Pilot study of laboratory safety status for laboratory workers

Paweena Kreunin, Sombat Kongwithtaya, Natthakarn Ketkoom

Abstract


This pilot study is an exploratory research. The focus group of the study was laboratory workers who received the training of laboratory safety and other laboratories related courses from the Bureau of Laboratory Personnel Development (BLPD), Department of Science Service (DSS), Thailand during 2010-2014. The questionnaire was designed to collect the data of safety practices and opinions within their own laboratory settings. Questionnaires was collected and analyzed. The results showed that the subjects of the study were coming from diversified groups, i.e. testing, calibration, R&D, and academic laboratories which were the focused group of the pilot study. The results showed that more than 50% of the workers are received inadequate training relating to the safety work practices. The majority of the people showed frequent of lone working, and inappropriate use of Safety Data Sheet (SDS) and Personal Protective Equipment (PPE). About 87.1% of workers reported accidents in the laboratories, and the two most important factors to cause accidents were related to humans i.e. the unawareness of workers who were involved in laboratory work and the inadequate of knowledge about safety of laboratory workers. Moreover, most subjects reported that their own laboratories setting were not safe in term of physical safety management or did not have the routine risk assessment of the laboratory. The majority of them believes that their laboratory safety management should be improved and they should receive training in many areas of laboratory safety. The results can be used in the training courses and present to the public to raise awareness of safe work practice.

 

บทคัดย่อ


การศึกษานำร่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นจากกลุ่มตัวอย่างของผู้เข้าอบรมหลักสูตรฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการของสำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (พศ. วศ.) ระหว่างปีงบประมาณ 2553-2557 โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปประมวลผลเป็นภาพรวมและจัดลำดับความสำคัญของสถานภาพความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ สอบเทียบ วิจัย หรือการเรียนการสอน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยกลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 50 ยังไม่ได้รับการฝึกอบรมในด้านที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เพียงพอ ลักษณะการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี เช่น การปฏิบัติงานตามลำพังในห้องปฏิบัติการ การไม่ศึกษาเอกสารข้อมูลความปลอดภัย หรือ Safety Data Sheet ให้เข้าใจก่อนการปฏิบัติงาน การไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลระหว่างปฏิบัติงานนอกจากนี้ ร้อยละ 87.1 ของกลุ่มตัวอย่างเคยได้รับอันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่ออันตรายหรืออุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความไม่ตระหนักของบุคลากรที่เกี่ยวข้องและการขาดความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการระบบความปลอดภัยที่ดี หรือการประเมินความเสี่ยงตามรอบที่กำหนด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ควรมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานเพิ่มขึ้น และตนเองควรได้รับการฝึกอบรมที่ครอบคลุมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในหลักสูตรฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และนำไปเสนอต่อสาธารณะในเชิงวิชาการเพื่อเสริมสร้างความตระหนักในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยต่อไป


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.