Survey of the understanding of chemical laboratory workers in the Department of Science Service toward sustainability

Paweena Kreunin, Akarin Paibulpanich, Anantanat Kantanyarat, Laddawan Yeadyad, Duangkamol Chaosrimud, Pitchaya Buthkhunthong, Pattida Nilpatarachat

Abstract


Department of Science Service (DSS), Ministry of Science and Technology, has been promoting the concept of green laboratories, which is an international concept aiming to equip laboratories with safety, efficient resource usage, reducing energy consumption, and being environmentally friendly. We conducted an opinion survey of staffs across the laboratories using chemicals within DSS to analyze the understanding of personnel in moving toward green laboratories, and propose ways to achieve green laboratories within the organization. The study found that 85.2 percent of the respondents are aware of the importance and want to embrace the green laboratory concept into their own laboratories. These findings reflect the understanding and potential of DSS staffs in moving toward green laboratories. However, only one-third of respondents thought that there is DSS green laboratory movement, and the majority of respondents show differences in the understanding of green laboratory development in the organization. Therefore, DSS needs to be more active in communicating the concept across the organization. Importantly, DSS needs to raise awareness and strengthen knowledge and understanding of the staffs on green laboratory practices and guidelines. In addition, DSS needs to support the staffs in undertaking the knowledge into practices to concrete green laboratory development and sustainability. This study can be used as the model for similar studies on laboratories in the public and private sectors and educational institutions as well, in order to promote green laboratory concept within the country in the future.

 

บทคัดย่อ


กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับการพัฒนาห้องปฏิบัติการสีเขียว (Green laboratory) ซึ่งเป็นแนวคิดระดับสากลในการส่งเสริมห้องปฏิบัติการ ให้มีความปลอดภัย มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมีภายใน วศ. เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจของบุคลากรต่อความเป็นสีเขียวของห้องปฏิบัติการ และเสนอแนะแนวทางในการจัดทำห้องปฏิบัติการสีเขียวขององค์กรอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 85.2 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ตระหนักถึงความสำคัญและต้องการให้ห้องปฏิบัติการของตนเองเป็นห้องปฏิบัติการสีเขียว ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจและความพร้อมของบุคลากรที่จะส่งเสริมห้องปฏิบัติการสีเขียว อย่างไรก็ดี มีเพียง ประมาณหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความคิดเห็นว่า องค์กรของตนเองมีการดำเนินงานด้านห้องปฏิบัติการสีเขียวนอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับความเป็นสีเขียวของห้องปฏิบัติการภายในองค์กร ดังนั้น วศ. ควรสื่อสารนโยบายและแนวคิดเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการสีเขียวให้กับบุคลากรให้ทั่วถึงทั้งองค์กร และที่สำคัญที่สุด คือ ควรเสริมสร้างให้บุคลากรมีความตระหนักรู้ มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการบริหารจัดการและแนวปฏิบัติของห้องปฏิบัติการสีเขียว ตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรนำความรู้เชิงทฤษฎีมาใช้ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนความเป็นสีเขียวอย่างยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางอ้างอิง ในการวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการและความพร้อมของบุคลากรภายในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาห้องปฏิบัติการสีเขียวของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.