The development of laboratory safety management in metals and trace elements testing laboratory

Paweena Kreunin, Duangkamol Chaosrimud, Benchaporn Borisuthi

Abstract


Currently, the development in the capacity of laboratories in Thailand evolves very rapidly resulting in higher risks and adversely health impacts to laboratory workers. However, it is the fact that Thailand does not have acts, regulations or decrees issued to directly help the safety management in laboratories. The study aims to generate recommendations with practical approaches to improve safety management for laboratories of the Department of Science Service (DSS). In this study, the metal and trace elements testing laboratory is selected for study. The use of this laboratory as a pilot laboratory is suitable in term of its functionality and old laboratory design similar to most laboratories in DSS. Moreover, the pilot laboratory does not have systematic safety management although it has been accredited for ISO/IEC 17025. The development of laboratory safety management guideline in this study is determined to provide recommendations to establish good laboratory safety practices that are proper for use in the chemical testing laboratories in DSS. The safety assessment of the pilot laboratory shows an increasing of better safety management. The audits show improving of safety management from 29.6% to 49.6% within 4 months and to 60.7% within 12 months. The results of this study provide practical safety management example and can be used as a guideline for other DSS laboratories to develop effective safety management as well.

 

บทคัดย่อ


ในปัจจุบัน การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจนั้น ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเผชิญอยู่กับอันตรายจากการปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจากการขยายขอบข่ายงานห้องปฏิบัติการ กระบวนการทดลองแบบใหม่ และการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการห้องปฏิบัติการด้านความปลอดภัยโดยตรง จึงทำให้การดำเนินการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีรูปแบบและกลไกที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทดสอบทางเคมี ที่เป็นตัวอย่างและสามารถนำไปปฏิบัติในห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้ โดยการวิจัยและพัฒนาเอกสารคู่มือการจัดการความปลอดภัยและนำไปทดลองปฏิบัติในห้องปฏิบัติการนำร่อง คือ ห้องปฏิบัติการโลหะและธาตุปริมาณน้อย โครงการเคมี ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบทางเคมี ซึ่งได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 แต่ยังไม่มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม จึงมีความคล้ายคลึงกับห้องปฏิบัติการทดสอบทางเคมีอื่นๆ ของ วศ. ดังนั้น จึงมีความเหมาะสมต่อการศึกษาภายใต้ขอบข่ายของการศึกษาวิจัย จากการศึกษาวิจัยได้มีการพัฒนาเอกสารคู่มือการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เหมาะสมกับการทดลองปฏิบัติในห้องปฏิบัติการนำร่องตามสถานภาพปัจจุบัน ผลการทดลองปฏิบัติเอกสารคู่มือฯ ในห้องปฏิบัติการโลหะและธาตุปริมาณน้อย พบว่า ผลการประเมินระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการก่อนการนำเอกสารคู่มือฯ ทดลองปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 29.5 และผลการประเมินระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการภายหลังการนำเอกสารคู่มือฯ ไปทดลองปฏิบัติ ในระยะเวลา 4 เดือน คิดเป็นร้อยละ 46.2 และ 12 เดือน คิดเป็นร้อยละ 60.2 ซึ่งคิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 16.7 และ 30.7 ตามลำดับ สามารถวิเคราะห์ได้ว่าห้องปฏิบัติการมีการจัดการความปลอดภัยที่ดีขึ้น ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยให้กับห้องปฏิบัติการอื่นๆ ของ วศ. และหน่วยงานอื่นๆ ได้


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.