The study on efficiency of Acorus calamus L. extract against fruit rot fungi isolated from lychee

Suwannee Thaenthanee, Jaravee Sukprasert, Saijit Daosukho, Soraya Rodprasert

Abstract


This research studied effect of of Acorus calamus L. (Sweet flag) extract on the mycelial growth inhibition of 21 strains of fruit rot fungi. Among these, 6 were reference strains and 15 were strains isolated from lychee peel. The isolation of fungal strains was performed by using tissue transplanting technique,  proved to cause fruit rot disease according to Koch’s Postulation method, and classified using a molecular technique. The ability of A.calamus extract by 95% ethanol on the mycelial growth inhibition was compared with commercial fungicide, carbendazim. The experiment was performed in 2 ways, on Potato Dextrose Agar (PDA) plates and on lychee fruits. The test on PDA plates was performed according to Poisoned food technique. Various concentrations (10, 100, 1,000, 10,000, 20,000, and 30,000 ppm) of the extract were determined for antifungal activity on PDA. The result indicated that all fungal strains were sensitive to A.calamus extract at the concentration of 10,000 ppm upward. The average mycelial growth inhibition of the extract at 10,000 ppm was more than 80% whereas that of carbendazim at 1,000 ppm was 70.26%. The test on lychee friuts, the extract at 10,000 and 20,000 ppm were tested for the mycelial growth inhibition according to the method modified from Koch’s Postulation method. The result showed that the extract inhibited the mycelial growth of 15 strains on lychee fruit whereas carbendazim inhibited 21 strains. Therefore, the A.calamus extract has a potential to be used to control fruit rot fungi.

 

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดว่านนํ้า (Acorus calamus L.) ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อโรคผลเน่าจำนวน 21 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์อ้างอิงจำนวน 6 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่แยกได้จากผลลิ้นจี่ จำนวน 15 สายพันธุ์ (ไอโซเลท) โดยการคัดแยกเชื้อราบริสุทธิ์จากเปลือกผลลิ้นจี่โดยวิธี Tissue transplanting พิสูจน์การก่อโรคตามวิธีของ Koch (Koch’s Postulation) และจำแนกสายพันธุ์เชื้อราด้วยวิธีทาง Molecular technique การทดสอประสิทธิภาพสารสกัดว่านนํ้าด้วยตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 95 เปรียบเทียบกับสารยับยั้งเชื้อราคาร์เบนดาซิมในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อโรคผลเน่าได้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือ การทดสอบบนจานเพาะเชื้อ และการทดสอบบนผลลิ้นจี่ การทดสอบในจานเพาะเชื้อด้วยวิธี Poisoned food technique โดยการผสมสารสกัดว่านนํ้าในอาหาร Potato Dextrose Agar (PDA) ให้ได้ความเข้มข้น 10, 100, 1,000 , 10,000, 20,000, และ 30,000 ppm พบว่า สารสกัดว่านนํ้าที่ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 10,000 ppm ขึ้นไป แสดงร้อยละการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราเฉลี่ยสูงที่สุด (มากกว่า ร้อยละ 80) ในขณะที่สารยับยั้งเชื้อราคาร์เบนดาซิม ที่ความเข้มข้น 1,000 ppm แสดงร้อยละการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราเฉลี่ย 70.26 ส่วนการทดสอบบนผลลิ้นจี่ ได้เลือกสารสกัดว่าน นํ้าที่ระดับความเข้มข้น 10,000 และ 20,000 ppm มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อโรคผลเน่าบนผลลิ้นจี่ โดยนำผลลิ้นจี่ที่พ่นด้วยสารสกัดว่านนํ้า มาทำให้เกิดแผลและปลูกด้วยเชื้อราก่อโรคมาทดสอบนำไปบ่มในสภาวะที่เหมาะสมเป็นเวลา 7 วันและสังเกตการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา พบว่า สารสกัดว่านนํ้าที่ระดับความเข้มข้น 10,000 และ 20,000 ppm สามารถชะลอการเจริญของเชื้อราจำนวน 15 สายพันธุ์ ในขณะที่สารยับยั้งเชื้อรา คาร์เบนดาซิมที่ระดับความเข้มข้น 1,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ทุกสายพันธุ์ จึงมีความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้สารสกัดว่านนํ้าในการควบคุมเชื้อราก่อโรคผลเน่าในลิ้นจี่


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.