Wastewater characterization from chemical dyeing process of silk:case study household Thai silk production, One Tumbon One Product (OTOP),Surin Province

Amornpon Changsuphan, Tepwitoon Thongsri, Surat Petchkaseam, Waraporn Kitchainukul, Chanin Lertkanavanichakul, Natawan Tipviset, Wasan Tirapitayanon, Kanya Muangkaew, Nimit Palee, Jirachatr Srisaen, Veerapat Thonganan, Pornvipa Nartmanee

Abstract


Household Thai silk production under One Tumbon One Product (OTOP) project can contribute the sustainable career and income to the local. However, household Thai silk production processes produce a number of wastewater. The chemical dyeing process is the process which produces wastewater. This wastewater usually discharges to the environment without any treatment. This study aims to characterize the quality of wastewater from chemical dyeing process prior to design the simply wastewater treatment system for household. Surin province which located at the northeast of Thailand was the sampling location. Totally 8 samples of wastewater from chemical dyeing process were collected from 4 different districts.The key parameters to characterize the wastewater are color, pH, chemical oxygen demand (COD), suspended solids (SS), total dissolved solids (TDS) and heavy metals. The results illustrate that wastewater from chemical dyeing process had pH 1.7-8.8, COD 1,847-3,439 mg/L, SS 271-1,200 mg/L and TDS 3,000-22,739mg/L which was over Thailand national standard for wastewater except for pH. There was only 1 sample that over Thailand national standard for wastewater. The color was 196- 10,950 ADMI which over the USA guidelines (no Thailand national standard).In the case of heavy metals, there were very low concentrations were detected and they were in acceptable range when compared with Thailand national standard for wastewater.

 

บทคัดย่อ


ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ประสบความสำเร็จภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยสามารถสร้างอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่พอเพียงให้กับชุมชนได้ แต่กระบวนการผลิตผ้าไหมไทยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดน้ำเสียแม้ว่าจะเป็นการผลิตในครัวเรือนหรือในชุมชนก็ตาม โดยกระบวนการที่ก่อให้เกิดน้ำเสียคือกระบวนการย้อมไหม และน้ำเสียที่เกิดขึ้นถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำและแหล่งดินธรรมชาติในบริเวณท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณลักษณะของน้ำเสียจากกระบวนการย้อมไหมด้วยสีเคมีเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการน้ำเสียและออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับครัวเรือนและชุมชน โดยเก็บตัวอย่างจากสถานประกอบการ OTOP ประเภทผ้าทอ (ผ้าไหม) ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์จากผู้ประกอบการ 4 รายใน 4อำเภอ การเก็บตัวอย่างน้ำเสียจะเก็บทุกขั้นตอนในกระบวนการย้อมสี ทั้งนี้ได้ตัวอย่างน้ำเสียทั้งหมด 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างน้ำเสียที่เก็บได้นำมาทดสอบหาปริมาณ ความเข้มสี พีเอช (pH) ซีโอดี (chemical oxygen demand; COD) ของแข็งแขวนลอย (suspended solids; SS) ของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด (total dissolved solids; TDS) และโลหะหนัก ผลการทดสอบพบว่าน้ำเสียจากขั้นตอนการย้อมไหมมีพีเอช 1.7-8.8, ซีโอดี 1,847-3,439 มิลลิกรัม/ลิตร, ของแข็งแขวนลอย 271-1,200 มิลลิกรัม/ลิตร และของแข็งที่ละลายทั้งหมด 3,000-22,739 มิลลิกรัม/ลิตร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานน้ำทิ้งของประเทศไทยพบว่า ซีโอดี ของแข็งแขวนลอย และของแข็งที่ละลายทั้งหมด มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด สำหรับพีเอชมีตัวอย่างเดียวที่มีค่าไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับในกรณีปริมาณความเข้มสีซึ่งมีค่า 196-10,950 เอดีเอ็มไอ เมื่อเทียบกับค่าแนะนำของประเทศสหรัฐอเมริกา (ประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐาน) พบว่ามีค่าความเข้มสีเกินค่าแนะนำ ในกรณีของปริมาณโลหะหนัก ผลการทดสอบตัวอย่างน้ำเสียพบว่ามีปริมาณโลหะหนักน้อยมาก และอยู่ในเกณฑ์การยอมรับตามมาตรฐานน้ำทิ้งของประเทศไทย


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.