Production of handicraft paper from cotton rags การผลิตกระดาษจากเศษผ้าฝ้าย

Thitarini Suropan

Abstract


Abstract

The main objective of this research project was to develop processes of making handicraft paper from cotton scraps as alternative raw materials instead of mulberry; as the cost of mulberry increases steady and has to be imported from neighboring countries, whereas cotton scraps are abundant in Thailand because of ever-growing fashion industries. Replacing mulberry with cotton scraps as raw material could help reducing cost of handicraft paper production and creating new pattern on handicraft paper to further use in producing other handcraft products. It was found from this study that the optimum condition of stock preparation in order to produce handicraft paper from cotton scraps was by using Valley Beater with 6 kilogram of weight plate for 20 minute. It was found that cotton fiber had good distribution without adding dispersing agents with freeness of 252 ml. At this condition, stock could be formed into plain paper sheet with ease and suitable to be used in creation pattern paper sheet with water pressure technique. The properties of Laboratory paper sample were as followed; Apparent density 5.90 g/cm3, Tensile index 0.027 Nm/g, Tear index 8.74 m.N.m2/g and Burst index 1.60 kPa.m2/g. These properties indicated that handicraft paper from cotton scraps had good physical properties and cotton scraps could be used as alternative raw material in handicraft paper making industry.

 

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการใช้เศษผ้าฝ้ายเป็นวัตถุดิบทดแทนปอสาในการผลิตกระดาษหัตถกรรม เนื่องจากปอสามีราคาสูงขึ้นและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศไทยมีเศษผ้าเหลือจากการผลิตเป็นจำนวนมาก เพื่อการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งพัฒนาคุณสมบัติและลวดลายของผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้ในงานศิลปะและผลิตของใช้ จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมน้ำเยื่อและการนำไปขึ้นแผ่นด้วยเครื่องขึ้นแผ่นอัตโนมัติ คือ สภาวะการบดเศษผ้าฝ้ายโดยใช้เวลา 20 นาที แบบใส่ตุ้มน้ำหนักถ่วง 6 กิโลกรัม ด้วยเครื่องบดเยื่อ แบบ Valley Beater ที่สภาพการระบายน้ำของเยื่อ (Freeness) คือ 252 ml เยื่อจากเศษผ้าฝ้ายมีการกระจายตัวของเส้นใยได้ดีขณะขึ้นแผ่น โดยไม่ต้องเติมสารช่วยกระจายเส้นใย กระดาษที่ผลิตในห้องปฏิบัติการมีสมบัติกระดาษ ดังนี้ ความหนาแน่นปรากฏ (Apparent density) 5.90 g/cm3 ดัชนีความต้านแรงดึง (Tensile index) 0.027 Nm/g ดัชนีความต้านแรงฉีกขาด  (Tear index) 8.74 m.N.m2/g และดัชนีความต้านแรงดันทะลุ (Burst index) 1.60 kPa.m2/g ในสภาวะการเตรียมน้ำเยื่อนี้สามารถนำไปขึ้นแผ่นแบบหัตถกรรมและสร้างลวดลายด้วยเทคนิคการสร้างลวดลายด้วยแรงดันน้ำ ผลการวิจัยพบว่ากระดาษจากเศษผ้าฝ้ายที่ผลิตได้มีคุณภาพดีในการนำไปใช้งานและผลิตสินค้าจำหน่ายต่อ


Full Text:

PDF RemoteHTML

References


ข้อมูลเศรษฐกิจพื้นฐาน [ออนไลน์] เข้าถึงจาก http://cm.nesdb.go.th/cluster_baseinfo.asp?ClusterID=C0066

สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม n.d. แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายสาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม [ออนไลน์].อ้างถึง วันที่ 14 พฤศจิกายน 2018. เข้าถึงจาก http://www.oic.go.th/FILE WE /CABINFOCENTER2/DRAWER039/GENERAL/DATA0000/00000020

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (2558) สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (มกราคม - มีนาคม 2558)

(อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) [ออนไลน์] อ้างถึง 26 พฤษภาคม 2558 เข้าถึงจาก http://www.ryt9.com/s/oie/2168 495

Gullichsen,J.,and Paulapuro,H. Chemical Pulping. Papermaking Science and Technology. USA : Tappi Press.,

สมพร ชัยอารีกิจ (2554) การผลิตกระดาษและสมบัติของกระดาษ (เอกสารประกอบการเรียน) ภาควิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รุ่งอรุณ วัฒนวงศ์.(2539) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระดาษ. (เอกสารเผยแพร่) กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ประภาภรณ์ เครืองิ้ว (2556) ปัญหาหนักอกผู้ผลิตกระดาษสา เสียงสะท้อน SME : 'วัตถุดิบขาด-ต้นทุนขยับ' ปัญหาหนักอกผู้ผลิตกระดาษสา [ออนไลน์] อ้างถึง 30 พฤษภาคม 2558 เข้าถึงจาก http://www.komchadluek.net/detail /20130606/16

/ปัญหาหนักอกของผู้ผลิตกระดาษสา.html


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.