A Low-cost automatic flipping patient bed เตียงพลิกผู้ป่วยอัตโนมัติราคาประหยัด

Sompol Kohsri, Saksit Deeum

Abstract


เตียงพลิกผู้ป่วยมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับงานพยาบาล เนื่องจากงานของพยาบาลและผู้ดูแลผู้ป่วยนั้นมีภาระงานมาก หากไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดจะทําให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดแผลกดทับสูงอีกทั้งการพลิกผู้ป่วยซึ่งมีจำนวนมาก ส่งผลให้พยาบาลหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเจ็บหลังอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในท้องตลาดเตียงพลิกผู้ป่วยอัตโนมัติมีราคาสูงและหาซื้อได้ไม่ง่าย จึงทําให้เกิดนวัตกรรมเตียงพลิกผู้ป่วยอัตโนมัติราคาประหยัดขึ้นมาเพื่อพลิกตัวผู้ป่วยอัตโนมัติ ลดโอกาสการเกิดแผลกดทับและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ให้การพยาบาล เตียงพลิกผู้ป่วยอัตโนมัติราคาประหยัด ทำงานด้วยระบบนิวเมติกส์ มีฟังก์ชันครบเหมือนเตียงไฟฟ้าทั่วไป พร้อมเบาะพีวีซี ซึ่งเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตเตียงดังกล่าวถูกกว่าเตียงไฟฟ้าที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปตามท้องตลาดถึงร้อยละ 45 เตียงพลิกผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเลือกการทำงานควบคุมด้วยมือและควบคุมแบบอัตโนมัติ มี 5 ฟังก์ชันการทํางาน คือ ฟังก์ชันเตียงปกติ ฟังก์ชันเคลื่อนไหวส่วนหัว ฟังก์ชันเคลื่อนไหวส่วนขา ฟังก์ชันเคลื่อนไหวส่วนซ้าย ฟังก์ชันเคลื่อนไหวส่วนขวา

 

A Low-cost automatic flipping patient bed

 

A flipping patient bed plays an essential role for nursing work. Since nurses’ and caregivers’ tasks are greatly burdensome, in case they are not closely supervised, their bedridden patients who are in need of being turned over periodically would be at risk of suffering from pressure ulcers. It also causes back pain among a nurse or a nursing caregiver. For this reason, an innovative flipping patient bed is initiated as an assistive equipment to automatically turn and position the patient in bed for alleviating the possibility of pressure ulcers and facilitating nursing caregivers’ working operation. Thus, an inexpensive automated flipping patient bed for patients was invented, operated with pneumatics. Besides the mentioned automatic function, the proposed bed offers function similar to what general commercial electric bed do, as well as, its style and cushion material which is PVC. This allows this bed to be priced at 45% cheaper than commercially available electric beds. Manual and automatic modes can be selected with five main functions, namely normal function, header movement function, leg movement function, left-sided movement function, and right-sided movement function.


Keywords


Patient Bed; Pneumatic System; Bedsore; Low-Cost; เตียงผู้ป่วย; ระบบนิวเมติก; แผลกดทับ; ราคาประหยัด

Full Text:

PDF

References


พรทิพย์ สารีโส, ปิยะภร ไพรสนธิ์ และ อโณทัย เฉลิมศรี. ประสิทธิผลการป้องกันการเกิดแผลกดทับของที่นอนชนิดไม่มีการ เคลื่อนที่ของลมและชนิดที่มีการเคลื่อนที่ของลม : การศึกษาเบื้องต้น (Effcacy of a visco-elastic foam mattress and alternating-pressure air mattress in preventing pressure ulcers: a preliminary study). วารสารสภาการพยาบาล [ออนไลน์]. กรกฎาคม-กันยายน 2559, 31(3), 83-96. [อ้างถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/49845

สมชาย วิริภิรมย์กูล, ดลพัฒน์ ยศธร, เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, สุพัตรา ศรีวณิชชากร และ กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์. สถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ : กรณีศึกษา อำเภอท่ามะกา และ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ [ออนไลน์]. มีนาคม 2561, 11(14), 24-42. [อ้างถึงวันที่ 19 มกราคม 2564]. เข้าถึงจาก: https://rs.mahidol.ac.th/rs-journal/vol.11/vol.11-002.php

พัทนัย แก้วแพง และโศรดา จันทเลิศ. ผลของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร. พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555, 30(6),331-341.

สายฝน ไทยประดิษฐ์, วิภา แซ่เซี้ย และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ผลของโปรแกรมควบคุมความเป็นกรดด่างของผิวหนังต่ออุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ [ออนไลน์]. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย วันที่ 10 พฤษภาคม 2556. [อ้างถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงจาก: http://www.hu.ac.th/conference/conference2013/Proceedings2013/pdf/Book1/Describe6/701_1-9.pdf

พัทนัย แก้วแพง และ โศรดา จันทเลิศ (2555) ผลของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร. 30(6): 311-341


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.