Screening of microorganisms producing lactic acid using glycerol as a sole carbon source

Jiraporn Burakorn, Nongluk Bunyovimonnat, Supachai Jindavutikul, Thirada Suktham, Pawin Ngamlert

Abstract


Microorganisms which produce lactic acid by using glycerol as a sole carbon source were identified from various sources, 14 samples such as soil and waste water contaminated with crude glycerol from biodiesel production process, EM bio-extract samples etc. The microorganisms from these samples were selected by cultivated in crude glycerol as a sole carbon source and calcium carbonate. As the results, EM-bio-extract had the widest clear zone and the other samples had very narrow clear zone and some of them no clear zone. Therefore, the 18 microorganisms from EM bio-extract samples which had the most widest clear zone were continued to investigate growth rate and lactic acid production. The results showed that the EM383 was the most rapid growth and the EM335 had the widest clear zone as 17.07 mm. After that, the EM335, the EM383 and the EM335 mixed with the EM383 were cultivated in medium containing crude glycerol, 99% glycerol and 99.5% glycerol. It was found that the EM335 produced the highest amount of lactic acid as 84.76 µg/L when it was cultivated in medium containing crude glycerol as a sole carbon source.

 

บทคัดย่อ


คัดเลือกจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตกรดแลคติกโดยใช้กลีเซอรอลเป็นแหล่งคาร์บอนเพียงชนิดเดียว โดยนำตัวอย่างที่คาดว่าจะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีสมบัติที่ต้องการจากแหล่งต่างๆ จำนวน 14 แหล่ง ได้แก่ ฮอร์โมนน้ำดำ น้ำผักกาดดอก น้ำหน่อไม้ดอง น้ำเอนไซม์ผสมน้ำผลไม้รวม ปุ๋ยน้ำหมักยี่ห้อน้องเดือนน้ำหมักชีวภาพยี่ห้อเทศบาล น้ำหมักชีวภาพ EM ดินที่ปนเปื้อนกลีเซอรอลดิบ น้ำทิ้งที่ปนเปื้อนกลีเซอรอลดิบ น้ำหมักชีวภาพจาก จ.เชียงใหม่ น้ำหมักมะกรูด น้ำหมักลูกยอ นํ้าหมักยี่ห้อพลอยเพชร มาทำการแยกเชื้อจุลินทรีย์โดยเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีกลีเซอรอลดิบจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล เป็นแหล่งคาร์บอนและแคลเซียมคาร์บอร์เนต จากผลการทดลองพบว่า ตัวอย่างจากน้ำหมัก EM ให้ขนาดวงใสรอบโคโลนีกว้างที่สุด จึงคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์มา 18 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ EM335 มีขนาดวงใสรอบโคโลนีกว้างที่สุด เท่ากับ 17.07 มิลลิเมตร และเมื่อทดลองเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีกลีเซอรอลดิบพบว่า สายพันธุ์ EM383 เจริญเติบโตได้ดีที่สุด จากนั้นจึงนำสายพันธุ์ EM335, EM383 และ EM335 ผสมกับ EM383 ทดลองเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีกลีเซอรอลดิบ กลีเซอรอลบริสุทธิ์ร้อยละ 99 และกลีเซอรอลบริสุทธิ์ร้อยละ 99.5 พบว่าเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์ EM335 สามารถผลิตกรดแลคติกได้สูงที่สุด คือ 84.76 ไมโครกรัมต่อลิตร เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีกลีเซอรอลดิบเป็นแหล่งคาร์บอน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.