Comparison of the efficiency of diluents on the enumeration of molds contaminated in spices and spice products การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารละลายเจือจางต่อการนับจำนวนเชื้อราที่ปนเปื้อนในเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ

Supannee Theparoonrat, Sulawadee Keawchom

Abstract


บทคัดย่อ

                   การปนเปื้อนเชื้อราในเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาคุณภาพอาหารไทย เครื่องเทศมีสมบัติยับยั้งการเจริญของเชื้อราทำให้การทดสอบเชื้อราได้ผลที่ไม่ถูกต้อง จึงได้พัฒนาวิธีทดสอบเชื้อราในตัวอย่างเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ โดยการศึกษาสารละลายเจือจางที่มีการเติมสารทำให้เป็นกลางเพื่อลดสมบัติต้านการเจริญของเชื้อรา (antifungal activity) ของเครื่องเทศจำนวน 5 สูตร (F1 F2 F3 F4 และ F5) และอาหารเลี้ยงเชื้อ 3 ชนิด (DRBC agar DG18 agar และ PCA-CR agar) กับตัวอย่างเครื่องเทศ 12 ตัวอย่าง และเครื่องแกง 5 ตัวอย่าง  รวม 17 ตัวอย่าง  พบว่าสารละลายเจือจางสูตร F4 หรือ F5 สามารถลดผลกระทบจากสมบัติต้านการเจริญของเชื้อราในเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศได้ดีที่สุด โดยให้ค่าเฉลี่ยจำนวนโคโลนีเชื้อราสูงกว่าสารละลายเจือจาง 0.1% peptone (control) และ DRBC agar เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมที่สุด ให้จำนวนโคโลนีที่นับได้สูงและง่ายต่อการตรวจนับ ยกเว้นในตัวอย่างลูกผักชีและพริกไทยอาหารเลี้ยงเชื้อ DG18 agar หรือ DRBC agar ให้ผลดีกว่า  ดังนั้นการใช้สารละลายเจือจางสูตร F4 หรือ F5 ร่วมกับอาหารเลี้ยงเชื้อ DRBC agar เป็นวิธีทดสอบที่เหมาะสมในการตรวจนับเชื้อราในเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ

Abstract

                         Fungal contamination of spices and spice products was critical problem for quality assurance of Thai food. Antifungal activity of spices caused error on mold enumeration. To improve the efficiency of enumeration of mold in spices and spice products, a total of 17 samples (12 spices and 5 curry pastes) were subsequently examined on five diluents (F1, F2, F3, F4 and F5) as neutralizing agent and three culture media (DRBC agar, DG18 agar and PCA-CR agar) were compared. The most effective diluents which inhibited antifungal properties of spices were F4 or F5, demonstrated by the average number of mold colonies of these formulas gave significantly higher than 0.1% peptone (control). DRBC agar moderately promoted a number and characteristic of mold colonies compared with other media. DRBC agar was suitable for enumeration of mold in all test samples except coriander seeds and pepper which showed better results on DG18 agar or DRBC agar. In conclusion, the usage of F4 or F5 formulas as diluent incorporated with DRBC agar is an effective method for enumeration of mold in spices and spice products.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.