A preliminary survey: Problems of physical and chemical properties of communities’ consumption water quality

Supaporn Kownarumit, Aungsana Chuasuwan, Phitchayapa Ratchathumma, Angwara Poolkasem, Arun Konkaew

Abstract


Problems of physical and chemical quality of consumption water in requested communities in Thailand were a preliminary survey. The consumption water samples of the communities in Phrae, Nong Bua Lam Phu, Nakhon Phanom, Bungkarn and Songkha province were collected for testing the physical and chemical quality (26 items) of the water according to Thai drinking water standards: Notification No. 61 (2524) and No. 135 (2534). The standard was approved by the Food and Drug Administration (FDA), used as the regulation for bottled drinking water that is available in Thailand. The purpose of the survey was to explore the quality problems of raw water (well water, deep well water, shallow well water and river water), also the tap water from both groundwater and deep well water. The obtained information will be used as guidance for improvement of the water quality to meet the standard of consumption water, as well as for choosing a proper drinking water filter system to fit the existing water source quality. Results showed that all the bottled drinking water and rain water consuming in the community daily lives were met the quality standards. Most of the tap water, and raw water did not meet the drinking water standard; however, these types of water were not consumed directly. The problems of communities’ consumption water quality found in this survey comprised 14 items, namely color, odor, turbidity, pH, total solids, total hardness, sulfate, chloride, barium, nitrate, iron, manganese, aluminium and silver.

 

บทคัดย่อ


การสำรวจปัญหาเบื้องต้นของคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของคุณภาพนํ้าอุปโภคบริโภคในชุมชนจากจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดนครพนม จังหวัดบึงกาฬ และ จังหวัดสงขลา โดยสุ่มเก็บตัวอย่างนํ้าอุปโภคบริโภค เพื่อทดสอบคุณภาพนํ้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใช้เป็นเกณฑ์ในการจดทะเบียนนํ้าบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิทที่วางจำหน่ายในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบคุณภาพนํ้าในครั้งนี้เพื่อสำรวจปัญหาคุณภาพนํ้าดิบ (นํ้าบ่อ นํ้าบาดาล นํ้าจากบ่อนํ้าตื้น และนํ้าแม่นํ้า) คุณภาพนํ้าประปาทั้งประปาผิวดินและประปาบาดาล เฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี โดยมีรายการทดสอบ จำนวน 26 รายการ เพื่อใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพนํ้าให้บริโภคได้ รวมถึงเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเลือกซื้อเครื่องกรองนํ้าดื่มให้เหมาะสมกับคุณภาพแหล่งนํ้า และเพื่อตรวจสอบคุณภาพนํ้าดื่มว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนํ้าบริโภคหรือไม่ จากผลการสำรวจคุณภาพของตัวอย่างนํ้าอุปโภคบริโภค พบว่า ตัวอย่างนํ้าดื่มบรรจุขวด และนํ้าฝนซึ่งเป็นแหล่งนํ้าบริโภคในชีวิตประจำวันของชุมชน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานนํ้าบริโภคทุกตัวอย่าง แต่นํ้าผ่านเครื่องกรองซึ่งชุมชนใช้เป็นนํ้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานนํ้าบริโภค ส่วนนํ้าประปาและนํ้าดิบ ส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานนํ้าบริโภค อย่างไรก็ตามนํ้าเหล่านี้ชุมชนมิได้นำมาบริโภคโดยตรง ปัญหาของนํ้าอุปโภคบริโภคชุมชนที่พบในการสำรวจครั้งนี้ มีจำนวน 14 รายการ ได้แก่ สี กลิ่น ความขุ่น ค่าความเป็นกรด-เบส ปริมาณสารทั้งหมด ความกระด้างทั้งหมด ซัลเฟต คลอไรด์ ไนเทรต เหล็ก แมงกานีส แบเรียม อะลูมิเนียม และเงิน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.