Microbiological quality of fresh-cut fruits from street vendors sold in Bangkok

Nopamart Sapoo, Jarunee Meksuwan, Supannee Theparoonrat

Abstract


Microbiological quality evaluation of fresh-cut fruits from street vendors in Bangkok were conducted. Eight types of fruits comprised of jackfruit, cantaloupe, rose apple, water melon, guava, mango, papaya and pineapple as the total of 52 samples were collected from 3 locations.  The fresh-cut fruit samples were examined for microbiological quality on the aspects of yeasts, molds, E. coli, Salmonella and Staphylococcus aureus.  According to the microbiological guidelines for ready-to-eat food issued by the Department of Medical Science, it was found that 53.8% (28/52) of samples complied with the criteria. Yeasts and molds were found in every fruits samples with 38.5 % and 15.4 % of samples over the guideline criteria for yeasts and molds, respectively. For E.coli, 7% of the samples were found but below the guidelines criteria. Furthermore, for pathogenic bacteria, 7% of samples were Staphylococcus aureus positive. Salmonella was not detected. The results suggest that the risk of foodborne illness from fresh-cut fruits is high.  Therefore, the sanitary quality of the processing of the produce should be concerned by applying Good Hygiene Practices (GHP) during preparation and selling. This will help controlling contamination of products and make the fruits safe for consumption.

 

บทคัดย่อ


ในการสำรวจเชิงคุณภาพทางจุลชีววิทยาของผลไม้สดหั่นชิ้นจากร้านรถเข็นและแผงลอยที่จำหน่ายใน
กรุงเทพมหานคร ผลไม้ 8 ชนิด ได้แก่ ขนุน แคนตาลูป ชมพู่ แตงโม ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ และสับปะรด รวม 52 ตัวอย่าง เก็บจาก 3 แหล่ง นำมาทดสอบหาปริมาณยีสต์ เชื้อรา แบคทีเรียชนิด อี. โคไล และตรวจหาจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคชนิด ซาลโมเนลลา และ สแตไฟโลคอกคัส ออเรียส ผลการทดสอบที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาสำหรับอาหารทั่วไปที่มิใช่อาหารควบคุมเฉพาะของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาหารพร้อมบริโภคประเภทอาหารดิบที่เตรียมหรือปรุงในสภาพบริโภคได้ทันที พบว่าตัวอย่างผลไม้ตัดชิ้นมีความปลอดภัยต่อการบริโภคตามเกณฑ์ 28 ตัวอย่างจาก 52 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 53.8 การปนเปื้อนด้วยยีสต์และเชื้อราเกินเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 38.5 และ ร้อยละ 15.4 ตามลำดับ พบแบคทีเรียชนิด อี.โคไล ร้อยละ 7 (เอ็มพีเอ็น/กรัมเท่ากับ 3.6 ไม่เกินเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด) นอกจากนี้ยังพบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคคือ สแตไฟโลคอกคัส ออเรียส ร้อยละ 7 แต่ไม่พบ ซาลโมเนลลา แสดงให้เห็นว่าผลไม้สดหั่นชิ้นมีความเสี่ยงสูงของการปนเปื้อนของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จึงควรนำมาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Hygiene Practices, GHP) ในระหว่างการปรุงและการจำหน่ายมาใช้ เพื่อลดปริมาณและชนิดของเชื้อในผลไม้สดหั่นชิ้นให้อยู่ในระดับที่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.