Comparison of measurement uncertainty between ISO/GUM and method validation approach of mercury measurement in drinking water sample

Neeranart Chaengthong

Abstract


Measurement results from chemical testing laboratories that can be internationally acceptable need to apply Metrology in Chemistry (MiC) which is an important science of measurement. The key principles of MiC includes metrological traceability, method validation and uncertainty of measurement which are the factors that laboratories need to demonstrate to comply with ISO/IEC 17025. This studies concerned with comparison of the estimation of measurement uncertainty of determination of mercury in drinking water by using ISO/GUM approach and method validation approach. There were many sources of uncertainties when using ISO/GUM approach such as precision, volumes of samples, volumes of blank and concentration of samples. Meanwhile method validation approach had only precision and bias. It was found that the expanded uncertainties  were 8.5 % and 11%, respectively. The estimation of measurement uncertainty in this paper can be applied to other measurement methods that using calibration curves.

 

บทคัดย่อ


ผลการทดสอบทางเคมีต้องมีความน่าเชื่อถือทางมาตรวิทยาเคมี และต้องมีการรายงานค่าความไม่แน่นอนของการวัด เนื่องจากค่าความไม่แน่นอนของการวัดมีความสำคัญต่อการตัดสินค่าผลการทดสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ค่าผลทดสอบที่ได้มีค่าใกล้เคียงกับเกณฑ์กำหนดที่ใช้ในการตัดสิน ข้อกำหนดมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025:2005 จึงได้กำหนดให้ห้องปฏิบัติการต้องมีวิธีดำเนินการในการหาค่าความไม่แน่นอนของการวัดเป็นแนวทางไว้สำหรับปฏิบัติ โดยต้องพิจารณาองค์ประกอบความไม่แน่นอนที่สำคัญทั้งหมดและใช้วิธีการคำนวณที่เหมาะสม บทความนี้จะกล่าวถึงการเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนของการวัดปริมาณปรอทในตัวอย่างนํ้าโดยเทคนิควิธี Flow Injection Atomic Absorption Spectrometry โดยใช้แนวทาง ISO/GUM และแนวทางการใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธี(methodvalidation)
     การศึกษาพบว่าแหล่งค่าความไม่แน่นอนตามแนวทาง ISO/GUM ได้แก่ ความเที่ยง ปริมาตรตัวอย่าง ปริมาตรแบลงค์ ความเข้มข้นของตัวอย่างที่วัดโดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน ส่วนแหล่งค่าความไม่แน่นอนตามแนวทางการใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธี ได้แก่ ความเที่ยงและความลำเอียง ค่าความไม่แน่นอนขยายที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ที่ได้ค่าเท่ากับ 8.5 % และ 11% ตามลำดับ การประมาณค่าความไม่แน่นอนที่กล่าวในบทความนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิธีทดสอบที่มีการวัดโดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.