระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารถสรุปได้ดังนี้
       (1) การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดผู้บริโภคหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ทุกครั้ง เพื่อศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด ซึ่งนำไปสู่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่โดนใจผู้บริโภค โดยอาจบางเป็นอายุ เพศ รสนิยม สังคม เป็นต้น
       (2) การกำหนดชื่อตราสินค้าและการออกแบบตราสัญลักษณ์ ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดชื่อตราสินค้าให้ชัดเจนและง่ายต่อการจดจำ เช่น ลักษณะเด่นของผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ หรือสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ โดยตราสินค้าที่ดีนั้นต้องมีความรวบรัด จดจำง่าย แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหมาย และสามารถแปลเป็นภาษาต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำไปจดทะเบียนการค้าโดยไม่ซ้ำกับผู้อื่นได้ ส่วนการออกแบบตราสัญลักษณ์ เป็นการนำชื่อตราสินค้ามาจัดองค์ประกอบให้สวยงาม และเป็นสิ่งส่งเสริมให้ชื่อตราสินค้าคุ้นตา เห็นแล้วสามารถจดจำได้เป็นอย่างดี ซึ่งตราสัญลักษณ์ที่ดีนั้นต้องใช้สีไม่เยอะจนเกินไป เรียบง่าย เห็นแล้วรู้ทันทีว่าเป็นผลิตภัณฑ์ใด 
       (3) การกำหนดและออกแบบรูปทรงโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่มีรูปทรงที่สวยงาม น่าสนใจ มักดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ กระบวนการนี้ต้องคำนึงตั้งแต่รูปทรงที่มีความเหมาะสมกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่อยู่ด้านใน และวัสดุบรรจุภัณฑ์ (Packaging materials) เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ พลาสติก เป็นต้น
       (4) การกำหนดและออกแบบลวดลาย ผู้ประกอบการจะต้องระบุข้อมูลต่างๆ ลงบนบรรจุภัณฑ์ เพื่อความสวยงามและถูกต้องตามระเบียบข้อกำหนด เช่น ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น การออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์จะต้องคำนึงถึงการใช้สี การวางตัวอักษร การวางรูปภาพ เข้าด้วยกันให้เกิดความสวยงามและลงตัว
(ที่มา : http://www.entrustidea.com/PackagingIMG/Packaging2-1.jpg)
 
       ทั้งนี้ องค์ประกอบที่ออกแบบไว้บนบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ รายละเอียดหรือส่วนประกอบบนบรรจุภัณฑ์จะแสดงออกถึงจิตสำนึกของผู้ผลิตและสถานะของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญบนบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ชื่อผลิตภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ รูปภาพผลิตภัณฑ์ ข้อมูลประชาสัมพันธ์ ส่วนประกอบที่สำคัญ   น้ำหนัก/ปริมาตรสุทธิ ราคา ผู้ผลิต สถานที่ผลิต วันเดือนปี ผลิต/หมดอายุ ข้อมูลโภชนาการ สัญลักษณ์การรับรองต่างๆ (เช่น อย., มผช., มอก. เป็นต้น) วิธีการใช้งาน คำเตือนหรือ ข้อควรระวัง ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย และการเก็บรักษา 
       บรรจุภัณฑ์ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ จนถูกกำหนดให้เป็น P ตัวที่ห้าของ 4 P’s Concept ซึ่งประกอบด้วย P1 = Production, P2 = Price, P3 = Place, P4 = Promotion และ P5 = Packaging เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เป็นองค์ประกอบที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ P ทั้ง 4 ของส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนกระทั่งถึงผู้อุปโภคบริโภค ทำการแบ่งปริมาณของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้ซื้อ พร้อมทั้งสนองความต้องการจากการใช้ผลิตภัณฑ์จนหมด บรรจุภัณฑ์ก่อให้เกิดความสะดวกในการจัดส่ง ทำให้ลดต้นทุนในการขนส่ง และนำส่งผลิตภัณฑ์ไปยังจุดมุ่งหมายได้ตามกำหนดในบริเวณที่ขาย และทำหน้าที่ส่งเสริมการขาย โดยการสื่อข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ซื้อ รวมถึงยังมีส่วนในการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ นั่นคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงย่อมจะต้องบรรจุหีบห่อด้วยวัสดุที่มีค่า และตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไปพร้อมๆ กับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
ดำรงศักดิ์  ชัยสนิท และ ก่อเกียรติ  วิริยะกิจพัฒนา. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์. การบรรจุภัณฑ์ (Packaging), กรุงเทพฯ : วังอักษร,
       2542, หน้า 17-18. 
สมพงษ์  เฟื่องอารมย์. การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก (Packaging for development). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก,
       กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 331-332.
สุกฤตา  หิรัณยชวลิต. กว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ (Background of package).  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 18 มกราคม 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_11/pdf/aw32.pdf  
สุทธิศักดิ์  กลิ่นแก้วณรงค์. การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ OTOP.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 18 มกราคม 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2558_63_199_p19-21.pdf 
สุทธิศักดิ์  กลิ่นแก้วณรงค์. การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับสินค้า OTOP สู่การส่งออกบรรจุภัณฑ์. เอกสารการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
       หลักสูตร “การเพิ่มกลยุทธ์การตลาดแก่ผู้ประกอบการ OTOP และวิสาหกิจชุมชน”, กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559.